ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : : การจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ในหญิงระยะคลอดช่วยลดความเจ็บปวดและเวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็วผู้คลอดและญาติพึงพอใจ
ผู้แต่ง : ปรีญา ศรีสุข และคณะ ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : เมื่อเข้าสู่ระยะการคลอดผู้คลอดต้องเผชิญกับความปวดของการหดรัดตัวของมดลูกที่รุนแรงและถี่ขึ้นในระยะที่ปากมดลูกเปิดเร็ว เป็นเวลานาน เฉลี่ย 8.2 ชม. ในครรภ์แรก และ 3.4 ชม. ในครรภ์หลัง ส่งผลให้ผู้คลอดอ่อนเพลียมาก รู้สึกกังวลในความปลอดภัยของตนเองและทารกในครรภ์ การรับรู้ความปวดมากขึ้น จนอาจทำให้ผู้คลอดบางรายขอยุติการคลอด เพราะไม่สามารถเผชิญกับความเจ็บปวดได้อีกต่อไป หรืออาจเพิ่มสูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด การผ่าคลอดทางหน้าท้อง การคลอดยาวนาน ส่งผลกระทบต่อการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในระยะหลังคลอด  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาการดูแลหญิงตั้งครรภ์ขณะรอคลอด โดยการจัดท่าผีเสื้อต่อการลดระยะเวลาในการเปิดขยายของปากมดลูก 6.2 เพื่อพัฒนาการดูแลหญิงตั้งครรภ์ขณะรอคลอด ในการลดความเจ็บปวดจากการเจ็บครรภ์คลอด 6.3 เพื่อเพิ่มความก้าวหน้าในการคลอดทำให้คลอดเร็วขึ้น 6.4 เพื่อลดอัตราการตกเลือดหลังคลอดจาการคลอดยาวนาน 6.5 เพื่อลดอุบัติการณ์การคลอดสูติศาสตร์หัตถการและ การผ่าตัดคลอด  
กลุ่มเป้าหมาย : หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 38 wk. ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลทุกราย  
เครื่องมือ : 1.แบบประเมินระดับความเจ็บปวด pain score 2.แบบเก็บรายงานระยะเวลาการเปิดของมดลูก 3.แบบประเมินความพึ่งพอใจ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 10.1 ค้นหาปัญหา สาเหตุ และปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บครรภ์ และความก้าวหน้าของการคลอดคลอด 10.2 ประชุมชี้แจ้งแนวทางการดำเนินงาน สื่อสารวัตถุประสงค์และความสำคัญของการของการจัดท่านั่งผีเสื้อ 10.3 สอนวิธีปฏิบัติในการดูแลผู้คลอดด้วยท่านั่งผีเสื้อแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 10.4 นำวิธีการนั่งท่าผีเสื้อแก่ผู้คลอด โดย - สอนหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 38 wk. ให้ฝึกนั่งท่าผีเสื้อ ในงาน ANC - สอนแนะนำผู้คลอดให้นั่งท่าผีเสื้อในระยะเจ็บครรภ์คลอดที่ปากมดลูกเปิดตั้งแต่ 3 cm. นั่งท่าผีเสื้อทุก 30 นาที – 1 ชม. 10.5 ประเมินและสรุปผลการดูแลผู้คลอดด้วยท่านั่งผีเสื้อ  
     
ผลการศึกษา : 1. ข้อมูลทั่วไป จากการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 รายวิเคราะห์คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติพรรณนา ตารางที่ 1 แสดง เพศ อายุ การศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ อายุ น้อยกว่า 30 ปี 25 83.3 31-40 ปี 4 13.3 41-50 ปี 1 3.3 อายุเฉลี่ย 21 (ปี) ระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 28 93.3 ปริญญาตรี/สูงกว่าปริญญาตรี 2 6.6 อาชีพ รับจ้าง 5 16.6 รับราชการรัฐวิสาหกิจ 1 3.3 เกษตรกร 10 33.3 อื่นๆ (นักเรียน,นักศึกษา,ไม่มีอาชีพ ) 14 46.6 ตั้งครรภ์ครั้งที่ ครรภ์แรก 13 43.3 ครรภ์ที่ 2 15 50 ครรภ์ที่ 3 2 6.6 จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ จะ มีอายุน้อยกว่า 30 ปี (ร้อยละ 83.3) นอกนั้นมีอายุ มากกว่า 30 ปี (รวมกันร้อยละ 16.7 ) วุฒิการศึกษาของส่วนใหญ่ตำกว่าปริญญาตรี (ร้อยละ93.3 ) ปริญญาตรี/สูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 6.6 อาชีพส่วนใหญ่ยังมีมีอาชีพ ร้อยละ 46.6 ตารางที่ 2 ระดับความเจ็บปวดในระยะรอคลอด กลุ่มดูแลตามมาตรฐาน กลุ่มดูแลตามมาตรฐานร่วมจัดท่าผีเสื้อ ระดับความเจ็บปวด จำนวน(คน) ร้อยละ จำนวนคน ร้อยละ 0-3 ( น้อย) 1 3.3 0 0 4-6 ( ปานกลาง ) 2 6.6 2 6.6 7-10 ( มาก ) 12 40 13 43.3 จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่า ระดับความเจ็บปวดในระยะรอคลอดที่มีความเจ็บปวดน้อยมีเพียงเล็กน้อย คิดเป็น ร้อยละ 3.3 ,0 ระดับความเจ็บปวดในระยะรอคลอดปานกลาง ร้อยละ 6.6,6.6 และระดับความเจ็บปวดในระยะรอคลอดส่วนใหญ่มีความเจ็บปวดมาก ร้อยละ 40,43.3 ตามลำดับของกลุ่มดูแลตามมาตรฐานและกลุ่มดูแลตามมาตรฐานร่วมกับการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์และประคบสมุนไพร ตารางที่ 3 ระยะเวลาการเปิดขยายของปากมดลูก ระยะเวลาปากมดลูกเปิด (ชั่วโมง) กลุ่มดูแลตามมาตรฐาน ร้อยละ กลุ่มดูแลตามมาตรฐานร่วมจัดท่าผีเสื้อและประคบสมุนไพร ร้อยละ 0 - 3 ชั่วโมง 1 คน 3.3 2 6.6 4 – 10 ชั่วโมง 7 คน 23.3 9 30.0 11 -15 ชั่วโมง 6 คน 20.0 4 13.3 16 - 20 ชั่วโมง 1 คน 3.3 0 0 20 ชั่วโมงขึ้นไป 0 0 0 0 รวมระยะเวลาการเปิดของปากมดลูก 157 148 จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่าระยะเวลาการเปิดขยายของปากมดลูกกลุ่มดูแลตามมาตรฐาน,กลุ่มดูแลตามมาตรฐานร่วมกับจัดท่าผีเสื้อและประคบสมุนไพร ที่ใช้ระยเวลา 0 - 3 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 3.3 ,6.6 ใช้ระยะเวลา 4 – 10 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 23.3,30 ใช้ระยเวลา 11 -15 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 20,13.3 ใช้ระยะเวลา 16 - 20 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 3.3 , 0 ระยะเวลารวม 157 ชั่วโมง, 148 ชั่วโมง ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มดูแลตามมาตรฐานร่วมจัดท่าผีเสื้อและประคบสมุนไพร ใช้เวลาในการเปิดขยายของปากมดลูกน้อยกว่ากลุ่มดูแลตามมาตรฐาน ตารางที่ 5 ระดับความพึงพอใจต่อการรับบริการขณะรอคลอด ระดับความพึงพอใจ กลุ่มดูแลตามมาตรฐาน ร้อยละ กลุ่มดูแลตามมาตรฐานร่วมจัดท่าผีเสื้อและประคบสมุนไพร ร้อยละ 0 – 25 คะแนน 0 0 0 0 26 – 50 คะแนน 0 0 0 0 51 -75 คะแนน 0 0 0 0 76 -100 คะแนน 15 100 15 100 จากตารางที่ 5 แสดงให้เห็นว่ามารดารอคลอดกลุ่มดูแลตามมาตรฐานและกลุ่มดูแลตามมาตรฐานร่วมจัดท่าผีเสื้อและประคบสมุนไพร ทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการรับบริการขณะรอคลอดที่ระดับคะแนน 76 -100 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 100 เท่ากันทั้งสองกลุ่ม  
ข้อเสนอแนะ : 13. สรุปและอภิปรายผล 1.หญิงระยะคลอดที่ได้รับการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ร่วมกับการประคบสมุนไพรมีความปวดที่บริเวณท้องแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยกับกลุ่มหญิงระยะคลอดที่ดูแลตามปกติ 2.หญิงระยะคลอดที่ได้รับการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ร่วมกับการประคบสมุนไพรใช้เวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็วสั้นกว่ากลุ่มหญิงระยะคลอดที่ดูแลตามปกติ 2.หญิงระยะคลอดที่ได้รับการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ร่วมกับการประคบสมุนไพรมีความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มหญิงระยะคลอดที่ดูแลตามปกติ 14.ปัญหาและอุปสรรค เนื่องจากการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ร่วมกับการประคบสมุนไพรในมารดารอคลอด เป็นนวตกรรมที่คิดขึ้นมาใหม่ จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจชี้แจงกับบุคลากร ในเรื่องการปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ได้งานที่มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับของสหสาขาวิชาชีพ 15. ข้อเสนอแนะ 1.โรงพยาบาลควรมีนโยบายเกี่ยวกับการให้ ความรู้ในการลดความเจ็บปวด ความวิตกกังวล และจัดสภาพแวดล้อมให้ผ่อนคลาย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่านช่วงของการคลอดได้ด้วยดี 2. ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาเฉพาะเช่น หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น พยาบาลควรตระหนักและให้ความสำคัญในการจัดการความเจ็บปวด ความกลัว ความเครียดเป็นพิเศษ 3. ควรมีการบูรณาการการดูแลผู้ป่วยร่วมกับงานแพทย์แผนไทยในด้านอื่นเช่น การใช้อโรมาคลายเครียด การฝึกหายใจ หรือการนวดคลายเครียดที่ปลอดภัยในระยะรอคลอด  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)