|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การจัดการบริการด้านสุขภาพจิตชุมชน สำหรับกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ที่ต้องถูกกักตัว อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ณัฐกฤตา ทุมวงศ์ |
ปี : 2563 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โคโรน่าไวรัส 2019 มีการระบาดอย่างรุนแรงทั่วโลก ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการระบาดนี้เช่นกัน โดยพบผู้ติดเชื้อรายแรกในเดือนมกราคม 2563 และเริ่มมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง จนมีการประกาศใช้กระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่งผลให้แต่ละพื้นที่มีการบริหารจัดการตามแนวทางของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 (ศบค.) ด้วยการเจ็บป่วยที่รุนแรงหากพบการติดเชื้อ และการแพร่ระบาดเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว อำเภอท่าคันโท จึงมีมาตรการกำหนดให้ผู้ที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงต้องรายงานตัวและกักตัวเป็นเวลา 14 วัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ จึงส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวันปกติ อีกทั้งการกักตัวจึงเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิต อำเภอท่าคันโทจึงกำหนดแนวทางการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตทางโทรศัพท์ ทั้งการคัดกรอง สัมภาษณ์การให้การปรึกษา การบำบัด ทางโทรศัพท์ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรงด้วยโรคทางจิตเวชหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในขณะกักตัว |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักตัวเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและไม่เกิดการเจ็บป่วยหรือภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคทางจิตเวชที่รุนแรง |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ที่ต้องกักตัว 14 วัน |
|
เครื่องมือ : |
เครื่องมือประเมินความเครียด (ST-5; Cornbrash’s alpha coefficient 0.87) แบบคัดกรองซึมเศร้า (2Q; sensitivity 96.50%, specificity 44.60%) แบบประเมินโรคซึมเศร้า (9Q; sensitivity 75.68%, specificity 92.85%)) และแบบประเมินการฆ่าตัวตาย (8Q; Cornbrash’s alpha coefficient 0.90 ) |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
: การศึกษา แบบ Action research โดยมีการพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพจิตในภาวะวิกฤติในบริบท อำเภอท่าคันโทร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ เครื่องมือประเมินความเครียด (ST-5; Cornbrash’s alpha coefficient 0.87) แบบคัดกรองซึมเศร้า (2Q; sensitivity 96.50%, specificity 44.60%) แบบประเมินโรคซึมเศร้า (9Q; sensitivity 75.68%, specificity 92.85%)) และแบบประเมินการฆ่าตัวตาย (8Q; Cornbrash’s alpha coefficient 0.90 ) ในวันที่ 1 วันที่ 7 และวันที่ 14 ให้สิ่งแทรกแซงทางโทรศัพท์ คือ สุขภาพจิตศึกษา และ การบำบัดด้วยการแก้ไขปัญหา (Problem solving therapy) ตามแนวทางที่กำหนดในขั้นตอนการวางแผน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ต้องกักตัว 14 วัน ระหว่างเดือนมีนาคม 2563 – เมษายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ ไคสแควร์, Phi-correlation, ANOVA (Kolmogorov Smirnov test of normality) โดยมีกรอบแนวคิดในการดำเนินการ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|