ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรุนแรงในครอบครัวในผู้ใช้เมทแอมเฟตามีน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย
ผู้แต่ง : พุทธรักษ์ ดีสิน,ณัฐกฤตา ทุมวงศ์ ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : การใช้เมทแอมเฟตามีนเป็นปัญหาสำคัญในระบบบริการสุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพฤติกรรมการใช้เมทแอมเฟตามีน และความรุนแรงในครอบครัว ในผู้ใช้เมทแอมเฟตามีน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย  
วัตถุประสงค์ : เพื่ออธิบายพฤติกรรมการใช้เมทแอมเฟตามีนและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว อันเนื่องมาจากการใช้เมทแอมเฟตามีนเพื่อการเสพติด  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ใช้เมทแอมเฟตามีนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  
เครื่องมือ : แบบสอบถามแบบกรอกด้วยตนเอง,แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัย แบบตัดขวาง (Cross-sectional study) โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วย 20 จังหวัด ประชากรทั้งสิ้น ประมาณ 21 ล้านคน12 มีผู้ใช้ยาเสพติด จำนวน 7,332 คน7 เมื่อแบ่งขนาดจังหวัดตามจำนวนประชากร เป็น 3 กลุ่ม คือ ขนาดใหญ่ (มีประชากรมากกว่า 1.5 ล้านคน) ขนาดกลาง (มีประชากร 1-1.5 ล้าน) และขนาดเล็ก (ประชากรน้อยกว่า 1 ล้าน) สุ่มจังหวัดอย่างง่าย ได้ตัวแทน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองบัวลำภู (ขนาดเล็ก) จังหวัดร้อยเอ็ด (ขนาดกลาง), และ จังหวัดศรีสะเกษ (ขนาดใหญ่) กลุ่มตัวอย่างใช้แบบกลุ่ม (Cluster sampling) คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดย โปรแกรม Winpepi (to estimate a rate (Cluster sample) Confidence level = 95 %, Acceptable difference = 1 per 100, Assumed rate 1:100, Design effect = 3, No. of Clusters = 3) ได้กลุ่มตัวอย่างน้อยที่สุด จำนวน 1,140 (381 : clusters) เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยพยาบาลวิชาชีพด้านสุขภาพจิตและจิตเวช และพยาบาลวิชาชีพด้านยาเสพติด ในผู้ใช้ยาเสพติดที่สมัครใจ และ ผ่านเกณฑ์ประเมิน ด้วย แบบคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติดเพื่อรับการบำบัดรักษา กระทรวงสาธารณสุข (บคก.กสธ.) V.2 ระดับคะแนนที่ 2-26  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ