ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคแทรกซ้อนในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นพ.พุทธรักษ์ ดีสิน ดร.ศุภศิลป์ ดีรักษา ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในปัจจุบันและมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นปัญหาที่สำคัญด้านสาธารณสุขในปัจจุบัน โดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ซึ่งนับรวมทั้งประเทศไทยด้วย สอดคล้องกับข้อมูลสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) พบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลปี พ.ศ.2560 ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 438 ล้านราย และได้ประมาณการว่าปี พ.ศ. 2588 มีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 629 ล้านราย และโรคเบาหวานเป็นโรคที่ติด 1 ใน 7 ของสาเหตุของการเสียชีวิตที่สูงที่สุด หากไม่มีการดำเนินการที่เหมาะสมและจริงจัง ทั้งนี้ พบว่า ความรุนแรงของโรคเบาหวานส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ประกอบด้วยโรคตา โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และอาการชาตามปลายประสาทมือและเท้า ซึ่งสถิติข้อมูลรายงานในประเทศไทยในแต่ละปี มีอัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนอกจากนี้โรคเบาหวานยังเป็นสาเหตุสำคัญของการตาย 1 ใน 10 ของสาเหตุการตายทั้งหมด จากข้อมูลรายงานอัตราตายด้วยโรคเบาหวานทั้งประเทศ ปี พ.ศ. 2554-2558 เท่ากับ 11.9, 12.1, 15.0, 17.5 และ 19.4 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ สำหรับสถานการณ์ของผู้ป่วยเบาหวานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวโน้มสูงขึ้นและมีสัดส่วนจำนวนผู้ป่วยสูงที่สุดในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 38.84 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งประเทศ โดยพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 มีอัตราตายด้วยโรคเบาหวานสูงที่สุด เท่ากับ 40.6 ต่อแสนประชากร รวมทั้งมีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ เท่ากับ 721.0 ต่อแสนประชากรซึ่งสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานของจังหวัดกาฬสินธุ์ปี พ.ศ.2558-2560 พบว่าอัตราตายผู้ป่วยโรคเบาหวานเท่ากับ 12.08, 12.24 และ 12.12 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลท่าคันโทที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ ในปี พ.ศ. 2559 - 2561 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 1713, 1765 และ 1,986 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 48.02, 48.76 และ 49.94 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงของอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งนี้ เมื่อโครงสร้างของประชาชนได้เปลี่ยนไป กลุ่มวัยแรงงานถูกคัดกรองและเข้าถึงระบบบริการเชิงรุกมากขึ้น ได้รับการวินิจฉัยโรคเรื้อรังได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ หากขาดการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ อาจส่งผลระบบบริหารจัดการคลินิกโรคเบาหวานอย่างไม่เหมาะสม จึงเป็นมูลเหตุของการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลท่าคันโท เพื่อนำไปสู่การวางแผนการพัฒนาระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มผู้ใหญ่หรือวัยแรงงาน อีกทั้ง เพื่อลดความรุนแรงของโรคหรือ การเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ใหญ่ที่เป็นโรเบาหวานในพื้นที่ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคแทรกซ้อนในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด จำนวน 1,986 คน ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานในโรงพยาบาลท่าคันโท โดยผู้ป่วยเบาหวานที่บันทึกข้อมูลไม่สมบูรณ์และอายุ 60 ปี ขึ้นไปถูกคัดออกจากการศึกษา จึงเหลือกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวาน จำนวน 1,110 คน  
เครื่องมือ : ข้อมูลทุติยภูมิจาก HosXP รพ.ท่าคันโท  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขอจริยธรรม ได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ เลขที่ KLA.REC.033/2561 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ