ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรอบรู้ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของทีมอาสา COVID-19 ประจำหมู่บ้าน อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ปรียะพร ระมัยวงค์,วราวุฒิ ตุลาพัฒน์ ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coranavirus Disease 2019 : COVID-19) มีการแพร่ระบาดที่เมืองอู่ฮั่น (Wuhan) มณฑลหู่เป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งผลให้พบผู้ป่วยทั่วโลก 6,638,912 ราย เสียชีวิต 389,817 ราย และสำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วย จำนวน 3,101 ราย เสียชีวิต จำนวน 58 ราย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศ เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 ให้เพิ่มโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coranavirus Disease 2019 : COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ลำดับที่ 14 และตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรค จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน โดยทำหน้าที่ติดตามผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ กรุงเทพ ปริมณฑล และพื้นที่จังหวัดเสี่ยง โดยทีมอาสา COVID-19 ประจำหมู่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าทีม ประกอบด้วยฝ่ายปกครอง และอสม.ประจำหมู่บ้าน ให้ทำหน้าที่รายงานข้อมูล เฝ้าระวังติดตามผู้ที่เดินทางกลับมาจากกรุงเทพปริมณฑล ในพื้นที่หมู่บ้านของตนเอง จังหวัดกาฬสินธุ์ พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาจำนวน 3 ราย มีผู้ป่วยที่เข้าข่ายสอบสวนจำนวน 226 ราย ผลตรวจปกติจำนวน 226 ราย และมีกลุ่มผู้เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง กรุงเทพและต่างจังหวัด จำนวน 34,921 คน อำเภอท่าคันโท พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา จำนวน 0 ราย มีผู้เข้าข่ายสอบสวน จำนวน 8 ราย และมีกลุ่มผู้เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง กรุงเทพและต่างจังหวัด จำนวน 1,528 คน มีโรงเรียน จำนวน 22 แห่ง ซึ่งสถานศึกษาเป็นสถานที่ที่มีนักเรียนอยู่ร่วมกันจำนวนมาก มักจะมีความเสี่ยงสูง หากมีระบบการจัดการที่ไม่ดี อาจจะมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ในกลุ่มเด็ก เนื่องจากพบว่าการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการ หรือมีอาการแสดงค่อนข้างน้อย หากมีการระบาดในกลุ่มเด็กนักเรียน จะมีผลกระทบในสังคมหรือผู้ใกล้ชิด เช่น ครู พ่อแม่ ผู้สูงอายุ และหากมีการเปิดเรียน มีโอกาสสูงที่จะเกิดการติดเชื้อในกลุ่มเด็ก การควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั้งในสถานศึกษา และในชุมชน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อำเภอท่าคันโท ได้มีคำสั่งแต่งตั้งทีมอาสา COVID-19 ประจำหมู่บ้าน อันประกอบด้วยการทำงานของ 4 ทหาร เสือ ได้แก่ ฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)และผู้นำชุมชน ทำหน้าที่ค้นหา (X-ray) ผู้เดินทางกลับภูมิลำเนาจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดอื่น หรือต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ด้วยการเคาะประตูบ้านทุกครัวเรือน แล้วจัดทำข้อมูลเพื่อรายงานอำเภอ กำกับติดตามแนะนำให้บุคคลดังกล่าว ปฏิบัติตัวตามมาตรการ ได้แก่ แยกตัวเพื่อสังเกตอาการไข้และอาการทางเดินหายใจทุกวัน และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้อื่นในที่พักอาศัยจนครบ 14 วัน นับจากวันที่เดินทางกลับมาถึงหมู่บ้านหรือภูมิลำเนา,ไม่รับประทานอาหารและใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น,ให้งดใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นเพื่อลดการติดเชื้อผ่านการสัมผัส เช่น ผ้าเช็ดตัวหมอน ผ้าห่ม แก้วน้ำ ช้อนส้อม จาน ชาม ขันน้ำ โทรศัพท์มือถือ เป็นตัน,ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ นาน 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์ 70% ลูบมือจนแห้ง,หลีกเลี่ยงการพูดคุยใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง,หากมีไข้และอาการทางเดินหายใจ ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าและรีบแจ้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยทันที พร้อมทั้งให้จัดเตรียมสถานที่เฝ้าระวังกักกันกลุ่มเสี่ยง COVID – 19 ภายในหมู่บ้านอย่างน้อย 1 แห่งแล้วรายงานอำเภอทราบ โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบจำนวน 60 หมู่บ้าน มีทีมอาสา COVID-19 จำนวน 498 คน จากการสรุปข้อมูลสถานการณ์และการทำงานป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอท่าคันโท พบว่ามีผู้ที่กักตัวครบ 14 วันแล้วจำนวน 1,527 คน และกำลังกักตัวจำนวน 1 คน (ข้อมูลศูนย์อำนวยการต้านโควิดอำเภอท่าคันโท ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2563) และมีโรงเรียนในพื้นที่จำนวน 22 แห่ง ซึ่งจะเห็นว่ามีประชาชนเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ กรุงเทพ ปริมณฑล และจังหวัดเสี่ยงเข้ามาในพื้นที่อำเภอท่าคันโท เป็นประจำ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของทีมอาสาโควิดประจำหมู่บ้าน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อไป ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าคันโท จึงต้องศึกษาเรื่อง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของทีมอาสา COVID-19 ประจำหมู่บ้าน อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของทีมอาสา COVID-19 ประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์  
วัตถุประสงค์ : 3.1 เพื่อศึกษาความรอบรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของทีมอาสา COVID-19 ประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ 3.2 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของทีมอาสา COVID-19 ประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ทีมอาสา COVID-19 ประจำหมู่บ้าน ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน 2563 – 15 กันยายน 2563 ระยะเวลา 4 เดือน ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 498 คน  
เครื่องมือ : แบบสอบถาม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ระยะเตรียมการ ผู้วิจัยเตรียมก่อนการวิจัย ดังนี้ 1.1 ทบทวนความรู้ 1.2 ประชุมทีมผู้ช่วยนักวิจัยได้แก่ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ทุกแห่ง และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อชี้แจงแนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย 1.3 ขอความร่วมมือในการทำวิจัยโดยทำหนังสือประสานไปยังประธานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรค อำเภอท่าคันโท (ศปก.อ.) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าคันโท สาธารณสุขอำเภอท่าคันโท และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง เพื่อขออนุญาตเก็บแบบสอบถามงานวิจัย 2. ระยะการดำเนินการ 2.1 ชี้แจงรายละเอียดของการทำวิจัยประธานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอท่าคันโท (ศปก.อ.) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าคันโท สาธารณสุขอำเภอท่าคันโท และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง จากนั้น นำเรื่องเข้าชี้แจงในที่ประชุมประจำเดือนของอาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ทุกตำบลเพื่อขอความร่วมมือในการช่วยเก็บข้อมูล 2.2 กรณีแบบสอบถาม 2.2.1 การนำส่งแบบสอบถาม ผู้วิจัยนำส่งแบบสอบถาม โดยส่งมอบให้กับกลุ่มตัวอย่างด้วยตนเอง รวมทั้งนัดหมายกำหนด วันและเวลาในการส่งแบบสอบถามกลับคืนโดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขนำแบบสอบถามหย่อนลงในกล่องที่จัดเตรียมไว้ให้แล้ว ภายในกำหนด 30 วัน ถ้าได้แบบสอบถามกลับคืนไม่ครบตามเวลาที่กำหนด ผู้วิจัยจะดำเนินการติดตามโดยส่ง จดหมายถึงกลุ่มตัวอย่างทุกท่านโดยมีข้อความว่า “ถ้าท่านยังไม่ตอบแบบสอบถาม ขอให้ท่านตอบแบบสอบถาม” แล้วนำไปหย่อนลงกล่องที่ผู้วิจัยจัดเตรียมไว้ให้แล้ว หลังจากได้แบบสอบถามครบถ้วนแล้ว ผู้วิจัยส่งหนังสือขอบคุณไปยังผู้ตอบแบบสอบถามทุกคน 2.2.2 เมื่อตอบแบบสอบถามเสร็จสิ้นผู้วิจัยตรวจสอบความครบถ้วน ลงลำดับแบบสอบถาม ลงรหัสตัวแปรที่กำหนด และนำไปวิเคราะห์ข้อมูล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง