ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลกุงเก่า อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2563 (The Effects of Health Literacy Enhancement on Diabetic Mellitus Behavior of Population at Risk at Kungkao sub-District, Thakhantho District, Kalasin Province in 2020)
ผู้แต่ง : วรุณวรรณ์ วิเท่ห์ และคณะ ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : สถานการณ์ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และอันดับหนึ่ง ในประเทศไทย ซึ่งคร่าชีวิตประชากรไทยถึงร้อยละ75 ของการเสียชีวิตทั้งหมด หรือราว 320,000 คนต่อปีในจำนวนนี้พบว่าประมาณครึ่งหนึ่ง หรือราวร้อยละ 55 เสียชีวิตที่อายุต่ำกว่า 70 ปี ซึ่งองค์การอนามัยโลกจัดว่าเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564)) ประเทศไทย ปี 2561 พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 35.73 พบมากในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 19.03 เมื่อพิจารณานตามรายภาคพบว่าภาคตะวันออกเฉียง เหนือพบมากที่สุด ร้อยละ 38.39รองลงมาภาคเหนือ ร้อยละ 34.63ภาคกลาง ร้อยละ 35.81 ภาคใต้ร้อยละ 31.16 ตามลำดับ อัตราตายจากโรคเบาหวาน ร้อยละ 4.16 ข้อมูลจาก HDC พบว่าอัตราป่วยเบาหวานรายใหม่ต่อประชากร 4 ปีย้อนหลัง (2559 -2562) ของจังหวัดกาฬสินธุ์มีดังนี้ 714.49, 658.32, 585.9, 540.25 ตามลำดับ ในเขตอำเภอท่าคันโทมีอัตราป่วยรายใหม่ต่อประชากรเป็น 583.81, 622.02, 569.99, 698.69 ตามลำดับ ส่วนในพื้นที่เขตตำบลกุงเก่าพบอัตราป่วยรายใหม่ต่อประชากรเป็น 633.48, 917.29, 554.31 และ 763.58 ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานจากแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งหมายถึงการที่บุคลมีความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การมีความสามารถ มีทักษะในการจัดการให้มีสุขภาพที่ดี (WHO,2008) ดังนั้นผู้วิจัยจึงใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อพัฒนาพฤติกรรมในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในเขตพื้นที่ตำบลกุงเก่า อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ ภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 2. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 3. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 4. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความเบาหวาน  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรอายุ 35 – 59 ปีที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน (ระดับน้ำตาลในเลือด 100 – 125 mg/dl ) ในปี 2563 ทุกคน จำนวน 40 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย จับฉลากรายชื่อประชากรออกเป็นสองกลุ่ม เป็นกลุ่มทดลอง 20 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ 20 คน  
เครื่องมือ : โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และแบบสอบถามเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันโรคเบาหวาน โดยใช้แบบสอบถามของศักดิ์สิทธิ์ คำเกาะ(2562) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป, แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และแบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน ที่ผ่านการทดสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาท เท่ากับ 0.86  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ระยะเตรียมการ ผู้วิจัยเตรียมก่อนการวิจัย ดังนี้ 1.1 สำรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยเจาะปลายนิ้ว กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 1.2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สถานการณ์ ประชุม วางแผนในการดำเนินงาน 1.3 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรอายุ 35 – 59 ปีที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน (ระดับน้ำตาลในเลือด 100 – 125 mg/dl ) 1.4 ยื่นขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ 1.5 ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการทำการวิจัย ขั้นตอนการทำวิจัย และขอความร่วมมือในการทำการวิจัยให้ครบทุกขั้นตอน จากนั้นให้กลุ่มตัวอย่างลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มยินยอมเข้าร่วมการศึกษา และนัดแนะในการทำกิจกรรมตามโปรแกรม 2. ระยะการดำเนินการ 1.1 สัปดาห์ที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง (Pre-test) 1.2 สัปดาห์ที่ 2 – 11 กิจกรรมตามโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 1.3 สัปดาห์ที่ 12 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง (Post-test)  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง