ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการป้องกันโรคซิกุคุย่าโดยการมีส่วนร่วมของแกนนำสุขภาพชุมชนบ้านแสนสุข ตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : เสาวณี ดอนเกิด นรกมล สกุลเดช ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : โรคชิคุนกุนยา หรือโรคปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคชิคุนกุนยาเกิดขึ้นเมื่อปี 2562 ที่บ้านแสนสุข ตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการระบาด ซึ่งพบผู้ป่วยที่มีอาการจำนวน 86 ราย และจากการสุ่มเลือดตรวจ 10 ราย พบผู้ป่วยมีเชื้อซิคุนกุนยา 8 ราย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำ ให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ และชุมชนบ้านแสนสุข เป็นชุมชนแออัด และเป็นชุมชนที่อยู่ท่ามกลางหุบเขา ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคชิคุนกุนยาอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่รวมถึงศึกษารูปแบบการป้องกันโรคซิกุคุย่าโดยการมีส่วนร่วมของแกนนำสุขภาพชุมชนบ้านแสนสุข ตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษารูปแบบการป้องกันโรคโรคซิกุคุยา โดยการมีส่วนร่วมของแกนนำสุขภาพชุมชนบ้านแสนสุข ตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรกลุ่มตัวอย่างเลือกโดยวิธีเจาะจง ได้แก่ ภาคีเครือข่าย จำนวน 45 คน ประกอบด้วย ผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 3 คน กรรมการหมู่บ้านจำนวน 4 คน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก จำนวน 2 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 12 คน หัวหน้าคุ้ม จำนวน 6 คน ตัวแทนผู้สูงอายุจำนวน 3 คน ผู้นำเยาวชน จำนวน 6 คน ผู้นำกลุ่มสตรีจำนวน 7 คน และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุจำนวน 2 คน  
เครื่องมือ : เครื่องที่ใช้เก็บข้อมูลเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ประเภท ดังนี้ 1) เครื่องที่ใช้เก็บข้อมูลเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1) แบบเก็บข้อมูลทุติยภูมิเพื่อ ใช้เก็บข้อมูลบริบทพื้นที่ และเก็บข้อมูลสภาพทั่วไปของหมู่บ้าน 2) แบบสัมภาษณ์ใช้ในการเก็บข้อมูลในการ สนทนา สอบถามปากเปล่าโดยมีการบันทึกข้อมูลในแบบสัมภาษณ์ซึ่งจะกำหนดประเด็นการสัมภาษณ์ไว้ ล่วงหน้า ข้อมูลที่ได้อาจเป็น ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ 3) แบบสังเกต ใช้ในการรวบรวมข้อมูล โดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้ร่วมวิจัยแล้วบันทึกในแบบสังเกต โดยผู้วิจัยสังเกตแล้วบันทึกสิ่งที่สังเกตพบ หรือ สิ่งที่เห็นลงในแบบสังเกต 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลด้านคุณลักษณะประชากร และส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามข้อมูลระดับการมีส่วนร่วม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนดำเนินงาน ขั้นการวางแผน (Planning) การศึกษาบริบท วิเคราะห์บริบทข้อมูลพื้นฐาน ปัญหาและอุปสรรคการป้องกันและควบคุมโรคซิคุนกุนยา ในชุมชน โดยมีการประชุมผู้นำชุมชนและแกนนำสุขภาพ ได้แก่ ผู้นำชุมชน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้นำเยาวชนในหมู่บ้าน เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์โดยประยุกต์แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานของชุมชนโดยค้นหาปัญหา สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค และการ ดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคซิคุนกุนยาในพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของคณะกรรมการหมู่บ้าน เมื่อมีการ วิเคราะห์สถานการณ์แล้วได้ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยประยุกต์ใช้กระบวนการแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ได้แผนของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคซิคุนกุนยา ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคซิคุนกุนยา โครงการรณรงค์กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรคซิคุนกุนยา โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการป้องกันโรคซิคุนกุนยา และ 1 แผนงานติดตามและแผน สรุปถอดบทเรียน ขั้นการลงมือปฏิบัติ (Action) ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคซิคุนกุนยา โครงการรณรงค์กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรคซิคุนกุนยา และโครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการป้องกันโรคซิคุนกุนยา รายละเอียด ดังนี้ 1. โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคซิคุนกุนยา ประกอบด้วยกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ให้สุขศึกษา เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับโรคซิคุนกุนยา และกระตุ้นเตือนให้ประชาชนตื่นตัวในการป้องกันซิคุนกุนยา โดยมีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายให้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคซิคุนกุนยา อีกทั้งมีการเปิดสปอตวิทยุ เกี่ยวกับซิคุนกุนยาทุกครั้งก่อนการประชาสัมพันธ์ต่างๆ ในหมู่บ้าน เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารการเกิดโรคซิคุนกุนยาให้ประชาชนทราบอย่างทันเหตุการณ์ซึ่งทำให้สามารถป้องกันและควบคุมซิคุนกุนยา ได้ในเบื้องต้น และนอกจากนี้มีจัดอบรมให้ความรู้โดยการบูรณาการให้เข้ากับกิจกรรมต่างๆของชุมชน ผลลัพธ์ที่ได้ 2. โครงการรณรงค์กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรคซิคุนกุนยาประกอบด้วย 2.1 กิจกรรมการรณรงค์ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดน่าอยู่ และเอื้อต่อ การมีสุขภาพดี โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน และทำ Big Cleaning Day เพื่อให้ประชาชนในชุมชน เกิดความสามัคคีรักและหวงแหนชุมชนของตนเอง และช่วยกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมรอบๆ บริเวณบ้านไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมคือ สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนได้ 2.2 กิจกรรมรณรงค์ปลูกตะไคร้หอมไล่ยุง และปล่อยปลากินลูกน้ำยุงลาย เพื่อป้องกันยุงลายและเพื่อให้ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ได้มีการจัดหาปลากินลูกน้ำยุงลาย เช่น ปลาหางนกยูง และตระไคร้หอมมา แจกให้กับประชาชนทุกหลังคาเรือน โดยผู้นำชุมชนได้ประกาศให้ตัวแทนครอบครัวมารับตระไคร้หอม และปลาหางนกยูง จากนั้นกลุ่มตัวอย่างร่วมกันปลูกตะไคร้หอมบริเวณรอบ ๆ ชุมชน 2.3 กิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเพื่อให้ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลายได้แก่การกำจัด ขยะหรือภาชนะที่ไม่ใช้การล้างทำความสะอาดภาชนะกักเก็บน้ำภายในบ้าน การคว่ำกะโหลกกะลาในบริเวณบ้านหรือรอบๆ ชุมชน และการช่วยกันกำจัดแหล่งน้ำขังภายในชุมชน เป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 2.4 กิจกรรมการสำรวจลูกน้ำยุงลาย และออกสุ่มประเมินไขว้ระหว่างคุ้ม ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมความชุกของลูกน้ำยุงลาย เพื่อสร้างระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพต่อการควบคุมความชุกของลูกน้ำยุงลาย ได้มีการมอบหมายบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ 3. โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการป้องกันโรคซิคุนกุนยา 3.1 กิจกรรมจัดศูนย์เรียนรู้ในชุมชน เพื่อให้ประชาชนในชุมชน มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับโรคซิคุนกุนยาในชุมชน ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยได้ร่วมกันจัดศูนย์เรียนรู้ในชุมชน โดยจัดบอร์ดให้ความรู้แบบถาวรที่ศาลาประชาคมของชุมชน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้อ่าน ได้รับรู้และศึกษาเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ทำเอกสาร แผ่นพับแจกให้กับประชาชนทุกหลังคาเรือนในชุมชน และสร้างป้ายประชาสัมพันธ์การป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออกในชุมชน ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม คือ ประชาชนตระหนักและให้ความร่วมมือในการ ป้องกันและควบคุมโรคซิคุนกุนยา การมีส่วนร่วมในการทำลายและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน และมีการเฝ้าระวังโรคซิคุนกุนยาโดยมีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน 3.2 กิจกรรมการประกวดคุ้มสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย เพื่อค้นหาครอบครัว/บุคคลต้นแบบ ด้านการป้องกันควบคุมโรคซิคุนกุนยาโดยการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการประกวดคุ้มในครั้งนี้เริ่มจากการ ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อวางแผนและจัดทำเกณฑ์การประกวด หลังจากนั้นจัดการประกวดคุ้ม สะอาดปลอดลูกน้ำยุงลายในชุมชนทุกหลังคาเรือนในชุมชน และมอบรางวัลครัวเรือนและคุ้มที่ชนะเลิศ ขั้นสังเกตการณ์ (Observation) การติดตามและประเมินผลโครงการ โดยผู้วิจัย ทีมงานและเจ้าหน้าที่ออกนิเทศติดตามผลการดำเนินงานของชุมชนจากแผนงานโครงการที่กำหนดเอา โดยผู้วิจัยได้แจ้งวัตถุประสงค์ในการนิเทศว่าเป็นติดตามงานซึ่งเป็นการทำงานอย่างเป็นระบบ คือเพื่อให้การดำเนินโครงการมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นการกระตุ้นการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงาน จากในขั้นนี้พบว่าชุมชนให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดีโดยแกนนำสุขภาพชุมชนเป็นแกนนำหลักที่เข้มแข็งในการดำเนินงานครั้งนี้ แกนนำสุขภาพชุมชนที่มีสำคัญเช่น ผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน อสม. อบต. ตัวแทนกลุ่มต่างๆ และชาวบ้านต่างก็มีความยินดี พร้อมเพรียง และให้การสนับสนุนเพราะเข้าใจ และรับรู้ถึงประโยชน์ที่ตนเองจะได้เป็นผลที่ให้ทุกฝ่ายต่างก็มีความสุขในการทำงาน หรือปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างภาคภูมิใจ ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) การสรุปผลการดำเนินงาน โดยใช้เวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชนทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงาน โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นหน่วยงานหลัก ที่มีบทบาทและหน้าที่โดยตรงที่ควรเป็นหน่วยงาน ในการจะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้มองเห็นรูปแบบและแนวทางที่พอจะสามารถดำเนินการได้ตามศักยภาพของหน่วยงานและชุมชน สามารถดำเนินการได้รวมถึงนำประเด็นดังกล่าวเข้าไปกำหนดเป็นนโยบายและทิศทางในการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคซิคุนกุนยาในชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง