|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวทางการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลห้วยผึ้ง |
ผู้แต่ง : |
พัลลภา โยธาพลและคณะ |
ปี : 2563 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ในปัจจุบันงานกายภาพบำบัดได้ดำเนินการออกเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งในผู้ป่วย stroke สมองจะสามารถฟื้นตัวได้ดีในช่วงเวลา 6 เดือนแรกหลังจากได้รับบาดเจ็ด หลังจากดำเนินงานมาได้ระยะหนึ่งพบปัญหาคือ ไม่สามารถประเมิน ADL ผู้ป่วยได้ทุกเดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือนหลังถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ซึ่งทำให้ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการทรุดลงสูญเสียโอกาสในการได้รับการรักษา ฟื้นฟูสมรรภถาพและการลงเยี่ยมบ้านยังขาดการประสานกับ รพ.สต. ทำให้ รพ.สต. ไม่ทราบข้อมูลผู้ป่วยบางราย ด้วยที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำการพัฒนาแนวทางการออกเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนี้
สรุปปัญหา
1.ไม่สามารถประเมิน ADL ได้ทุกเดือน รวมเป็นระยะเวลา 6 เดือน หลังถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
2.ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยบริการกับ รพ.สต. ในการลงเยี่ยมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อพัฒนาแนวทางการออกเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สามารถบริการกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุม และครบถ้วนตามโปรแกรมที่ตั้งไว้
1.1 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ได้รับการเยี่ยมเพื่อประเมินค่า Barthel index หลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล 1สัปดาห์ คือ 100%
1.2 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ที่ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพ ในระยะเวลา 6 เดือน คือ 100 %
1.3 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ในชุมชน ที่ได้รับการบริการด้านกายภาพบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ โดย Barthel index เพิ่มขึ้น อย่างน้อย 1 คะแนน คือ 80 %
2. มีการทำงานและส่งข้อมูลกันระหว่างหน่วยบริการและรพ.สต. รพ.สต.มีข้อมูลผู้ป่วยเป็นของตัวเอง
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. จัดทำตารางบันทึกข้อมูลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีการเก็บข้อมูล ADL รวม 6 เดือน
2. จัดทำแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลสำหรับการลงเยี่ยมบ้าน
3. จัดทำ Flow chart การรับและส่งต่อข้อมูลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ตัวชี้วัด ม.ค. – ส.ค. 2563
ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ได้รับการเยี่ยมเพื่อประเมินค่า Barthel index หลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล 1สัปดาห์ 100 %
(15/15 คน)
ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ที่ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพ ในระยะเวลา 6 เดือน 100 %
(11/11 คน)
ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ในชุมชน ที่ได้รับการบริการด้านกายภาพบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ โดย Barthel index เพิ่มขึ้น อย่างน้อย 1 คะแนน 100 %
(11/11 คน)
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
9. บทเรียนที่ได้รับ
1. มีแนวทางการเยี่ยมบ้านที่ชัดเจนมากขึ้น
2. มีข้อมูลผู้ป่วยที่เป็นปัจจุบัน ให้การรักษา ฟื้นฟู อย่างได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ
3. รพ.สต. มีข้อมูลผู้ป่วยเป็นของตัวเอง ทราบปัญหาของผู้ป่วยในพื้นที่ตนเอง
4. ในการลงเยี่ยมบ้านหาวันที่ว่างตรงกันค่อยข้างยาก ไม่สามารถที่จะกำหนดวันได้ชัดเจน
10. โอกาสพัฒนา:
1. ควรมีการวางแผนตารางการลงเยี่ยมที่ชัดเจน เพื่อจะได้ลงเยี่ยมได้ครบทีมสหวิชาชีพ
2. ปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมการติดตามในรายที่มี ADL ที่ดี ช่วยเหลือตัวเองได้ กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ อาจใช้การโทรศัพท์สอบถามเพื่อประเมิน ADL ได้
3. จัดทำเยี่ยมบ้านแบบเป็นระบบ มีการจัดทำ CPG ที่ชัดเจน
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|