ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ทบทวนแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาการ “กรณีเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า”
ผู้แต่ง : จุราวรรณ วรรณรส และคณะ ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : ตามกรอบการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 1 ระดับความสำเร็จของอำเภอในการส่งเสริมการเกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีการดูแล ส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงเด็กอายุ 5 ปี และช่วงเวลาเด็ก0-3 ปีช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในในการดูแลด้านโภชนาการ และการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านเพื่อให้เด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต แนวทางการจัดบริการในคลินิกเด็กดี ประกอบด้วยการให้ความรู้ผู้ปกครองในโรงเรียนพ่อแม่,การประเมินภาวะโภชนาการ, การให้วัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันโรค และที่สำคัญคือการประเมินพัฒนาการเด็กในช่วงอายุ9,18,30,42,60เดือน หากพบเด็กสงสัยพัฒนาการล่าช้าต้องนัดรับการกระตุ้นพัฒนาการด้วยแบบประเมิน TEDA4I (Thai Early Developmental Assessment for Intervention) จนกว่าพัฒนาการจะปกติ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแม่ข่ายกรณีพัฒนาการล่าช้าหลังการกระตุ้นซ้ำ พร้อมให้รหัสวินิจฉัย,ลงบันทึกข้อมูลในระบบ และส่งออกข้อมูลเพื่อประมวลผลต่อไป จากการดำเนินงานที่ผ่านมา โรงพยาบาลห้วยผึ้งให้บริการส่งเสริมพัฒนาการและรับส่งต่อเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าจากรพ.สต.ทุกแห่ง พบว่ามีเด็กที่ต้องกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I ทั้งหมด 12 คน เมื่อให้บริการครบถ้วนตามแนวทางปฏิบัติและส่งออกข้อมูลแล้วพบว่า ผลงานตามตัวชี้วัดร้อยละของเด็กอายุ 9,18,30,42,60 เดือนที่คัดกรองพัฒนาการแล้วพบว่ามีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I ผลงานเป็น 0 แต่ผลงานจะไปขึ้นในตัวชี่วัดเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I (Work Load) จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมผลงานหรือประมวลผลงานได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้นำประเด็นนี้มาพัฒนาแนวทางการให้รหัส, การบันทึกข้อมูล และกำหนดเป็นFlow chart ในการดำเนินงานระหว่างหน่วยบริการให้รับทราบและเข้าใจตรงกันทุกแห่ง  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อแก้ไขการให้รหัสวินิจฉัย การบันทึกข้อมูลให้ถูกต้อง 2. เพื่อพัฒนาระบบการดำเนินงานคัดกรองพัฒนาการ 3. เพื่อกำหนด Flow chart ในการดำเนินงานระหว่างหน่วยบริการให้รับทราบและเข้าใจตรง กันทุกแห่ง 4. เพื่อให้ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. ผู้รับผิดชอบงานทุกหน่วยบริการเข้าใจแนวทางการดำเนินงานส่งเสริม/คัดกรองพัฒนาการตามCPG ที่กำหนด 2. ผู้รับผิดชอบงานทุกหน่วยบริการสามารถให้รหัส และบันทึกข้อมูลในระบบได้ถูกต้อง 3. เพื่อให้สามารถควบคุมกำกับ ติดตามผลงานรายเดือนในHDC ได้ 4. มีแนวทางการส่งต่อเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าจากรพ.สต.มารพ.ห้วยผึ้ง 5. มีแนวทางการส่งต่อเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า และการคืนข้อมูล จากรพ.ห้วยผึ้ง ไปรพร.กุฉินารายณ์ 6. มีFlow chart ในการดำเนินงานระหว่างหน่วยบริการ 6.1 มีแนวทางการคัดกรอง การให้รหัส การบันทึก เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า 6.2 มีวัน เวลาในการรับrefer เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าจากรพ.สต. 6.3 มีแนวทางการส่งต่อเด็กไปรพร.กุฉินารายณ์ และคืนข้อมูล การติดตามเด็ก 5. ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด 1. ร้อยละ100 ของการให้รหัส และการบันทึกข้อมูลถูกต้อง 2. ผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหด 2.1 เด็กอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ พบสงสัยล่าช้า ไม่น้อยกว่าร้อยละ20 2.2 ร้อยละของเด็กอายุ 9,18,30,42,60 เดือน ที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตาม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 2.3 เด็กอายุ 9,18,30,42,60 เดือนที่คัดกรองพัฒนาการแล้วพบว่ามีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : Plan 1.พัฒนาระบบ 1.1 ทบทวนแนวทางการให้รหัสและการบันทึกข้อมูล กรณีเด็กที่ต้องกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I แก่ผู้รับผิดชอบงานทุกหน่วยบริการ 1.2 ทบทวนแนวทางการรับส่งต่อเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าจากรพ.สต.แก่ผู้รับผิดชอบงานทุกหน่วยบริการ 1.3 ศึกษา Template ในการดำเนินงานเพื่อให้เข้าใจช่วงอายุ และการประเมินผลงานของHDC 1.4 ประสานการคืนข้อมูลกรณีส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย และการคืนข้อมูลแก่รพ.สต.ในเขตรับผิดชอบ 1.5 กำหนด Flow chart ในการดำเนินงานระหว่างหน่วยบริการให้รับทราบและเข้าใจตรงกันทุกแห่ง 1.6 ทำทะเบียนรับRefer เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าจาก รพ.สต. และทะเบียนส่งต่อเด็กที่พัฒนาการล่าช้าหลังกระตุ้นด้วย TEDA4I ไปรพ.กุฉินารายณ์ Do กิจกรรม 1. สร้างกลุ่มไลน์เพื่อติดตามการดำเนินงานและให้คำปรึกษา, การให้รหัส, การบันทึก และแนวทางการส่ง กรณีพบเด็ก พัฒนาการล่าช้า 2. ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาระบบการจัดบริการคลินิกกระตุ้นพัฒนาการที่โรงพยาบาลสมเด็จ 3. ถอดบทเรียน และจัดการองค์ความรู้ Check การติดตาม: 1.ประชุม MCH Broad เพื่อติดตามการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กดีในรพ.สต.ทุกแห่ง 2.บูรณาการการนิเทศงานWBC ของรพ.สต.ร่วมกับการนิเทศประจำปีของงานยุทธศาสตร์ และ QA 3.โทรสอบถามติดตามข้อมูลจากผู้ปกครองถึงความก้าวหน้าของพัฒนาการเด็กกรณีส่งต่อ 4.ตรวจสอบข้อมูลในฐานระบบHDCอย่างน้อยเดือนละ1ครั้งเพื่อดูว่าผลงานเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ Act ติดตามทดสอบความรู้แก่ผู้รับผิดชอบงานทุกหน่วยบริการอย่างต่อเนื่อง ทุก 3-6 เดือน  
     
ผลการศึกษา : 6.1 ผลลัพธ์เชิงกระบวนการ 6.1.1 มี Flow chart การคัดกรองพัฒนาการ การให้รหัส การบันทึกข้อมูล 6.1.2 มีแนวทางการส่งต่อเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าจากรพ.สต.มารพ.ห้วยผึ้งและการคืนข้อมูล จากรพ.ห้วยผึ้ง ไปรพร.กุฉินารายณ์ 6.1.3 . มีFlow chart ในการดำเนินงานระหว่างหน่วยบริการมีวัน เวลาในการรับ-ส่งrefer เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าจากรพ.ไป รพ.สต. 6.1.4 มีแนวทางการคัดกรอง การให้รหัส การบันทึก เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าทั้งในรพ.และรพ.สต. 6.2 ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ปี2561 ปี2562 ปี2563 จำนวน / ร้อยละ จำนวน / ร้อยละ จำนวน / ร้อยละ 1) การให้รหัส และการบันทึกข้อมูลถูกต้อง ร้อยละ 100 1/6 16.6% 2/8 25% 1/12 8.3% 2) เด็กอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ พบสงสัยล่าช้า ≥ร้อยละ20 25/115 21.7% 28/105 26.6% 39/112 39.5% 3) ร้อยละของเด็กอายุ 9,18,30,42,60 เดือน ที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตาม ≥ร้อยละ90 72/91 80% 70/90 85% 77/84 91.3% 4) เด็กอายุ 9,18,30,42,60 เดือนที่คัดกรองพัฒนาการแล้วพบว่ามีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I ≥ร้อยละ60 1/6 16.6% 2/8 25% 1/12 8.3% ข้อมูล ณ วันที่.25/6/2563....จากHDC จังหวัดกาฬสินธุ์  
ข้อเสนอแนะ : -ได้เรียนรู้ในเรื่องของระบบการลงข้อมูลให้มีความสมบูรณ์การบันทึกข้อมูลที่ถูกต้องตามFlow chart -มีเครือข่ายกรณีคืนข้อมูลกับให้กับพื้นที่ เพื่อการติดตามเยี่ยมเด็กต่อเนื่องที่ชุมชน -การทำงานอย่างเป็นระบบ  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)