|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวทางคัดกรองผู้ป่วยและประเมินอาการ Sepsis / Septic shock |
ผู้แต่ง : |
ระดาวัลย์ แก้วกิ่ง และคณะ
|
ปี : 2563 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรงพยาบาลห้วยผึ้งเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง ไม่มีอายุรแพทย์และพยาบาลเฉพาะทาง มีแพทย์ทั่วไป 3 คน จากสถิติการรักษาพบผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 3 ปีย้อนหลัง ( ปี 2561 – มีนาคม 2563 ) พบผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ ปี 2561 , 2562 และ นับถึงเดือนมีนาคม 2563 มี 33 ราย, 33 ราย ,และ 80 ราย ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยงพบมากในผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะในกลุ่มเบาหวาน และกลุ่มไตวายเรื้อรัง 4 อันดับโรคที่พบว่าทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ได้แก่ โรคปอดอักเสบ (Pneumonia), โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (UTI) , โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร (AGE), แผลติดเชื้อ (Cellulitis) ตามลำดับ จากการทบทวนเวชระเบียนพบว่า ปัญหาการบันทึกเวชระเบียนตามแนวทางการรักษา ไม่ชัดเจนครอบคลุม ขาดการบันทึกเวลาการทำหัตการและการรักษา การซักประวัติยังครอบคลุม ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาจะล่าช้า จึงได้มีการพัฒนาแบบประเมินข้อมูลส่งต่อผู้ป่วย Sepsis/Sepitc shock เพื่อปรับปรุงกระบวนการดูแลและคัดกรอง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. ผู้ป่วยวินิจฉัย Sepsis /Septic shock ได้รับการคัดกรองและวินิจฉัย ภายใน 10 นาที
2. ผู้ป่วยวินิจฉัย Sepsis /Septic shock ได้รับการรักษาและส่งต่อได้อย่างที่เหมาะสม ภายใน 60 นาที
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วย Sepsis/Septic Shockทุกราย |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
Plan
1. ปรับปรุงแนวทางการคัดกรองและการประเมินซ้ำในผู้ป่วยที่สงสัย Sepsis/ Septic shock
2. ติดตามและประเมินผลซ้ำ การใช้แบบคัดกรองและประเมินอาการผู้ป่วย Sepsis/ Septic shock
Do
1. จัดทำแนวทางการคัดกรอง Sepsis/Septic shock
2. พัฒนาระบบการเข้าถึงบริการโดยการคัดกรอง ณ จุดคัดแยก โดยใช้ QuickSOFA
3. ปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย Sepsis/Septic shock
4. กำหนดระยะเวลารอผล Lab เพื่อการ ที่เหมาะสม ตามแนวทางที่กำหนด CBC ภายใน 30 นาที
5. กำหนดระยะเวลาในการเข้าถึง 6 Bundle 1 hour.
6. เฝ้าระวังและติดตามอาการผู้ป่วย Sepsis/Septic shock โดยใช้ SOS score ในการประเมินทุก 30 นาที - 1 ชม.
7. เน้นบุคลากรปฏิบัติตามแนวทาง IC เพื่อป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลต่อเนื่อง
8. มีการทบทวน case การดูแลผู้ป่วย Sepsis ทุกรายร่วมกับ ทีมสหวิชาชีพ ทุก 3 เดือน
9. นำเสนอข้อมูลที่พบปัญหาให้เจ้าหน้าที่ทุกคนในหน่วยงานได้รับทราบ และหาแนวทางการแก้ไขปัญหา
Check: จากการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ถึง มีนาคม 2563 พบว่าจำนวนผู้ป่วย Sepsis/Septic Shock ที่เข้าถึงบริการได้รับการดูแลที่ถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสม และได้รับการส่งต่อทันเวลาเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยใน 2 ปีที่ผ่านมา พบจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะ Sepsis/Septic Shock จำนวน 2 ราย เสียชีวิตหลังรับการส่งรักษาต่อ และเสียชีวิตที่โรงพยาบาล 1 ราย ข้อมูลอื่นๆ ดังต่อไปนี้
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. การพัฒนาแนวทางการใช้แบบประเมินอาการ Sepsis / Septic shock เพื่อให้บุคลากรเข้าถึงได้ง่าย
2. ปรับระบบการให้ยา Antibiotic ทันทีที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินหลังการวินิจฉัย
3. พัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังและติดตามอาการผู้ป่วย Sepsis/Septic shock ในการประเมินอาการซ้ำ
4. พัฒนาการติดตามและการรายงานผลการ Lab และผลการเพาะเชื้อ ทันทีเพื่อให้ได้ยา Antibiotic ได้ครอบคลุม
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|