|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนาการดูแลผู้ป่วยStroke Fast Track ในโรงพยาบาลให้ได้ประสิทธิภาพ |
ผู้แต่ง : |
จารุวรรณ คงอาจ และคณะ |
ปี : 2563 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากสถิติการเก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแม้ว่าจะมีแนวทางการดูแลเดิมอยู่แล้ว แต่พบว่าผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ Stroke Fast Track ได้รับการวินิจฉัย ส่งต่อภายใน 30 นาทีหลังมา รพ. ยังมีอัตราที่ค่อนข้างน้อยต่ำกว่ามาตรฐาน โดยในปี 2560 ถึงปี2563 (1ต.ค.62-31 มี.ค.63)พบผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเข้ารักษา หลังมีอาการภายใน 2ชม. เฉลี่ยร้อยละ 33.21 และได้รับการวินิจฉัยส่งต่อใน 30 นาที เฉลี่ยร้อยละ 31.38 ในช่วงต.ค.62 –มี.ค.63 พบเข้าระบบ FAST Trackจำนวน 5รายจาก 26 ราย Referภายใน 30 นาที 1 ราย ระยะเวลาในการตรวจจนกระทั่งส่งต่อเฉลี่ย 52.40นาที ตามลำดับ ซึ่งจะพบว่าการดูแลผู้ป่วยstroke.ในโรงพยาบาลยังมีปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ Fast Trackได้ล่าช้า จากการทบทวนเวชระเบียนพบว่า ปัญหาการบันทึกเวชระเบียนตามแนวทางการรักษา ไม่ชัดเจนครอบคลุม ขาดการบันทึกเวลาการทำหัตการและการรักษา การซักประวัติยังไม่ครอบคลุม ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาล่าช้า จึงได้มีการพัฒนาแบบการบันทึก แนวทางการดูแลผู้ป่วย stroke ในโรงพยาบาล เพื่อปรับปรุงกระบวนการดูแลและคัดกรอง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและรวดเร็ว |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อให้ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มาโรงพยาบาลและเข้าเกณฑ์ Stroke Fast Track ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว
-มีแบบบันทึกและแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งสร้างความตระหนักของเจ้าหน้าที่ในการให้ความสำคัญในการปฏิบัติดูแลตามแนวทางและการปันทึก
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
-ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทุกราย |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1.ประชุมเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเพื่อค้นหาปัญหาในการดูแลผู้ป่วยที่ผ่านมา รวมถึงทบทวนแนวทางปฏิบัติร่วมกัน
2.ทบทวน จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยในหน่วยงานให้เหมาะสม โดยกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติดูแลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาในโรงพยาบาล การคัดกรอง+ทำหัตการ+การรายงานแพทย์+ตรวจ Lab+เวลาrefer ให้ทันภายในเวลา 30 นาที กรณีStroke Fast tack ไม่ต้องรอผล Lab ให้ส่งผลทาง line ทีหลัง
3.มีช่องทางการประสานงานระหว่างโรงพยาบาลปลายทาง โดยทางโทรศัพท์ /Line กลุ่ม /มีตารางเวรอายุรแพทย์ไว้ประจำ
4.ออกแบบการบันทึกการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ชัดเจน ง่ายและสะดวกต่อการบันทึกติดตามผู้ป่วย
5.ประเมินผลเก็บตัวชี้วัดทุก 3 เดือน
6.มีการทบทวน case การดูแลผู้ป่วยร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ทุก 3 เดือน
7.นำเสนอข้อมูล ปัญหาที่พบให้แก่เจาหน้าที่ในหน่วยงานได้รับทราบและร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหา
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลลัพธ์การดำเนินงาน :อยู่ระหว่างดำเนินการ
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
ต.ค.62
มี.ค.63 เม.ย.-มิ.ย.63
ก.ค.-ก.ย.63
ต.ค.-ธ.ค.63
ม.ค.-มี.ค.64
เม.ย.-มิ.ย.64
ก.ค.-ก.ย.64
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาหลังมีอาการใน 2 ชม. >30%
31.38%
(5/26) 42.86%
(3/7)
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการส่งต่อภายใน 30 นาทีหลังมาถึงโรงพยาบาล ≥50% 20%
(1/5) 33.33%
(1/3)
ระยะเวลาเฉลี่ยในการรีเฟอร์(นาที) 52.40 49.33
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
-พัฒนากระบวนการดูแลในโรงพยาบาลเพื่อลดระยะเวลาให้บรรลุตามเป้าหมาย
-การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ป่วยSTROKEเข้าสู่ระบบ FAST TRACK เพิ่มขึ้น
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|