ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบบริการทางการแพทย์แผนไทย โดยการใช้แผ่นพอกเข่าสมุนไพรในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า โรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2559
ผู้แต่ง : วันวิสาข์ บุญสินชัย ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : การแพทย์แผนไทยเป็นภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมายาวนาน ปัจจุบันการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ทั้งการนวดไทย การใช้สมุนไพรเพื่อใช้เป็นยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพอื่น ๆ กำลังได้รับความนิยม และได้รับการยอมรับทั้งจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชนทั่วไป ในปัจจุบันภาครัฐมีนโยบายในการผสมผสานการดูแลสุขภาพร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบันในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ งานการแพทย์แผนไทยได้รับการผสมผสาน ให้เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้นำมาเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกระทรวงว่าด้วย “การพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก สมุนไพร และภูมิปัญญาไทย” และในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขมีมติให้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานเป็นสาขาที่ 11 ในการพัฒนาระบบริการ (Service plan) เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างสูงสุด ในปัจจุบันประชาชนเริ่มมีการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นและศาสตร์ความรู้เดิมมาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในการป้องกัน รักษา และฟื้นฟู ซึ่งการแพทย์แผนไทยในอดีตมีวิธีการป้องกัน รักษา และฟื้นฟู โดยเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม คือการดูแลสุขภาพทั้งกายและจิตใจ โดยเริ่มตั้งแต่การดำเนินชีวิต สภาพแวดล้อม อาหาร น้ำ อากาศ อุปนิสัย อาชีพ ฯลฯ มีการเสริมภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย ดังนั้นเพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพทางการแพทย์แผนไทย งานแพทย์แผนไทยได้นำเอาภูมิปัญญาดั้งเดิม สมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพื่อตอบสนองแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข จึงได้คิดจัดทำแผ่นพอกเข่าสมุนไพรโดยได้นำเอาสมุนไพรที่มีท้องถิ่นซึ่งสามารถหาได้ง่าย มาหมักรวมกันทำเป็นแผ่นพอกเข่าสมุนไพร ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดบวม อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาทางการแพทย์แผนไทยด้วยวิธีอื่นและง่ายต่อการนำไปใช้กับผู้ป่วย นอกจากนี้กรรมวิธีการทำง่ายประชาชนสามารถนำไปทำใช้ได้เอง เพื่อให้ผู้ป่วยมีการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยโดยพึ่งตนเองได้อีกด้วย  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์แผนไทย ให้ผู้ป่วยมีการดูแลรักษาโดยพึ่งตนเอง 2.เพื่อบรรเทาและรักษาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคลมจับโปงเข่าที่มารับบริการในคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลนามน 3.เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า 4.เพื่อนำสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. ประชากร คือ ผู้มารับบริการที่คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลนามน 2. กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มารับบริการที่คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลนามน ที่มีอาการปวดเข่า คัดเลือกโดยวิธีการสุ่ม จำนวน 20 ราย  
เครื่องมือ : 1. สเกลวัดระดับความเจ็บปวด VAS 2. แบบประเมินความพึงพอใจ 3. กล้องถ่ายภาพ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษานี้เป็นการศึกษาขั้นคลินิก โดยการนำเอาสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาหมักรวมกันเพื่อให้ได้น้ำมันสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการลดอาการปวดบวม ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานและเป็นการพัฒนารูปแบบระบบบริการทางการแพทย์แผนไทย จึงนำน้ำสมุนไพรที่ได้ทำเป็นแผ่นพอกเข่าสมุนไพรเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน 1. การสกัดน้ำมันสมุนไพร นำสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ ขิงแก่, ไพล, ขัดมอน, ใบมะขาม และผิวมะกรูด นำไปล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปหมักในขวดแก้วโดยใช้ 40 % แอลกอฮอล์ เขย่าขวดแก้วทุกวัน ทิ้งไว้เป็นเวลา 30 วัน จากนั้นจึงนำมากรองด้วยผ้าขาวบางจะได้น้ำมันสมุนไพรที่ลดอาการปวดเข่า 2. การทำแผ่นพอกเข่าสมุนไพร ตัดสำลีเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 8x8 เซนติเมตร จากนั้นนำน้ำมันสมุนไพรที่ได้มาเทใส่สำลีเพื่อให้สำลีอุ้มน้ำมันสมุนไพร นำแผ่นพอกเข่าที่ได้ใส่ซองฟรอยซิลปิดปากถุงให้สนิทเพื่อเตรียมใช้งานต่อไป 3. การรักษาผู้ป่วยโรคลมจับโปงเข่าด้วยแผ่นสมุนไพร จัดให้บริการพอกเข่าสมุนไพรสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้องรังที่มีอาการปวดเข่าและผู้มารับบริการที่คลินิกแพทย์แผนไทย โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 ราย 3.1 ประเมินอาการปวดเข่าโดยแบบคัดกรองโรคเข่าเสื่อม 3.2 วัดระดับความเจ็บปวดเข่าของผู้ป่วยก่อนรับการรักษาด้วยการพอกเข่า โดยใช้สเกลวัดระดับความเจ็บปวด (VAS) 3.3 นวดคลึงบริเวณเข่าข้างที่มีอาการปวด 3.4 นำแผ่นพอกเข่าสมุนไพรพอกให้ผู้ป่วยที่มารับบริการ 3.5 วัดระดับความเจ็บปวดเข่าของผู้ป่วยหลังรับการรักษาด้วยการพอกเข่า โดยใช้สเกลวัดระดับความเจ็บปวด (VAS) 3.6 .ให้ผู้รับบริการประเมินแบบความพึงพอใจต่อการรักษาอาการปวดเข่าด้วยการพอกเข่า 3.6 ประเมินผลการรักษาและวางแผนการรักษาผู้ป่วยเป็นรายบุคคลต่อไป  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง