ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การป้องกันน้ำท่วมตึกประกันฯ โรงพยาบาลห้วยผึ้ง ปี 2563
ผู้แต่ง : นิรัตน์ โมลาขาวและคณะ ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : ตึกงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลห้วยผึ้ง เป็นตึกเก่า สร้างเมื่อปี 2530 ตั้งอยู่บริเวณที่ลุ่ม เนื่องจากการถมที่ต่อๆกันมา ทำให้เสี่ยงต่อการระบายน้ำไม่ทัน ตลอดจนซึมผ่านรอยแตกและน้ำท่วม เกิดความเสียหายของวัสดุ-ครุภัณฑ์ เอกสารตลอดจนข้อมูลสำคัญของโรงพยาบาล ส่งผลเสียต่อระบบทำงานของโรงพยาบาล จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า ตึกงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลห้วยผึ้ง มีน้ำท่วม เกือบทุกปี หนักบ้าง เบาบ้าง โดยทางกลุ่มได้ดำเนินการแก้ไขเบื้องต้นโดยการยกวัสดุ-ครุภัณฑ์ เอกสารตลอดจนข้อมูลสำคัญของโรงพยาบาล ไว้ในที่สูงให้พ้นจากระดับน้ำที่จะท่วม ในปี 2558 เกิดน้ำท่วมหนักที่ตึก มีการค้นหาสาเหตุของการท่วมพบว่า มีสาเหตุจากท่ออุดตันระบายไม่สะดวก จึงดำเนินการโดยใช้เป็นแนวทางลอกท่อระบายน้ำก่อนฤดูฝนทุกปี ทำให้ปี 2559 น้ำไม่ท่วมหนัก ปี 2560 พบว่าน้ำท่วมหนักอีกครั้งเกิดความเสียหายหนัก จากการค้นหาสาเหตุพบว่า ฝนตกหนักทำให้น้ำเอ่อท่วมทั่วโรงพยาบาล จึงได้ขออนุมัติจัดทำคันคูกั้นไม่ให้น้ำเข้าสำนักงาน ตั้งแต่ปลายปี 2560 แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติ จนกระทั้ง วันที่ 14 กรกฏาคม 2561 เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมอีกครั้ง จึงได้ขออนุมัติอีกครั้ง และได้รับการอนุมัติ และดำเนินการก่อสร้าง เดือน สิงหาคม 2561 ในเดือนมิถุนายน 2562 เกิดฝนตกหนักน้ำเอ่อท่วมเข้าด้านหน้าอีกครั้ง สาเหตุคันคูด้านหน้าไม่มี จึงขออนุมัติทำเนินคันคูด้านหน้าลักษณะลาดเอียงเพื่อกั้นน้ำเข้าสำนักงานและสะดวกในการเข้าสำนักงาน จากผลการสำรวจดังกล่าว ทีมงานกลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลห้วยผึ้ง จึงได้หาสาเหตุของปัญหา คือ ท่อตันระบายไม่สะดวกและน้ำเอ่อท่วมกรณีฝนตกหนัก จึงได้จัดทำ “การป้องกันน้ำท่วมตึกประกันฯ โรงพยาบาลห้วยผึ้ง ปี 2563” เป็นการแก้ปัญหาจากต้นเหตุ คือ การเปิดทางระบายน้ำก่อนฤดูฝนทุกปีและการจัดทำคันคูกั้นน้ำเอ่อท่วม เพื่อให้การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วมตึกกลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลห้วยผึ้ง  
กลุ่มเป้าหมาย : ตึกกลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์และวางแผน (Plan) • ทบทวนสาเหตุปัญหาในปีงบประมาณ 2558,2560และ2562 วิเคราะห์พบว่า 1. เกิดจากท่ออุดตัน ระบายน้ำไม่ทัน(2558) 2. ฝนตกหนักทำให้น้ำเอ่อท่วม (2560) 3. ฝนตกหนักน้ำเอ่อเข้าด้านหน้าที่ไม่มีคูกั้น(2562) • วางแผนการทำงาน 1. ประชุมทำความเข้าใจถึงสภาพปัญหา แผนงาน ที่จะดำเนินการ 2. เปิดทางระบายน้ำก่อนฤดูฝนทุกปี 3. จัดทำคันคู(แบบลาดเอียง)น้ำกั้นเอ่อท่วม ขั้นตอนที่ 2 ปฏิบัติงานตามแผน (DO) ปฏิบัติงานตามแผนการทำงานที่ได้วางไว้ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผล (Check) 1. เปิดทางระบายน้ำก่อนฤดูฝนทุกปี 2. จัดทำคันคูกั้นน้ำเอ่อท่วม • เกณฑ์การประเมินผล 1. ไม่มีอุบัติการณ์น้ำท่วมตึก ขั้นตอนที่ 4 สะท้อนผลการปฏิบัติ (Act) สรุปผลการดำเนินงานทุก 1 ปี เพื่อพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วมให้ดีขึ้น  
     
ผลการศึกษา : เกณฑ์ชี้วัดการดำเนินงาน 2560 2561 2562 2563 หมายเหตุ 1.เปิดทางระบายน้ำก่อนฤดูฝนทุกปี ดำเนินการแล้ว ดำเนินการแล้ว ดำเนินการแล้ว ดำเนินการแล้ว 2.จัดทำคันคู(แบบลาดเอียงด้านหน้า)กั้นน้ำเอ่อท่วม ทำด้านข้าง 2ด้าน ดำเนินการแล้ว 3.ปรับปรุงระบบระบายน้ำของโรงพยาบาล โดยผ่านคณะกรรมการENV ต่อไป เสนอผ่านคณะกรรมการ ENV  
ข้อเสนอแนะ : • ปรับปรุงระบบระบายน้ำของโรงพยาบาล โดยผ่านคณะกรรมการENV ต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)