ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้แนวทางการพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล ด้วยเทคนิค“การใชสื่อประกอบการสื่อสารทางวาจา (Supporting spoken communication with visual tools)”
ผู้แต่ง : สายรุ้ง วงศ์ศิริและคณะ ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารซึ่งมีความสําคัญต่อการพัฒนาระบบสุขภาพของ ประชาชนตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติดังกล่าว เพราะไม่เพียงแต่เพื่อใช้ข้อมูลข่าวสารสําหรับ บริหารจัดการข้อมูลด้านการรักษา ด้านการเบิกจ่ายค่ารักษาตามสิทธิและด้านการประกันสุขภาพ หากยังได้นําไปใช้ในการวิเคราะห์การเกิดโรคอุบัติใหม่ การคาดการณ์การเจ็บป่วยในอนาคต การวาง แผนพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข การวางแผนด้านงบประมาณอย่างเหมาะสมและการกําหนดกลยุทธ์ และนโยบายด้านสุขภาพด้วย ดังนั้น การมีข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน มีคุณภาพและทันสมัย จึง เป็นสิ่งจําเป็นที่จะทําให้การพัฒนาสุขภาพประชาชนบรรลุเป้าหมายตามแผน นอกจากเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารแล้ว ยังสามารถนํา ICT มาประยุกต์ ใช้ในการให้บริการแก่ประชาชนในสถานบริการให้เกิดความรวดเร็ว ผู้ป่วยไม่ต้องรอนาน ประชาชน สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ทางอินเตอร์เน็ต เพื่อการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน กลุ่มประชาชนผู้ด้อยโอกาส เช่น ผู้ที่อยู่ในท้องที่ห่างไกลสามารถได้รับบริการทาง การแพทย์จากแพทย์ผ่านระบบการแพทย์ทางไกล ผู้พิการทางสายตาสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพใน เว็บไซต์ซึ่งออกแบบสําหรับผู้พิการด้วย ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน ไขมันในเส้น เลือดสามารถรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลใกล้บ้านโดยไม่ต้องเดินทางมารับบริการที่ โรงพยาบาลชุมชน เนื่องจากมีระบบ ICT เชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล และ โรงพยาบาลชุมชน เพื่อการปรึกษาหารือ และรับ - ส่งข้อมูลที่จําเป็น การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สามารถดําเนินการให้เกิดผลเป็น รูปธรรมได้ด้วยการกําหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ กลวิธีและ มาตรการ และมีการถ่ายทอด ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ลงสู่การปฏิบัติ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะปี 2556-2565 โรงพยาบาลห้วยผึ้งได้กำหนดให้มีการดำเนินงาน และรับการประเมินจากสำนักงานสาธารณสุข กาฬสินธุ์ในปีงบประมาณ 2563 โดยต้องผ่านการดำเนินงานขั้นที่ 1 ดังนั้นกลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์ และสารสนเทศทางการแพทย์ จึงได้จัดให้มีการเรียนรู้และทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล Thai Medical Informatics – TMI Hospital IT Maturity Model เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนด  
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้แนวทางการพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล ด้วยเทคนิค “การใชสื่อประกอบการสื่อสารทางวาจา (Supporting spoken communication with visual tools)”ของบุคลากรกลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์  
กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรของกลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ทุกคน  
เครื่องมือ : 1.สื่อประกอบการเรียนรู้ (Power point) จำนวน 40 สไลด์ ใช้เวลาในการสอน 1 ชั่วโมง 2. แบบทดสอบ จำนวน 20 ข้อ 4 ตัวเลือก  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 9.1 รูปแบบการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของกลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์ และสารสนเทศทางการแพทย์ จำนวน 9 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1) ข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2) แบบทดสอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ เก็บข้อมูลก่อน และหลังการเข้าร่วมโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย 9.2 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ 1. ผู้ศึกษาทำความเข้าใจและสรุปสาระสำคัญของแนวทางการพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล 2. จัดทำสื่อประกอบการเรียนรู้ (Power point) จำนวน 40 สไลด์ ใช้เวลาในการสอน 1 ชั่วโมง 3. สร้างแบบทดสอบ จำนวน 20 ข้อ 4 ตัวเลือก ให เลือกตอบขอที่ถูกตองที่สุด ตอบถูกได 1 คะแนน ตอบผิด ได 0 คะแนน โดยกําหนดเกณฑในการแปลความหมายของคะแนน เปน 3 ระดับ การแปลผลคะแนนโดยพิจารณาตามเกณฑ ของบลูม (Bloom, 1968) ดังนี้ ระดับ คะแนน แปลผล ดี คะแนนตั้งแตรอยละ 80 - 100 (คะแนนตั้งแต 16คะแนนขึ้นไป) จนท.มีความรูในระดับดี ปานกลาง คะแนนระหวางรอยละ 60-79 (คะแนนตั้งแต 12 – 15 คะแนน) จนท.มีความรูในระดับปานกลาง นอย คะแนนนอยกวารอยละ 60 (คะแนนต่ำกว่า 12 คะแนน) จนท.มีความรูในระดับนอย 4. ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ ในโรงพยาบาลนำร่องการประเมิน HAIT ( รพ.สมเด็จ) จำนวน 2 คน ได้แก่ หัวหน้างานเทคโนโลยีสารสนเทศ และนักวิชาการคอมพิวเตอร์ และตรวจสอบความเที่ยง 5. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ 6. นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไข แล้วนำไปทดสอบ กับ กลุ่มตัวอย่าง ตัวอย่างจำนวน 8 คน และนำมาวิเคราะห์ความเชื่อมั่น มีค่า Cronbach’s alpha เท่ากับ 0.7 7. นัดกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการเรียนรู้ตามโปรแกรม โดยแบ่งออกเป็น 2 รุ่นๆละ 1 วัน ( 1ชั่วโมง) 8. ประเมินผลก่อนและหลังการเรียน 9.จัดทำเอกสารรายงานผล เทคนิคการสื่อสาร โดยใช้สื่อการสอนเทคนิคการใชสื่อประกอบการสื่อสารทางวาจา (Supporting spoken communication with visual tools)” เทคนิค คำอธิบาย 1. การเริ่มตนที่ดี กลาวคําทักทายที่เปนมิตร โดยแนะนําตัวเอง และอธิบายบทบาทของคุณ พูดดวย คําพูดที่ชัดเจน มีน้ำเสียงเปนมิตร เทคนิค คำอธิบาย และใหเกียรติ จดจําใบหนา อิริยาบถของ ผูฟัง ควรนั่งลงถาผูฟังอยูในทานั่ง และ ถาผูฟังยืนอยู ก็ควรจะ ยืนเชนเดียวกัน 2. เคารพในศักดิ์ศรีและให ความสําคัญกับบุคคล การใหความเคารพในศักดิ์ศรี ใหเกียรติ ชวยใหผูฟังรูสึกดี คลายความวิตก กังวล ผูพูดควรสบตากับผูฟังขณะที่พูดคุย แตพึงระวังการแสดงออก อยางเหมาะสมตามวัฒนธรรมของผูฟัง 3. พูดใหชาลง การพูดอยางรวดเร็ว เปนตัวสะทอนวาคุณกําลังยุง ไมวาง การพูด ชาๆ และหยุด เปนบางครั้ง หลังจากพูดประเด็นสําคัญแลว จะทําใหผูฟังเขาใจขอมูลที่คุณตองการสื่อสาร รวมถึงการถามคําถาม ไดงายขึ้น นอกจากนี้ควรใหเวลากับการ ตอบคําถามดวย 4. ใชภาษาที่เขาใจงาย การใชภาษาเดียวกันกับที่ผูฟังที่ใชพูดในชีวิตประจําวัน (เปนภาษาที่ใชพูด กันที่บาน) ใชภาษาที่เขาใจงาย หลีกเลี่ยงคําศัพททางการแพทย เพื่อสื่อสารปญหา สุขภาพของผูฟัง และถาเปนไปได ควรใชคําพูดตรงกันทุกครั้งที่สื่อสารกับ ผู้ฟัง 5. ขอความสั้นและกระชับ โดยทั่วไป ระหวางการสนทนา คนสวนใหญจะมีความสามารถในการจดจําขอมูล ไดเพียง 3-5 ประเด็น ดังนั้น ถาเปนไปไดควรพูดประมาณ 3-5 ประเด็น ตอการ สนทนา 1 ครั้ง 6. ใชคําอธิบายที่ผูรับบริการ นึกถึงสิ่งที่ใกลเคียงกัน หรือใชการเปรียบเทียบ อุปมาอุปมัย การเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผูฟังมีประสบการณ จะชวยใหเขาใจไดงายขึ้น ใน การใหขอมูล คําแนะนํา 7. ใชคําถามปลายเปด การใชคําถามปลายเปด จะชวยใหสามารถประเมินปญหา ความตองการและ ความรูสึก ความคิดของผูฟังไดดีกวาการใชคําถามปลายปด 8. ยืนยันความเขาใจ การประเมินผูฟังและทําการตรวจสอบความเขาใจขอมูลสุขภาพ โดยขอให ผูฟังพูดทวนความ หรือการสอนกลับในสิ่งที่ คุณพูด ดวยคําพูดของผูฟังเอง เพื่อตรวจสอบความเขาใจของผูฟังและตรวจสอบวาคุณ อธิบายไดดีพอ 9. การถามเพื่อกระตุน ผูฟังบางคน จะรูสึกอายที่จะถามคําถาม หรือ ไมชอบถาม การถามเพื่อ กระตุน เปนกลวิธีที่ชวยทําใหเกิดคําถามสําหรับผูฟังและมีสวนรวมมากขึ้น โดยผูพูดควรหยุดพูดทุกครั้งในประเด็นสําคัญ เพื่อให ผูฟังพิจารณาวาตองการจะถามอะไร 10. ใชสื่อประกอบ การใชภาพ วาดภาพงายๆ แบบจําลอง หรือการสาธิต ประกอบการพูดอธบิายจะ ชวยใหผูฟังเกิดความเขาใจ หรือปฏิบัติตามไดดีขึ้น 11. เขียนเพื่อเตือนความจํา เขียน หรือเนนขอมูลสุขภาพที่สําคัญดวยการขีดเสนใตหรือวงกลมรอบขอความ เพื่อชวยเตือนความจําของผูฟัง โปรแกรมการจัดกระบวนการเรียนรู้แนวทางการพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล หมวด 1 แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื้อหา ประกอบด้วย 1) การได้มาซึ่งแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและความสำคัญ 2) คุณภาพของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) ความสอดคล้องของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กร หมวด 2 การจัดการความเสี่ยงในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล เนื้อหา ประกอบด้วย 1) ปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดความเสี่ยงในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ขั้นตอนสําคัญในการจัดการความเสี่ยง 3) การคํานวนคะแนนความเสี่ยง 4) การวางแผนกลยุทธ์จัดการความเสี่ยงในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงพยาบาล หมวด 3 การจัดการความมั่นคงปลอดภัยในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล เนื้อหา ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์การจัดการความมั่นคงปลอดภัยในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล 2) การประกาศนโยบาย และระเบียบปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล 3) กระบวนการสําคัญของการจัดการความมั่นคงปลอดภัยในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล 4) การประเมินการรับรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติตามนโยบาย และระเบียบปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล 5) การรายงานผลการประเมินการประเมินการรับรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติตามนโยบาย และ ระเบียบปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยในระบบเทคโนโลยี สารสนเทศโรงพยาบาล 6) การจัดทำแผนพัฒนาส่วนขาด 7) มาตรฐานของData Center 8) แผนดําเนินการเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ใช้งานไม่ได้ หรือเกิดภัยพิบัติกับ Data Center (BCP) หมวด 4 การจัดระบบบริการในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล เนื้อหา ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์การจัดระบบบริการในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล 2) การจัดตั้งจุดบริการ 3) การจัดทําข้อตกลงระดับบริการ 4) การประชาสัมพันธ์ข้อตกลงระดับบริการไปสู่ผู้ใช้ระบบ ทุกคน 5) การประเมินผลการดําเนินงานตามข้อตกลงระดับ บริการ 6) การรวบรวมข้อมูลอุบัติการณ์ 7) การวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติการณ์ 8) การบันทึกข้อมูลกิจกรรมการทํางานของฝ่ายเทคโนโลยี สารสนเทศ 9) การประเมินความพึงพอใจและจัดทำรายงาน 10) แผนพัฒนาส่วนขาด หมวด 5 การควบคุมคุณภาพข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล เนื้อหา ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์การควบคุมคุณภาพข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล 2) การจัดมาตรฐานแบบฟอร์ม/หน้าจอบันทึกข้อมูล 3)การฝึกอบรมการบันทึกข้อมูลและการให้รหัส ICD ให้ได้ มาตรฐาน 4) การจัดระบบตรวจสอบคุณภาพข้อมูล 5) การสร้างกลไกพัฒนาคุณภาพข้อมูล 6) การรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพข้อมูล และ คุณภาพการให้รหัส หมวด 7 การจัดการศักยภาพและการจัดการการเปลี่ยนแปลงในระบบเทคโนโลยี สารสนเทศโรงพยาบาล เนื้อหา ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์การจัดการศักยภาพ (Capacity Management) ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล 2) การสํารวจทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) การวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) 4) การจัดทําแผนเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) การจัดทําแบบประเมินสมรรถนะบุคลากรฝ่าย เทคโนโลยีสารสนเทศ 6) การประเมินสมรรถนะบุคลากรฝ่ายเทคโนโลยี สารสนเทศ เปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายถามตอบได้ตลอดเวลาของการเรียน พร้อมทั้งให้ผู้เรียนแต่ละคนสรุปย่อสาระสำคัญที่ตนเองเข้าใจรายหมวด ทวนสอบ โดยให้กลุ่มเป้าหมายสรุปสาระสำคัญในแต่ละหมวด และถอดบทเรียน  
     
ผลการศึกษา : จากการศึกษาประสิทธิผลของการเรียนรู้แนวทางการพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล ด้วยเทคนิค การใชสื่อประกอบการสื่อสารทางวาจา (Supporting spoken communication with visual tools) ที่ใช้แบบสอบถาม จำนวน 2 ตอน คือตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 เป็นแบบทดสอบแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบอย่างเจาะจง จำนวน 9 คน ผลการศึกษาพบว่า 11.1 ข้อมูลทั่วไป ในการวิเคราะห์คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ โดยเริ่ม จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 1 แสดง เพศ อายุ การศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 3 33.33 หญิง 6 66.66 รวม 9 100 อายุ น้อยกว่า 30 ปี 2 22.22 31-40 ปี 3 33.33 41-50 ปี 2 22.22 มากกว่า 51 ปี 2 22.22 คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ อายุเฉลี่ย 39.22 (ปี) รวม 9 100 ระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 4 44.44 ปริญญาตรี/สูงกว่าปริญญาตรี 5 55.55 รวม 9 100 จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย กล่าวคือ เพศหญิงและเพศชาย ร้อยละ 66.66 และร้อยละ 33.33 ตามลําดับ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ จะ มีอายุระหว่าง 31- 40 ปี (ร้อยละ 33.33) นอกนั้นมีอายุ ต่ำกว่า 30 ปี, 41-50 ปี และอายุมากกว่า 51 ปี เท่ากัน (ร้อยละ 22.22) ในส่วนคุณวุฒิการศึกษาของผู้ตอบ แบบสอบถาม พบว่าส่วนใหญ่มีคุณวุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า (ร้อยละ 55.55) ตารางที่ 2 แสดง ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และความถี่ในการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ ตำแหน่งปัจจุบัน นักวิชาการสาธารณสุข 3 33.33 นักวิชาการคอมพิวเตอร์ 1 11.11 จพ.เวชสถิติ 2 22.22 จพ.เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 11.11 พนักงานธุรการ 1 11.11 พนักงานช่วยเหลือคนไข้ 1 11.11 รวม 9 100 ระยะเวลาปฏิบัติงานในตำแหน่ง (ปี) 1-5 ปี 2 22.22 คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ 6-10 ปี 2 22.22 11-15 ปี 2 22.22 15 ปีขึ้นไป 3 33.33 รวม 9 100 ระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ย 12 (ปี) 12 (ปี) ความถี่ในการใช้งานระบบเทคโนโลยี น้อยกว่า 3-5 วัน/สัปดาห์ 0 0 3-5 วัน/สัปดาห์ 1 11.11 ทุกวัน 8 88.88 รวม 9 100 จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการสาธารณสุข(ร้อยละ33.33) นอกนั้นมีตำแหน่งอื่นๆครอบคลุมตามภารกิจของกลุ่มงาน มีประสบการณ์ในการทํางานส่วนใหญ่ 15 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 33.33) ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งปัจจุบันสูงสุด 27 ปี น้อยสุด 10 เดือน ความถี่ในการใช้งานระบบเทคโนโลยีส่วนใหญ่ใช้งานทุกวัน (ร้อยละ 88.88) รองลงมาใช้งาน3.5วันต่อสัปดาห์(ร้อยละ 11.11) 11.2 ความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล จากการศึกษาประสิทธิผลของการเรียนรู้แนวทางการพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล ด้วยเทคนิค การใชสื่อประกอบการสื่อสารทางวาจา (Supporting spoken communication with visual tools) แบบทดสอบแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ในกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบอย่างเจาะจง จำนวน 9 คน เปรียบเทียบคะแนนก่อน และหลังการเข้าร่วมโปรแกรม มีผลคะแนนดังนี้ ตารางที่ 3 แสดงคะแนนก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แนวทางการพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล ด้วยเทคนิค “การใชสื่อประกอบการสื่อสารทางวาจา” คนที่ Pre-test Post-test 1 11 13 2 17 19 3 12 15 4 14 18 5 8 12 6 18 20 7 9 13 8 11 15 9 14 13 คะแนนเฉลี่ย 12.33 15.33 จากตารางที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ทั้งหมดจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ100 โดยคะแนนก่อนเข้าร่วมโปรแกรม โดยก่อนเข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนสูงสุด 17 คะแนน คะแนนต่ำสุด 8 คะแนน และคะแนนเฉลี่ย 12.33 คะแนน หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ คะแนนสูงสุด 20 คะแนน คะแนนต่ำสุด 12 คะแนน คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเข้าโปรแกรมเท่ากับ 11.33 และ15.33 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนเพิ่มขึ้น จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 88.88 และมีคะแนนลดลง 1 คน ร้อยละ 11.11 ตารางที่ 4 ระดับคะแนนก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แนวทางการพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล ด้วยเทคนิค “การใชสื่อประกอบการสื่อสารทางวาจา” ระดับ จำนวน (คน) ร้อยละ ดี (16 คะแนนขึ้นไป) 1 11.11 ปานกลาง (12-15 คะแนน) 5 55.55 ต่ำ (ต่ำกว่า 12 คะแนน) 4 44.44 จากตารางที่ 4 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ 9 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 มีคะแนนก่อนการเรียนรู้ส่วนใหญ่ระดับ ปานกลาง 5 คน (ร้อยละ55.55) ลองลงมาระดับต่ำ 4 คน (ร้อยละ44.44) ระดับดี 1 คน (ร้อยละ11.11 ตารางที่ 5 ระดับคะแนนหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แนวทางการพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล ด้วยเทคนิค “การใชสื่อประกอบการสื่อสารทางวาจา” ระดับคะแนน จำนวน (คน) ร้อยละ ดี (16 คะแนนขึ้นไป) 3 33.33 ปานกลาง (12-15 คะแนน) 6 66.66 ต่ำ (ต่ำกว่า 12 คะแนน) 0 0 จากตารางที่ 5 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้9 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 มีคะแนนหลังการเรียนรู้ส่วนใหญ่ระดับ ปานกลาง 6 คน (ร้อยละ66.66) ลองลงมาระดับดี 3 คน (ร้อยละ33.33) โดยมีคะแนนสูงสุด 20 คะแนน คะแนนต่ำสุด 12 คะแนน และคะแนนเฉลี่ย 15.33 คะแนน ตารางที่ 6 เปรียบเทียบจำนวนคนที่ได้คะแนนในแต่ละระดับก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แนวทางการพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล ด้วยเทคนิค “การใชสื่อประกอบการสื่อสารทางวาจา” ระดับคะแนน Pre-test Post-test จำนวน (คน) ร้อยละ จำนวน (คน) ร้อยละ ดี (16 คะแนนขึ้นไป) 1 11.11 3 33.33 ปานกลาง (12-15 คะแนน) 5 55.55 6 66.66 ต่ำ (ต่ำกว่า 12 คะแนน) 4 44.44 0 0 จากตารางที่ 6 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แนวทางการพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล ด้วยเทคนิค “การใชสื่อประกอบการสื่อสารทางวาจา” จำวนคนที่มีคะแนนในแต่ละระดับมากขึ้น โดยคะแนนระดับดีก่อนและหลังการเรียนรู้ จำนวน 1 คน ร้อยละ11.11 และ 3 คน ร้อยละ 33.33 ตามลำดับ ปานกลาง 5 คน ร้อยละ 55.55 และ 6 คน ร้อยละ66.66 ตามลำดับ ระดับต่ำ 4 คน ร้อยละ 44.44 และไม่พบคนที่ได้คะแนนระดับต่ำหลังการเรียนรู้ตามโปรแกรม 12. สรุปผลการศึกษา ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.66 เพศชาย ร้อยละ33.33 มีอายุเฉลี่ย 39.22 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ปริญญาตรีหรือสูงกว่า ร้อยละ55.55 ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.33 ระยะเวลาทำงานในตำแหน่งปัจจุบัน เฉลี่ย 12 ปี ใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทุกวัน ร้อยละ 88.88 รองลงมาใช้งาน 3-5 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 11.11 ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้แนวทางการพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล ด้วยเทคนิค “การใชสื่อประกอบการสื่อสารทางวาจา (Supporting spoken communication with visual tools) พบว่า ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ ระดับความรู้ ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับปานกลางเท่ากัน แต่พบว่า จำนวนคนที่ได้คะแนนในแต่ละระดับเพิ่มขึ้น,คะแนนเฉลี่ยหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้น โดยก่อนการเรียนมีเท่ากับ 12.33 คะแนน หลังการเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.33 คะแนน ซึ่งสูงขึ้น และจำนวนผู้ที่ได้คะแนนในแต่ละระดับมีจำนวนคนเพิ่มขึ้น ดังนี้ ระดับดี ก่อนการเรียน จำนวน 1 คน หลังเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 3 คน ระดับปานกลางก่อนเรียน จำนวน 5 คน หลังเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 6 คน ระดับต่ำก่อนเรียน 4 คน หลังเรียนไม่มีผู้ได้คะแนนอยู่ในระดับต่ำเลย  
ข้อเสนอแนะ : 1) จัดกระบวนการเรียนรู้แนวทางใหม่ เพื่อให้การเรียนรู้แนวทางพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาลคลอบคลุมบุคลากรของโรงพยาบาลห้วยผึ้งทุกระดับ เพื่อสื่อสารนโยบาย และแปลงแนวทางการพัฒนาคุณภาพสู่การปฏิบัติ 2) ประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะเพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติ รวมถึงปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานแนวทางพัฒนาคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล 3) สรุปและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆที่เกิดขึ้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)