|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ประสานยา ประสานใจ ประสานชีวิต |
ผู้แต่ง : |
เจ้าหน้าที่งานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค และกลุ่มงานพยาบาลแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนามน |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
กระบวนการประสานรายการยา (medication reconciliation) หมายถึง กระบวนการที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลรายการยาที่ผู้ป่วยใช้ที่บ้านก่อนเข้ามารับการตรวจรักษาให้ได้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ในกรอบเวลาที่กำหนด ทั้งชื่อยา ขนาดรับประทาน ความถี่ และวิถีใช้ยานั้นๆ (ทั้งนี้รวมถึงยาที่ผู้ป่วยซื้อมารับประทานเอง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สมุนไพร วิตามินต่างๆ โดยใช้อย่างต่อเนื่อง หรือใช้เป็นครั้งคราว เพื่อบำบัดอาการก็ตาม) ซึ่งใช้เป็นข้อมูลในการสั่งใช้ยาแก่แพทย์ รวมทั้งเปรียบเทียบรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับมาก่อน กับคำสั่งใช้ยาที่ผู้ป่วยได้รับที่โรงพยาบาล และติดตามการเปลี่ยนแปลงคำสั่งใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างเหมาะสม
กระบวนการประสานรายการยา ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ดังนี้
1. การบันทึกรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับ (Verification)
2. การทวนสอบความถูกต้องของรายการยาที่บันทึก (Clarification) เพื่อให้มั่นใจว่ายา และขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับอยู่นั้นถูกต้องและเหมาะสม หากสงสัยควรหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น
3. การเปรียบเทียบรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับใหม่กับรายการยาที่ผู้ป่วยเคยได้รับ (Reconciliation) เมื่อพบความแตกต่าง ต้องมีการบันทึก และสื่อสารกับแพทย์ผู้รักษาเพื่อทบทวนการเปลี่ยนแปลงในคำสั่งใช้ยา พร้อมเหตุผล
4. การส่งต่อข้อมูลยา (Transmission) เมื่อจำหน่ายผู้ป่วย ให้สื่อสารรายการยาล่าสุดที่ผู้ป่วยได้รับกับตัวผู้ป่วยเองหรือกับผู้ดูแล และส่งต่อข้อมูลรายการยาดังกล่าวไปยังสถานพยาบาลอื่น
ปัญหาที่พบ
- ในวันหยุดทำการราชการเภสัชกรไม่สามารถทำการประสานรายการยาได้เนื่องจากเนื่องจากเภสัชกรไม่เพียงพอ
- หากผู้ป่วยมีประวัติการรักษาจากสถานพยาบาลอื่น แล้วไม่ได้แจ้งบุคลากรของโรงพยาบาลนามน ผู้ป่วยจะไม่ได้รับการประสานรายการยา
- มีผู้ป่วยบางรายที่แพทย์สั่งกลับบ้าน แต่ผู้ป่วยไม่ได้นำใบประสานรายการยาส่งมาพร้อมกับ Doctor order sheet เภสัชกรจะไม่ทราบประวัติยาเดิมก่อนหน้านี้ของผู้ป่วย
- เมื่อแพทย์สั่งใช้ยา โดยใช้คำสั่งว่า “ยาเดิม ให้ผู้ป่วยจัดกินเอง” ผู้ป่วยบางรายไม่ได้นำยามาจากบ้าน อาจทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับยาต่อเนื่อง
|
|
วัตถุประสงค์ : |
- เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาโรคเดิมอย่างต่อเนื่องขณะที่นอนในโรงพยาบาล
- เพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาจากกกระบวนการสั่งใช้ยาในช่วงรอยต่อของการรักษา
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เจ้าหน้าที่งานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค และกลุ่มงานพยาบาลแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนามน |
|
เครื่องมือ : |
การทำ medication reconciliation ของโรงพยาบาล เป็นการทำงานแบบสหวิชาชีพร่วมกับพยาบาลเป็นสำคัญ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
เดิมทีระบบการประสานรายการยา (medication reconciliation) ของโรงพยาบาลนามนเภสัชกรจะพิมพ์ในสั่งยาล่าสุดของผู้ป่วยออกมาแล้วแนบใน Chart เท่านั้น ซึ่งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้น มามีการพัฒนาระบบประสานรายการยาโดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
การทำ medication reconciliation ของโรงพยาบาล เป็นการทำงานแบบสหวิชาชีพร่วมกับพยาบาลเป็นสำคัญ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน
1. แรกรับ (admission date) พยาบาลที่ ER หรือ OPD จะเป็นผู้ซักประวัติการใช้ยา อาหารเสริม หรือสมุนไพร ในเบื้องต้น ลงในเวชระเบียนผู้ป่วย แพทย์จะดูยาที่ผู้ป่วยนำมาจากบ้าน และเขียนคำสั่งใช้ยา
2. ให้เภสัชกรตรวจสอบยา และคำสั่งใช้ยา แล้วเปรียบเทียบรายการยาโรคเรื้อรังเดิมในระบบ HosXp พร้อมทั้งค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นจากยา และบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม medication reconciliation
3. เภสัชกรค้นหาปัญหาการใช้ยาจากตัวผู้ป่วย (DRP(s)) หากพบ DRP(s) เภสัชกรทำการบันทึกข้อมูลลงแบบฟอร์ม medication reconciliation แล้วแจ้งให้แพทย์ทราบ หากเป็น DRP(s) ที่เภสัชกรทำการแก้ไขได้จะทำการแก้ไขทันที
4. วันกลับบ้าน (discharge date) หลังจากแพทย์สั่งยากลับบ้าน พยาบาล IPD จะแนบใบประสานรายการยาพร้อมกับ Doctor order sheet ให้ผู้ป่วยหรือญาติเพื่อนำส่งที่ห้องยา เภสัชกรจะทำการตรวจสอบรายการยาว่าตรงกันหรือไม่ หากรายการยาหรือวิธีการบริหารยาไม่ตรงกันเภสัชกรจะสอบถามไปยังแพทย์เพื่อถามเหตุผล
5. เภสัชกรจัดยา ตรวจสอบจำนวนยาให้พอดีวันนัด และสภาพยาของผู้ป่วย พร้อมแนะนำเรื่องการใช้ยา และการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยทุกรายที่กลับบ้าน (discharge counseling)
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
พบว่า ร้อยละของปัญหาที่พบจาการประสานรายการยาที่ได้รับการแก้ไขมากกว่าร้อยละ 80 โดยผลของการดำเนินงานตามเดือน ก.พ.-59 มี.ค.-59 เม.ย.-59 พ.ค.-59 มิ.ย.-59 ก.ค.-59 พบว่า จำนวนครั้งที่ทำการประสานรายการยา 24 34 31 19 23 41 และ 131 ครั้ง ตามลำดับ ผู้ป่วยใช้ยาไม่ถูกตามแพทย์สั่ง 16 11 18 7 7 15 และ 74 ครั้ง ตามลำดับ ผู้ป่วยขาดยา หรือหยุดยาเอง 5 11 6 1 8 และ 31 ครั้ง ตามลำดับ ผู้ป่วยเกิด ADR จากยา 1 1 1 1 และ 4 ครั้ง ตามลำดับ ผู้ป่วยมีการใช้ยาที่เกิด DI ร่วมกัน 1 ตามลำดับ ผู้ป่วยไม่ได้รับยา หรือได้รับยาโรคเรื้อรังไม่ครบขณะ Admit, D/C 1 1 10 และ 12 ครั้ง ตามลำดับ ผู้ป่วยใช้ยาไม่ถูกเทคนิค 1 1 1 และ 2 ครั้ง ตามลำดับ ผู้ป่วยเก็บยาไม่เหมาะสม 1 1 และ 2 ครั้ง ตามลำดับ สั่งวิธีการใช้ยาคลาดเคลื่อนจากเดิม 1 1 และ 1 ครั้ง ตามลำดับ สั่งวิธีการใช้ยาไม่เหมาะสม 1 1 และ 1 ครั้ง ตามลำดับ รวมปัญหาที่พบ 22 26 28 10 8 36 และ 94 ครั้ง ตามลำดับ จำนวนปัญหาที่ได้รับการแก้ไข 22 26 28 10 8 36 และ 94 ครั้ง ตามลำดับ ร้อยละปัญหาที่ได้รับการแก้ไข 100 100 100 100 100 100 และ 100 ครั้ง ตามลำดับ
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
พบโอกาสพัฒนาต่อไป คือ
1. เภสัชกรลงซักประวัติยาผู้ป่วยที่ admit ทุกราย เพื่อค้นหาข้อมูลยาจากสถานพยาบาลอื่นที่ผู้ป่วยได้รับก่อนมานอนรักษาตัวทีโรงพยาบาลนามน
2. มีระบบดึงข้อมูลยาเดิมจาก HosXp ลงในแบบฟอร์ม medication reconciliation อัตโนมัติ โดยไม่ต้องทำการคัดลอกเอง ซึ่งจะช่วยย่นระยะเวลาการดำเนินงาน
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|