|
|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยหลักโภชนบำบัดตามบริบทชุมชน ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2559 |
ผู้แต่ง : |
นีรนาท วิลาศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
วัชภูมิ ทองใบ นักโภชนาการ
คณะอสม.เทศบาลตำบลคำม่วง
|
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ทุกปีจะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นกว่า 7 ล้านคน โดยมีผู้เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เพิ่มขึ้นมากที่สุดซึ่งเกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากสิ่งนี้ทำให้เห็นว่ารูปแบบการใช้ชีวิตเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (CVD) ได้มากกว่าคนปกติถึง 2-4 เท่า และ 80% ของคนที่เป็นโรคเบาหวานเสียชีวิตเพราะโรคนี้
ปัจจุบันมีประชากรในประเทศไทยป่วยด้วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มสูงขึ้นและในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลคำม่วง มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้งหมดจำนวน 2,994 ราย ผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ 56.02 มีภาวะแทรกซ้อน และมีอัตราการตายจากภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลคำม่วงมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ตายจากภาวะแทรกซ้อน จากปี พ.ศ.2551-2556 คิดเป็น 252 ราย ร้อยละ 8.4 สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยเฉพาะเรื่องการบริโภคอาหาร ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังมีความรู้เรื่องโภชนาการ ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลยังไม่มีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงตัวบุคคล บางครั้งทำให้เกิดความเชื่อ การบอกต่อ ที่ผิดๆ และการให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่ก็เป็นแบบองค์รวม ยังไม่เฉพาะเจาะจงด้านพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นปัญหาเฉพาะตัวผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ หรือทำได้แต่ไม่มีความสุข ขาดความยั่งยืน
เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความตระหนักเพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกหลักการทางโภชนาการที่เหมาะสมแต่ละบุคคลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่จะเกิดขึ้น
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดปกติ
2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง ด้านโภชนาการ
3. เพื่อพัฒนาทักษะ อสม. ให้เป็น อาสาโภชนาการชุมชน
4. เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะ/โรคแทรกซ้อน จากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) ผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มสีแดงและสีส้ม (แบ่งตามปิงปองจราจรชีวิต 7 สี) และมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมการกิน (ประเมินโดยพยาบาลประจำคลินิกเบาหวาน) ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 33 คน และ อสม. จำนวน 13 คน (เขตรับผิดชอบของ PCU รพ.คำม่วง) ซึ่งผ่านการอบรม อสม. เชี่ยวชาญ และมีความสมัครใจที่จะดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้านโภชนาการ |
|
เครื่องมือ : |
แบบสัมภาษณ์
สนทนากลุ่ม |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ(Action research: AR) เพื่อศึกษารูปแบบและผลของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยการให้โภชนบำบัดรายบุคคล ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยการเก็บข้อมูลเบื้องต้น ผู้ป่วยเบาหวานจัดกลุ่มผู้ป่วยตามปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ทำการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) สังเคราะห์ข้อมูล จัดทำเนื้อหาการอบรม จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านอาหารและโภชนาการประเมินภาวะโภชนาการและวางแผนโภชนบำบัด ให้แก่ผู้ป่วยรายบุคคลอบรม อสม.อาสา โภชนาการมอบหมายภารกิจ อสม.ในการติดตามพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานทุกอาทิตย์และประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือด 3 ครั้ง และเจาะเลือดดูระดับ HbA1C |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง(ร้อยละ 72.28)ส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 60 ปี(ร้อยละ 90.90) การศึกษาส่วนใหญ่ชั้นประถมศึกษา(ร้อยละ45.46) อาชีพเกษตรกรรม(ร้อยละ 48.49) และสถานภาพสมรส(ร้อยละ 93.94) ข้อมูลการบริโภคอาหาร ผู้ป่วยทำอาหารกินเอง ร้อยละ 60.61 ผู้ป่วยส่วนใหญ่กินอาหารครบ 3 มื้อ ส่วนใหญ่กินข้าวตรงเวลา ร้อยละ 60.61ประเภทอาหารที่ชอบรับประทานส่วนใหญ่คือ อาหารพื้นบ้าน ร้อยละ 78.78 รสชาติที่ชอบ รสพอดีร้อยละ 42.43% รสเค็มร้อยละ18.19รสจัด/ชอบทุกรส ร้อยละ 15.16 รสหวาน ร้อยละ 12.13 และรสจืด ร้อยละ 12.13ผลการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ระดับปานกลาง ร้อยละ 66.67 ระดับที่ควรปรับปรุง ร้อยละ 24.25 และระดับดี ร้อยละ 9.09
จุดแข็ง :มีการควบคุมอาหาร, มี อสม., มีสุขศาลาในพื้นที่, กินผัก ลดมัน กินเนื้อปลา ไปวัดทุกวัน, ปลูกผักกินเอง ออกกำลังกาย ทำอาหารกินเอง, มี อสม แนะนำ ปั่นจักรยาน, ทำอาหารเอง, มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม,ออกกำลังกายทุกเช้า กินผัก กินปลา ออกกำลังกายแบบแกว่งแขนทุกเช้า, มีการปรับเปลี่ยนการกิน เปลี่ยนจากข้าวเหนียวเป็นข้าวสวย
จุดอ่อน :อยากกินหวาน ไม่ออกกำลังกาย กินตามใจปาก ,ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ ไม่ค่อยออกกำลังกาย และมีภาวะอ้วน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้, ตามใจปาก ไม่ออกกำลังกาย, ไม่ออกกำลังกาย ไปทำงานแล้วคิดว่าเป็นการออกกำลังกาย, กินแล้วนอน ออกกำลังกายไม่ได้
โอกาส :ให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, มีรางวัลจูงใจ ถ้าได้สีเขียวติดต่อกัน, การถ่ายทอดจากผู้ป่วยสู่ผู้ป่วยมีเครื่องเจาะ FBS ในบ้าน, ปรับผู้ป่วยเบาหวาน, เชิญผู้ป่วยเบาหวานมาร่วมวงกินข้าวด้วยกันเดือนละครั้งตามการมาเจาะเลือด
อุปสรรค : ควบคุมตัวเองไม่ได้ เหนื่อยแล้วต้องกิน, ไม่ออกกำลังกาย ควบคุมตัวเองไม่ได้, กินยาสมุนไพร ไม่กินยา โรงพยาบาล,ควบคุมไม่ได้ ไม่ออกกำลังกาย, ผู้ป่วยมีข้อโต้แย้ง ไม่ให้ความร่วมมือ, ผู้ป่วยมีความรู้ดี แต่ทำไม่ได้, รำคาญ อสม จู้จี้จุกจิก,มีเงินซื้อกินเอง, บอกไม่ฟัง
ผลของการให้โภชนบำบัดรายบุคคล พบว่า หลังการดำเนินงาน อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าน้อยกว่า 125mg/dLร้อยละ 21.21 ระดับน้ำตาลในเลือด 126 – 154 mg/dl ร้อยละ 30.30 ระดับน้ำตาลในเลือด155 – 182 mg/dlร้อยละ 30.30 ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่ามากกว่า 183 mg/dLร้อยละ 18.18 ส่วนค่าระดับ HbA1Cก่อนการเข้าร่วมโครงการผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มีค่า HbA1Cมากกว่า 7 mg% ร้อยละ 78.78 ส่วนผลหลังเข้าร่วม ประเมิน ณ 9 สิงหาคม 2559 พบว่า ค่าHbA1C มากกว่า 7 mg% ร้อยละ 78.78 ซึ่งมีค่า ก่อนหลังเท่ากัน ไม่เปลี่ยนแปลง |
|
ข้อเสนอแนะ : |
1.ค่าHbA1C มากกว่า 7 mg% ก่อนและหลังดำเนินการ ไม่เปลี่ยนแปลง พบว่า เกิดจากควบคุมตัวเองไม่ได้ เหนื่อยแล้วต้องกิน, ไม่ออกกำลังกาย , กินยาสมุนไพร ไม่กินยา โรงพยาบาล,ไม่ให้ความร่วมมือ, รำคาญ อสม จู้จี้จุกจิกควรกระตุ้นการประเมินปัญหาตนเองและครอบครัว เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม ดึงศักยภาพในตนเองออกมาแก้ปัญหาของตนเองให้มีคุณภาพมากขึ้น
2.กลุ่มวัยทำงาน เป็นกลุ่มที่มีความวิตกกังวลที่ยุ่งยากและซับซ้อนหลายด้าน ควรสนับสนุนการรวมกลุ่ม หรือชมรม ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการเพิ่มคุณค่าด้านรายได้ เพื่อสนับสนุนการมีสุขภาพดี
3.เขตชุมชนเมืองกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา อยู่ในเขตชุมชนตลาดมีความรู้ภาพรวมอยู่ในระดับดี แต่ขาดการนำไปปฏิบัติใช้ อุปสรรคพบจาก การเข้าถึงร้านสะดวกซื้อ อาหารที่หลากหลายมากกว่าเขตชนบท การประกอบอาชีพ จึงควรเพิ่มการกระตุ้นเตือน การสร้างกระแสในชุมชน ความร่วมมือจากภาคเครือข่าย และปรับนาฬิกาชีวิต ควรให้คำปรึกษารายบุคคลในการนำความรู้ไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|
|