ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การติดตามการให้บริการคลินิกโรคเรื้อรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ในสุขศาลา
ผู้แต่ง : รุ่งฤดี ภูผานิล,อมรรัตน์ พุฒป่า ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : จากผลการดำเนินงานคลินิกโรคเรื้อรังเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านภูฮัง ตำบลดงมูล อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่ายังมีผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่ได้เข้าในระบบบริการ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น พิการไม่สามารถมารับบริการได้ ระยะทางไกลไม่มีพาหนะ ไม่มีบุตรหลานพามา ลืมวันนัดรับบริการ กองทุนสุขภาพตำบลดงมูล อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้บริการคลินิกโรคเรื้อรังเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาในระบบบริการ ร้อยละ ๙๐ เพื่อใช้เป็นกรอบชี้ทิศทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการอย่างบูรณาการ เป็นเอกภาพด้วยการรวมพลังขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน และลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านภูฮัง ตำบลดงมูล อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้จัดให้มีบริการคลินิกโรคเรื้อรังเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เปลี่ยนจากในสถานบริการไปเป็นให้บริการในสุขศาลา เป็นการดำเนินงานเชิงรุกในชุมชน  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ได้พัฒนาศักยภาพ สนับสนุนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน และกลุ่มผู้ป่วยได้รับบริการในระบบบริการอย่างครอบคลุม  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านภูฮัง ตำบลดงมูล อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๑๒๑ คน  
เครื่องมือ : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยจัดให้มีการให้บริการคลินิกโรคเรื้อรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ในสุขศาลา  
ขั้นตอนการดำเนินการ : มีกิจกรรมให้บริการคลินิกโรคเรื้อรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ดังนี้ ๑. แจกบัตรคิว ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว อสม. ๒. ค้นแฟ้มประวัติ วัคความดันโลหิต อสม. ๓. เจาะตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว อสม. ๔. ให้ Health Education/ กิจกรรมกลุ่ม/ อื่นๆ บุคลากรสาธารณสุข ๕. แช่เท้าผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยสมุนไพร บุคลากรแพทย์แผนไทย ๖. ตรวจ และสั่งจ่ายยาตามแผนการรักษาของแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ(เวชปฏิบัติทั่วไป)  
     
ผลการศึกษา : จากที่ได้ดำเนินการให้บริการคลินิกโรคเรื้อรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ในสุขศาลาอย่างต่อเนื่อง พบว่า ๖.๑ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความพึงพอใจในการรับบริการคลินิกโรคเรื้อรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ในสุขศาลา ร้อยละ ๙๘ ๖.๒ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีความพิการได้รับการรักษาอย่างครอบคลุม Home Health Care ๖.๓ ปัญหาการลืมวันนัดรับบริการโดยเฉลี่ยลดลง จากร้อยละ ๑๑ เป็นร้อยละ ๔ ๖.๔ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) มีความมั่นใจ มีทักษะในการปฏิบัติงานมากขึ้น ๖.๕ อัตราส่วนการรับบริการคลินิกโรคเรื้อรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลหนองกุงศรีต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านภูฮังเพิ่มขึ้น จากเดิมร้อยละ ๔๕ : ๕๕ มาเป็นร้อยละ ๕๐ : ๕๐ (ผู้ป่วยที่ความคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตได้ดี ขออนุญาตแพทย์มารับยาที่ รพ.สต. เนื่องจากสะดวก รวดเร็ว)  
ข้อเสนอแนะ : การจัดบริการช่วงแรกๆ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ยังขาดความมั่นใจในการให้บริการ ควรเสริมสร้างความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง