ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การเสริมสร้างศักยภาพแกนนำครัวเรือนในการควบคุม และป้องกันโรคอุจจาระร่วง
ผู้แต่ง : กัลยา ภูห้องเพชร และคณะเจ้าหน้าที่ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : จากข้อมูลสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (3 ปีย้อนหลัง) พบว่าประชาชนในเขตรับผิดชอบป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเป็นอันดับแรก โดยพบผู้ป่วยในช่วงเวลาการป่วยปกติดังนี้ ปี พ.ศ.2555 จำนวน 57 ราย คิดเป็นร้อยละ 2,926.08/แสนประชากรปี ปี พ.ศ.2556 จำนวน 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 1,950.72/แสนประชากรปี ปี พ.ศ.2557 จำนวน 50ราย คิดเป็นร้อยละ 2,572.02/แสน ปชก. ปี พ.ศ. จะเห็นว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น รพ.สต.คำไฮ จึงได้หามาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคอุจารระร่วงขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมความรู้นำไปสู่การปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคของประชาชนอย่างจริงจัง และการสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคระหว่างชุมชนและสถานบริการ โดยปรับเปลี่ยนกลวิธีการให้ความรู้ โดยการอบรมพัฒนาให้มีแกนนำครัวเรือน ร้านค้า และโรงเรียนตัวอย่างในชุมชนและส่งเสริมให้มีกระบวนการถ่ายทอดความรู้ในชุมชนเอง ควบคู่กับการดำเนินงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และความร่วมมือของชุมชนนำไปสู่การปฏิบัติที่มีความยั่งยืนต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบประเมินความรู้ และพฤติกรรม ในการควบคุม และป้องกันโรคอุจจาระร่วง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำไฮ ตำบลหนองกุงศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก แหล่งน้ำดื่ม การมีคอกสัตว์ในบริเวณบ้าน แหล่งน้ำเสีย การจัดครัวเรือน การเจ็บป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในรอบปีที่ผ่านมา รวม จำนวน 10 ข้อ ส่วนที่ 2 แบบประเมินความรู้เรื่องโรคอุจจาระร่วง ส่วนที่ 3 แบบประเมินพฤติกรรมอนามัยพื้นฐาน  
วัตถุประสงค์ : ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาพโดยชุมชน ในการรับรู้ปัญหา และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ให้สอดคล้องกับบริบทชุมชน  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากร ได้แก่ แกนนำสุขภาพประจำครัวเรือน บ้านคำไฮ หมู่ 8 , 11 ครัวเรือนละ 1 คน จำนวน 206 คน  
เครื่องมือ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory Action Research ) ในการพัฒนาเครือข่ายในการ เฝ้าระวัง และควบคุมโรคอุจจาระร่วง บ้านคำไฮ หมู่ 8 , 11 ตำบลหนองกุงศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบประเมินความรู้ และพฤติกรรม ในการควบคุม และป้องกันโรคอุจจาระร่วง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำไฮ ตำบลหนองกุงศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก แหล่งน้ำดื่ม การมีคอกสัตว์ในบริเวณบ้าน แหล่งน้ำเสีย การจัดครัวเรือน การเจ็บป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในรอบปีที่ผ่านมา รวม จำนวน 10 ข้อ ส่วนที่ 2 แบบประเมินความรู้เรื่องโรคอุจจาระร่วง ส่วนที่ 3 แบบประเมินพฤติกรรมอนามัยพื้นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล นำแบบสอบถามที่ได้รับการเก็บรวบรวม ตรวจสอบความสมบูรณ์และความถูกต้องแล้ว นำมาลงรหัสและบันทึกในคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for windows ใช้สถิติพรรณนา และค่าร้อยละ ในการอธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงาน แก่ ผู้นำชุมชน,อสม.,อบต. ,กลุ่มแม่บ้าน,ร้านค้า/แผงลอยจำหน่ายอาหาร,ผู้แทนสถานศึกษา 2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และจัดทำเกณฑ์ชี้วัดครัวเรือนตัวอย่าง 3. ชุมชนแบ่งกลุ่มครัวเรือน กลุ่มละ 10 หลังคาเรือน ตามหลังคาเรือนที่รับผิดชอบของ อสม. 1. ประเมินความรู้ พฤติกรรมสุขภาพก่อนดำเนินโครงการ ประชาชนพื้นที่เป้าหมายทุกครัวเรือน 2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การควบคุมและป้องกันโรคอุจจาระร่วง หลักสูตร 1 วัน แก่ตัวแทนครัวเรือน ,อสม., ผู้แทนสถานศึกษา (อสม.น้อย) , ร้านค้า/แผงลอยจำหน่ายอาหาร รวม 150 คน 3. ประเมินความรู้ผู้เข้าอบรม ( ก่อนและหลังการอบรม ) 4. จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังโรคระหว่างสถานบริการและชุมชน 5. ครัวเรือนตัวอย่าง โรงเรียน และร้านค้า/แผงลอย จำหน่ายอาหารในหมู่บ้าน ดำเนินการปรับปรุงสภาพให้ถูกหลักสุขาภิบาล และตรวจติดตาม ให้คำแนะนำร้านค้า แผงลอยโดย จนท.ร่วมกับ อสม.ในชุมชน 1. คณะกรรมการฯ ออกประเมินผลการดำเนินการ ของครัวเรือนตัวอย่างตามเกณฑ์ ภายใน 2 เดือนหลังการอบรม 2.ประเมินความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพหลังดำเนินโครงการ ประชาชนพื้นที่ เป้าหมายทุกครัวเรือน 1. สรุปผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่ายในการเฝ้าระวัง และควบคุมโรคอุจจาระร่วง บ้านคำไฮ ตำบลหนองกุงศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอุจจาระร่วง และ ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาพโดยชุมชนในการรับรู้ปัญหา และช่วยกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการสื่อสาร รณรงค์ เพื่อการป้องกัน และควบคุมโรคอุจจาระร่วง ได้อย่างมีคุณภาพ ทำการศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม 2557 – กันยายน 2558 กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครอบครัวๆละ 1 คน จำนวน 206 คน ผู้ศึกษามีการพัฒนาเครื่องมือ และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ความรู้ และ พฤติกรรมในการป้องกัน และควบคุมโรคอุจจาระร่วง ก่อน และหลังการจัดกระบวนการมีส่วนร่วม จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการจัดกระบวนการการมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ และมีพฤติกรรม การปฏิบัติตัวในการควบคุมป้องกันโรคอุจจาระร่วงเพิ่มขึ้น และ อัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงลดลงในปี 2558 เหลือ 37 ราย คิดเป็น 1,877.22 / แสนประชากร และมีข้อตกลงร่วมกันของชุมชนในการควบคุมโรคอุจจาระร่วง โดยทุกหลังคาเรือน จะต้องปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และครัวเรือนตนเอง เดือนละ 2 ครั้ง , แกนนำสุขภาพประจำครัวเรือนออกทำการประเมินครัวเรือน เดือนละ 1 ครั้ง ผลจากการดำเนินงานครั้งนี้ทำให้บ้านคำไฮ ผ่าน เกณฑ์ปัจจัยพื้นฐานด้านสุขภาพดีแบบพอเพียง ผลลัพธ์ 4.อัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงลดลงในปีงบประมาณ 2558 (ต.ค.2557 – ก.ย.2558) เหลือร้อยละ 1,877.22 ต่อแสนประชากร โรค ปีงบฯ 2556 ปีงบฯ 2557 ปีงบฯ 2558 จำนวนผู้ป่วย (ราย) ร้อยละ/แสน ปชก จำนวนผู้ป่วย (ราย) ร้อยละ/แสน ปชก จำนวนผู้ป่วย (ราย) ร้อยละ/แสน ปชก โรคอุจจาระร่วง 38 1,950.72 50 2,572.02 37 1,877.22  
ข้อเสนอแนะ : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน เป็นงานที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก การให้สุขศึกษาจะต้องคำนึงถึงปัจจัย ด้านวิถีชีวิตของชุมชน เป็นหลัก  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)