ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ครอบครัว Fantastic 4
ผู้แต่ง : อังศณา ปัจฉิมา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ /เล่าเรื่อง ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ครอบครัว Fantastic 4 บ้านปูนชั้นเดียวหลังเล็กๆ มี 2 ห้อง หลังคาบ้านมุงด้วยสังกะสีเก่าๆ ผนังบ้านปิดด้วยสังกะสีบางแผ่นขาดบางแผ่นรั่ว กันฝนแทบไม่ได้ ด้านหลังต่อเพิงเป็นห้องครัว ข้าวของเต็มบ้านวางแน่นอัดกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบในบ้าน ข้างหลังบ้านมีตะแคร่ไม้ไผ่ไต้ต้นกระท้อนที่คอยให้ร่มเงาตลอดวัน มีพี่น้องตาบอด 3 คน ( บุญถัน ,สมบูรณ์ , กรุงศรี ) นั่งอยู่ในบริเวณหลังบ้าน พี่สมบูรณ์ที่ตาบอดกำลังเดินคลำทางมาก่อเตาหุงข้าวทำกับข้าวกินเอง มือคลำหาอุปกรณ์ในการหุงข้าว “ งมๆๆซาว ๆๆ “ หาหม้ออยู่ มองดูแล้วน่าสงสารอย่างจับใจ สามีพี่สมบูรณ์ ที่ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงและโรคเก๊าต์ หัวหน้าครอบครัวต้องออกไปทำงานรับจ้างมาดูแล 3 คนที่ตาบอดไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ บางวันอาการของโรคเก๊าต์กำเริบก็ออกไปรับจ้างไม่ได้ มีอาการปวดและเท้าบวมมาก จนต้องอาศัยเพื่อนบ้านที่มีความเมตตามาส่งที่รพ.สต.เพื่อรับการรักษาบางวันที่ไม่มีคนพามาก็ต้องทนกับอาการเจ็บปวดเพียงลำพังเพราะคนในบ้านก็ไม่มีใครสามารถดูแลและพามารักษาได้ และ มีเพียงเบี้ยเลี้ยงชีพ เดือนละ 800 บาท ที่ไม่พอกับปากท้องรวม 4 ชีวิต “ คุณหมอค่ะ ครอบครัวพี่ลำบาก บ้านก็รั่ว ข้าวไม่มีพอจะกิน อดมื้อกินมื้อ ลำบากเหลือเกิน “ คำพูดของพี่สมบูรณ์ ที่พูดเล่าเรื่องราวชีวิตให้เราฟัง เมื่อเราออกไปเยี่ยมบ้าน กับ อสม. ทำให้เราฟังแล้วรู้สึกหดหู่ในชีวิต แล้วเราในฐานะหมอครอบครัวจะทำอย่างไรดี คิดอยู่พักใหญ่ เรามีทีมหมอครอบครัวของอำเภอหนองกุงศรี ให้พี่ๆๆช่วยเราแก้ไขปัญหาน่าจะได้ ลำพังเราคงไม่สามารถทำได้แน่ ก็เลยปรึกษาทีม ในอีก 1 สัปดาห์ต่อมาทีมหมอครอบครัวได้ออกมาเยี่ยมบ้าน บ้านที่รั่วเพราะเป็นเวลาหน้าฝน ทำให้ลำบากมากขึ้น เราทุกคนในทีม จึงปรึกษาหาทางช่วยเหลือทำอย่างไร ถึงจะได้ “ หลังคาใหม่ ในชายคาเดิม “ ดิฉันได้มีโอกาสไปนำเสนอ Case ในที่ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือน กรกฎาคม 58 ในที่ว่าการอำเภอหนองกุงศรี สิ่งที่ได้ในการเล่าเรื่องให้ฟังในครั้งนี้ ได้ที่เตียงนอนพร้อมอุปกรณ์จากโรงพยาบาลหนองกุงศรี 2 ชุด เตียงไม้สักอย่างดีจากกำนันตำบลหนองกุงศรี โดยมีพี่ศิริมา โคตรตาแสง ประสานงาน โอกาสทองมาอีกครั้งหนึ่ง ในที่ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือน สิงหาคม 58 ในที่ว่าการอำเภอหนองกุงศรี ครั้งนี้ได้พาคนไข้ทั้ง 4 คนไปปรากฏตัวที่ห้องประชุม โดยมีผู้ว่าราชการร่วมรับฟัง คราวนี้ได้เงินค่ะ ท่านผู้ว่าฯมอบให้ 3,000 บาท กองทุนช่วยเหลือผู้พิการ ให้ต่อเติมหลังคาบ้าน 37,000 บาท รวม 40,000 บาทถ้วน ในการต่อเติมบ้านให้พี่ๆๆตาบอดทั้ง 3 คน บ้านได้รับการปรับปรุงต่อเติมภายใน1 อาทิตย์ โดยพลังของชุมชน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 15 อสม. และชุมชน รวม แรงกายและแรงใจ มีการปรับปรุงรื้อหลังคาที่รั่วสังกะสีเก่าๆ ออก ทำหลังคาใหม่ นี้แหละบ้านใหม่ในโลกในเดิม ในการปรากฏกายที่หอประชุมอำเภอครั้งนั้น ครอบครัวของพี่สมบูรณ์ได้รับการช่วยเหลือทั้งทางด้านอาหาร ข้าวสารอาหารแห้ง สิ่งอุปโภคบริโภคทั้งจากที่ว่าการอำเภอ จากสภากาชาดไทย ได้รับสิ่งของมาบรรเทาทุกข์ ทั้งทางกายและจิตใจ มีหลากหลายผู้คนหยิบยื่นน้ำใจมาช่วยเหลือ เห็นพี่ๆ 4 คน ยิ้มรับด้วยรอยน้ำตา แต่เป็นรอยน้ำตาจากความยินดี มือสองข้างที่โอบกอดเราพร้อมกับน้ำตา พร้อมกับคำขอบคุณ พูดเป็น หลายสิบครั้ง มันทำให้เราตื้นตันใจ มอง 4 พี่น้องเดินคลำสำรวจบ้านใหม่ ตามองไม่เห็น แต่มือคลำที่นอนหมอนมุ้งใหม่ เตียงนอนใหม่ เพื่อสร้างความคุ้นเคย มองภาพเหล่านั้นแล้ว รู้สึกภาคภูมิใจใน วิชาชีพของเรายิ่งขึ้น มีกำลังใจในการทำงาน จากที่พยายาม อยู่หลายเดือน เห็นรอยยิ้มของครอบครัว 4 คน ที่ยิ้มแบบมีความสุข ถึงแม้เราจะช่วยได้บ้างบางส่วน แม้ในมากนัก แต่เราก็ทำดีที่สุดแล้ว ทำให้เราเข้าใจ นี้คือบทบาทหน้าที่ของพยาบาลชุมชน อย่างแท้จริง และที่สำคัญมันทำให้เราเข้าใจชีวิต การทำงานต้องมีการประสานงานหลายส่วนทั้งในองค์และนอกองค์กร และที่สำคัญ “ สังคมไทย ไม่เคยทอดทิ้งกัน น้ำใจคนไทยยังมีให้กันเสมอ “ อังศณา ปัจฉิมา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.บ้านหนองชุมแสง /เล่าเรื่อง  
วัตถุประสงค์ :  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ :  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)