ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : “บวกเลข บอกโรค”ประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานในเวลา 12 ปี Thai Diabetic Risk Score
ผู้แต่ง : จุฑารัตน์ อัศวภูมิ และคณะ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน และในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต และพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพภาคอุตสาหกรรม และการบริการ ดังนั้น การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนครอบคลุม กลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขของประเทศ นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรค เพื่อให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก ๓ อ. ๒ ส. ๑ ฟ. เป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน หลังการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเพื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้จัดทำนวัตกรรมการตรวจคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรค metabolic เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดความต่อเนื่อง มีความตระหนักถึงการเสาะแสวงหา “วิธีที่จะดูแลตนเองไม่ให้เกิดโรคเบาหวาน” นวัตกรรมใช้ได้ เข้าใจง่าย และสามารถทำนายการเกิดโรคได้ตามมาตรฐาน  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงโรค metabolic มีความตระหนักถึงการเสาะแสวงหา “วิธีที่จะดูแลตนเองไม่ให้เกิดโรคเบาหวาน”  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเสี่ยงโรค metabolic  
เครื่องมือ : แบบประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานในเวลา 12 ปี {Thai Diabetic Risk Score}  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ตอบคะแนนตามกรอบ 6 ข้อ แล้วรวมคะแนน 2. แปลผลจากคะแนนที่ได้ 3. ส่งต่อคลินิก DPAC เพื่อสมัครใจ เลือก/เรียนรู้ เรื่องการดูแลตนเองปรับในชีวิตประจำวัน 4. การติดตามประเมินผล โดยการชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และการเรียนรู้ในการดูแลตนเองที่บ้านเป็นรายบุคคล  
     
ผลการศึกษา : 1. ประชาชนมีความรู้ในการคาดคะเน การเกิดโรคเบาหวานได้ 2. ประชาชนตระหนัก และได้รับการติดตาม ในการดูแลสุขภาพตนเอง 3. สามารถปรับกิจวัตรประจำวันตนเองได้เหมาะสม  
ข้อเสนอแนะ : นวัตกรรมนี้พัฒนาขึ้น เพื่อการตระหนักถึงการดูแลตนเอง โดยการหาปัญหาและแนวทางการแก้ไข โดยการตัดสินใจของผู้รับบริการ ควรมีการปรับใช้  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง