ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการจัดทำข้อมูลผู้ป่วยใน เบิกได้
ผู้แต่ง : นางสาวพิกุล ชื่นวัฒนา ตำแหน่งพาบาลวิชาชีพชำนาญการ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันโรงพยาบาลในสังกัดของรัฐบาลทุกโรงและโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะต้องดำเนินการจัดทำข้อมูลผู้ป่วยในสิทธิ์ เบิกได้ ผ่านระบบ คอมพิวเตอร์ ส่งเข้าระบบ e-claim เพื่อขอรับเงินจัดสรรชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ตามระบบ DRGs (เป็นการคิดค่าน้ำหนักสัมพัทธ์รายโรคกับวันนอน (RW) เทียบเป็นเงินแล้วจ่ายตามนั้น) โดยกรมบัญชีกลางจะจัดสรรเงินชดเชยดังกล่าวมาให้ตามผลการดำเนินงานที่เราได้จัดทำข้อมูลส่งไป ผ่านระบบ e-claim เข้าเป็นเงินงบประมาณของโรงพยาบาล จากที่ผ่านมาในปีงบประมาณ 2558 ยอดการจัดสรรเงินชดเชยคนไข้เบิกได้ ในระบบ DRGs ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลในระดับเดียวกัน ทั้งยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพการจัดส่งข้อมูลยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควรอีกด้วย เนื่องจากว่าถ้าเราสามารถพัฒนาระบบการจัดทำข้อมูลผู้ป่วยในเบิกได้ ให้ได้มาตรฐาน แล้วจะทำให้โรงพยาบาลได้รับเงินงบประมาณจากส่วนนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบการจัดทำข้อมูลผู้ป่วยใน  
วัตถุประสงค์ : - เพื่อพัฒนาคุณภาพระบบการจัดทำข้อมูลผู้ป่วยใน จ่ายตรง สิทธิ์ข้าราชการ  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ : 1. รายงานการตอบรับการส่งข้อมูลเบิกทันเวลาจาก ระบบ e-claim 2. รายงานสรุปยอดการส่งข้อมูลเบิกครบ จาก e-claim (STEMENT) 3. ผลการดำเนินงานเทียบกับ โรงพยาบาลในระดับเดียวกันภายในจังหวัด  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประสานงานกับทีมที่เกี่ยวข้องได้แก่หัวหน้างานผู้ป่วยใน , องค์กรแพทย์, คณะกรรมการ เวชระเบียน 2. มีระบบตรวจสอบข้อมูลจำนวนผู้ป่วยใน เทียบกับจำนวนข้อมูลที่ส่ง ใน 43 แฟ้ม 3. กำหนดระบบ Flow ของ Chart หลังจำหน่ายผู้ป่วย -ประสานงานติดตามและเช็คยอดแฟ้มเวชระเบียนที่จำหน่ายทุกสัปดาห์ (จันทร์,ศุกร์) กับงานผู้ป่วยใน -ประสานงานติดตามและเช็คยอดแฟ้มเวชระเบียนที่แพทย์สรุปทุกสัปดาห์กับงาน ผู้ป่วยใน - กำหนดมาตรฐานให้แพทย์สรุปเวชระเบียนผู้ป่วยหลังจำหน่ายให้แล้วเสร็จไม่เกิน7 วัน -ลงทะเบียนรับแฟ้มเวชระเบียนในสมุดรับแฟ้มเวชระเบียน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง