ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่บ้าน ในระยะแรกของพยาบาลชุมชน
ผู้แต่ง : จุฑารัตน์ อัศวภูมิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : บทความ : การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่บ้าน ในระยะแรกของพยาบาลชุมชน โดย พว.จุฑารัตน์ อัศวภูมิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว เมื่อพบผู้ป่วยครั้งแรก การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน มักพบจากการรายงานตามระบบหมอครอบครัว การประชุมประจำเดือนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จากญาติผู้ป่วยและจากความบังเอิญจากการรับบริการประจำวัน ตามลำดับ และทุกครั้งที่รับบริการมักพบสิหน้าวิตกกังวลของผู้รายงาน และมักจะได้รับคำคะยั้นคะยอให้ไปเยี่ยมด่วนที่สุด เตรียมตัวก่อนออกครั้งแรกหลังรับรายงาน เตรียมเอกสาร มีความสำคัญในการจดบันทึกโดยใช้เอกสารการเยี่ยมบ้านที่ออกแบบบริการใช้ร่วมกับ คปสอ.หนองกุงศรี “กระชับ เข้าใจง่าย จดบันทึกชัดเจน” เตรียมความรู้ จากการให้ประวัติเบื้องต้น ของผู้รายงาน หรือญาติผู้ป่วย เพื่อทบทวนความรู้ รับการตอบคำจากญาติผู้ดูแล จะทำให้พบว่ามั่นใจ และท้าทายเสมอ จนคุณรู้สึกว่าเข้าสู่ “smart nurse community” เตรียมจิตใจ ในภาวะความเจ็บปวดของผู้ป่วย ความวิตกกังวลเรื่องการดูแล ค่าใช้จ่ายที่สูงจากการใช้ยาตามโฆษณาหรือจากคำแนะนำที่เล่าต่อๆกันมาเพื่อให้หายจากโรค พยาบาลชุมชนในบทบาทการแสดงความรู้สึก/สีหน้าในช่วงภาวะของจิตใจผู้ป่วยและญาติ ต้องทำด้วย “ความนิ่มนวล เห็นใจ ไม่ถือเป็นภาระ” เพราะในช่วงหนึ่งสัปดาห์แรกของการดูแล หลายๆครั้งที่ต้องทำงานไม่ต้องมองนาฬิกา ผู้ป่วยและญาติจะสามารถปรับตัวเข้ากับโรคได้เร็ว การยอมรับและความมั่นใจในการดูแลมีสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน เตรียมทีม มักพบทุกราย การติดต่อทีมสหวิชาชีพมีความสำคัญมาก ในดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพราะการใช้ยาบางตัว การใช้ออกซิเจนที่บ้าน ความสามารถของบุคลากรในทีมสามารถสอนญาติและ สามารถติดต่อด้วย “ระบบไลน์ ประหยัด ไวกว่า” การบำบัดเสริมแบบหมอพื้นบ้าน เมื่อญาติเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เขามักทำด้วยความเต็มใจ และตั้งใจเริ่มแสวงหาหนทางสู่ความสุขสบายทางกาย ทางใจของบุคคลอันเป็นที่รัก การบำบัดเสริมแบบหมอพื้นบ้านจึงเริ่มได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การบำบัดเสริมนี้มีตั้งแต่การใช้ยา เช่น บำบัดโดยการพอกยาสมุนไพร การเป่าบรรเทาความเจ็บปวด การนิมนต์พระมาเทศน์ที่บ้านตามความต้องการของผู้ป่วย ก็ถูกนำมาประยุกต์ใช้ การรักษาและเทคนิคพื้นฐานต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับชาวบ้าน เกิดการสร้างคุณค่าของ “สิ่งเดิมๆ ที่ไม่เคยจางหาย จากความรักและห่วงใยอันอบอุ่นของคนในชุมชน” เชิงตะกอนผ่อนคลาย เมื่อถึงจุดสุดๆแห่งความเจ็บปวดของผู้ป่วย เมื่อถึงจุดสุดๆแห่งการดูแลของญาติและคนในชุมชน เมื่อทุกคนทำเต็มที่แล้ว ในวาระสุดท้าย พยาบาลชุมชนมักเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมไว้อาลัย เป็นการแสดงออกถึงการให้เกียรติในบทบาทการทำหน้าที่ ทุกคนมักพูดเป็นเสียงเดียวกัน “เขาไปดีแล้ว ไม่ทรมานแล้ว” เราทำดีที่สุดแล้ว” พร้อมกับหายใจลึกๆ สีหน้ามุ่งมั่น น้ำตาคลอเบ้าและพร้อมต่อสู้ชีวิตต่อไป “กว่าจะปิดแต่ละ case เรารู้ว่าคุณเหนื่อยนะ ......แต่หลังจากรับคำขอบคุณจากญาติ ไม่รู้...พลัง..คุณมาจากไหน”  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและญาติได้รับการดูแล  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชน  
เครื่องมือ : แนวทางผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.เตรียมเอกสาร 2.เตรียมความรู้ 3.เตรียมจิตใจ 4.เตรียมทีม 5.การบำบัดเสริมแบบหมอพื้นบ้าน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)