ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : Clinical tracer highlight: การดูแลผู้ป่วยตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage)
ผู้แต่ง : อุดมพร เหมือยไธสง ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : มารดาตกเลือดหลังคลอด เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรกในงานอนามัยแม่และเด็กของประเทศไทย โรงพยาบาลหนองกุงศรียังไม่พบมารดาตาย แต่การตกเลือดหลังคลอดก็ยังเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมาก มีอัตราการเกิดดังนี้ ปี พ.ศ.2556 จำนวน 5 ราย คิดเป็น 1.43% , พ.ศ.2557 จำนวน 6 ราย คิดเป็น 1.82% และพ.ศ.2558 จำนวน 4 ราย คิดเป็น 1.71% จากการทบทวนในปีพ.ศ.2558 พบว่าการตกเลือดมาจากสาเหตุ Uterine atony ทั้ง 4 ราย และจากการวิเคราะห์พบว่า มารดาที่ตกเลือดหลังคลอดเป็นมารดาครรภ์แรก 3 ราย รายแรกมีภาวะซีด รายที่ 2 คลอดทารกตัวโต น้ำหนักมากกว่า 3,500 กรัม รายที่ 3 เป็นมารดาวัยรุ่นมดลูกหดรัดตัวไม่ดีขณะและได้รับยาเร่งคลอดขณะรอคลอด รายที่4เป็น มารดาครรภ์หลัง มีภาวะซีด จากการทบทวนในทีมPCT เห็นว่าโอกาสพัฒนา คือ การค้นหาความเสี่ยงให้ได้ เพื่อวางแผนการป้องกันและรักษาให้เหมาะสมต่อไป และในรายที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีการดูแลที่เหมาะสม  
วัตถุประสงค์ : เพื่อลดการตกเลือดในมารดาหลังคลอด  
กลุ่มเป้าหมาย : มารดาที่มาคลอดในโรงพยาบาลหนองกุงศรี  
เครื่องมือ : แบบประเมิน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : งานANC -คัดกรองกลุ่มเสี่ยง เฝ้าติดตาม แก้ไข หรือส่งต่อสูติแพทย์และส่งข้อมูลให้ห้องคลอด -พัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ในงาน ANC ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง -จัดทำแนวทางการคัดกรองและการเฝ้าระวัง โดยพยาบาล ANC ซักประวัติ คัดกรองกลุ่มเสี่ยง ส่งมารดาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการรักษา ส่งข้อมูลมารดากลุ่มเสี่ยงให้พยาบาลห้องคลอดเพื่อวางแผนการพยาบาลต่อ งานห้องคลอด -ลงคัดกรองมารดาตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ร่วมกับงานANC -พัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง -ประเมินภาวะเสี่ยงแรกรับ เช่น มารดาครรภ์ที่ 3 ขึ้นไป มีประวัติเคยตกเลือดหลังคลอด มีภาวะซีด(Hct < 30%) เคยขูดมดลูก เคยล้วงรก ทารกในครรภ์ตัวโต -ประเมินภาวะเสี่ยงขณะรอคลอด เช่น prolong labour , Induction of labour , precipitate labour แพทย์ -ตรวจ Ultrasound ประเมินความเสี่ยงมารดา ANC ในไตรมาสที่ 1 และ 3 -ตรวจประเมินมารดากลุ่มเสี่ยง แรกรับที่ห้องคลอดทุกราย เภสัชกร จัดหายาที่ใช้ในภาวะฉุกเฉินเช่น cytotec , nalador ,methergin Lab & Blood bank เตรียมเลือดให้พร้อมในภาวะฉุกเฉิน และสามารถให้เลือดได้ภายใน30นาที ทีมสหวิชาชีพ ทบทวนเพื่อค้นหาสาเหตุและพัฒนาแนวทางการดูแลรักษา อย่างสม่ำเสมอ  
     
ผลการศึกษา : ตัวชี้วัด เป้าหมาย(ร้อยละ) 2556 2557 2558 2559 8 เดือน อัตราการตกเลือดหลังคลอด < 5 1.43 1.82 1.71 1.36 - เสียเลือด500-1,000ml 2 4 2 1 - เสียเลือดมากกว่า 1,000ml 2 2 2 1 - เสียเลือดมากว่า 2,000ml 0 0 0 0 อัตราการตายจากPPH 0 0 0 0 0 PPH Refer ให้เลือด - 2 1 2 1 PPH ช็อค - 0 0 0 0 สาเหตุ - uterine atony 4 5 4 2 - รกค้าง 0 1 0 0 - ช่องทางคลอดฉีกขาด 0 0 0 0  
ข้อเสนอแนะ : 1 พัฒนาการเครื่องมือเพื่อค้นหาและการคัดกรองหญิงตั้งครรภ์รวมทั้งการส่งต่ออย่างมีประสิทธิภาพ 3 พัฒนาแบบคัดกรองมารดาที่มีความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด 4 มีการประเมินการสูญเสียเลือดโดยมีการใช้ถุงรองเลือดเพื่อประเมินการสูญเสียเลือด  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)