ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โครการนวัตกรรม “ยุวหัถเวช” ดูแลเท้าเบาหวานสร้างสายใยคนในชุมชน
ผู้แต่ง : กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคำบง ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขได้เปลี่ยนแปลงไปอัตราการเกิดโรคติดเชื้อต่างๆลดลงแต่โรคไม่ติดเชื้อกลับเป็นสาเหตุการเจ็บป่วย พิการ และมีอัตราการตายเพิ่มขึ้น ซึ่งในจำนวนโรคไม่ติดเชื้อต่างๆพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 40 ปี หรือเป็นเบาหวานมานานกว่า 10 ปี มีอุบัติการณ์ของการเกิดแผลที่เท้าจะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ ถ้าเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีมักก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนปลาย ทำให้บริเวณเท้าชา ไม่รู้สึกเจ็บปวด ไม่รับรู้แรงกดดัน หรืออาจสูญเสียการรับรู้ร้อนหนาวได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือแม้แต่เมื่อมีแผลเกิดขึ้นที่เท้าก็จะไม่รู้สึกเจ็บ ทำให้แผลนั้นลุกลาม อีกทั้งยังคงเหลือไว้ด้วยความพิการของผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่เสื่อมโทรมมีอวัยวะต่างๆมีความเสื่อมสภาพลงได้เร็วจึงมีความสำคัญในการดูแลสุขภาพเท้าเบื้องต้นอีกด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำบง มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 226 ราย และพบว่าอุบัติการณ์ของการเกิดแผลที่เท้าเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีซึ่งบางรายถูกตัดนิ้ว และแต่ละรายต้องใช้เวลาการรักษาแผลเป็นเวลานาน เป็นการเพิ่มภาระการดูแลของรพ.สต. และจากการติดตามเยี่ยมบ้าน พบว่า ผู้ป่วยและผู้ดูแลบางส่วน ดูแลเท้าไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม และการดูแลไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องเท้า และส่วนใหญ่มักมีอาการเท้าชา ในการดำเนินงานด้านการตรวจประเมินเท้าประจำปี ของผู้ป่วย ซึ่งได้มีการให้คำแนะนำเรื่องการดูแลเท้า การฝึกปฏิบัติการนวดเท้าแล้ว พบว่าผู้ป่วย หรือผู้ดูแลเองไม่ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากข้อจำกัดหลายด้าน ซึ่งการนวดเท้าในผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอนอกจากจะช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตแล้ว ยังส่งผลให้ลดอาการเท้าชาอีกด้วย การสร้างเครือข่ายผู้ดูแลผู้ป่วยโดยส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัว “ยุวหัตถเวช”และชุมชนเข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วมจึงเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำบง จึงได้จัดทำนวัตกรรม “ยุวหัตถเวช” ดูแลเท้าเบาหวานสร้างสายใยคนในชุมชนขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยเบาหวานที่เหมาะสม และต่อเนื่อง สืบไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพเท้าของตนเอง 2. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข และ “ยุวหัตถเวช” ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุข และ “ยุวหัตถเวช” ในการให้บริการนวดฝ่าเท้าผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งในสถานบริการและในชุมชนพร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ และฝึกทักษะการนวดฝ่าเท้าผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยตนเอง ให้กับญาติและผู้ป่วย  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า จำนวน 30 คน ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำบง  
เครื่องมือ : -ตรวจคัดกรองประเมินอาการเท้าชาด้วยเครื่อง monofilament -แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการนวดฝ่าเท้า  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. รับสมัคร “ยุวหัตถเวช” เน้นลูกหลานของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและผู้สูงอายุ หรือตัวแทนเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 2. จัดอบรมการนวดเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ให้แก่ “ยุวหัตถเวช” 3. คัดกรองผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชาในระดับ Moderate 4. ดำเนินการต่อเนื่องโดย “ยุวหัตถเวช”ที่ผ่านการอบรมแล้วไปปฏิบัติภารกิจดูแลสุขภาพเท้าและนวดเท้าผู้ป่วยเบาหวานที่รับผิดชอบ 4 ครั้ง/เดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน พร้อมส่งรายงานผลการปฏิบัติงานทุก 1 เดือน 5. เจ้าหน้าที่จากรพ.สต. ออกเยี่ยมบ้านเพื่อประเมิน นิเทศติดตามการปฏิบัติงานของ “ยุวหัตถเวช”ในชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง 6. ตรวจประเมินเท้าผู้ป่วยเบาหวาน โดยเจ้าหน้าที่รพ.สต. หลังนวดเท้า 7. สรุปผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา : จากการออกให้บริการนวดฝ่าเท้าผู้ป่วยเบาหวานร่วมกับ “ยุวหัตถเวช”นั้น สรุปได้ว่า อาการมึนชาฝ่าเท้าของผู้ป่วยเบาหวานลดลง คิดเป็นร้อยละ 46.66 และจากการประเมินความพึงพอใจขอผู้รับบริการนวดฝ่าเท้า มีความพึงพอใจโดยรวมต่อนวัตกรรม “ยุวหัตถเวช”ดูแลเท้าเบาหวานสร้างสายใยคนในชุมชน คิดเป็นร้อยละ 93.33  
ข้อเสนอแนะ : นำส่วนที่ผิดพลาดมาแก้ไขในปีงบประมาณ ต่อไป ซึ่งจะขอความร่วมมือกับ อสม.เจ้าหน้าที่รพ.สต.คำบง และน้องๆ “ยุวหัตถเวช” ออกติดตามและให้บริการนวดเท้ากลุ่มผู้ป่วยร่วมกันในแต่ละครั้ง และสานต่อกิจกรรมดีๆแบบนี้ต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)