|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาคุณภาพเครือข่ายงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้ออำเภอหนองกุงศรี |
ผู้แต่ง : |
ศศินา บัวลาด |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรงพยาบาลหนองกุงศรี ได้พัฒนาคุณภาพงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ทั้งในโรงพยาบาลและเครือข่าย อำเภอเขื่องใน( PCU 1 แห่ง รพ.สต 8 แห่ง) สืบเนื่องจากการ นิเทศและประเมินผลการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและ Cup Broad พบปัญหาในงาน IC ที่สำคัญ คือเรื่องงานจ่ายกลาง ระบบการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ ที่ยังไม่ได้มาตรฐานล้างเครื่องมือข้างห้องน้ำ ใช้น้ำยาล้างจานในการล้างเครื่องมือ จำนวน 8 แห่งคิดเป็นร้อยละ 100 สิ่งแวดล้อมในรพ.สต.และยังพบหาเรื่องการจัดการขยะติดเชื้อทั้งระบบการจัดเก็บ ที่พักขยะติดเชื้อและการขนส่งยังไม่ได้มาตรฐาน บุคลากรรพ.สต. ใช้รถส่วนตัวในขนย้ายขยะติดเชื้อ ในกรณีที่ไม่มีรถของหน่วยงานและไม่มีอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย ไม่มีที่พักขยะติดเชื้อร้อยละ 100 ทิ้งขยะติดเชื้อถูกต้องร้อยละ 37.5 ด้วยเหตุนี้ระบบงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อได้เห็นความสำคัญที่จะมีผลกระทบต่อผู้มารับบริการในรพ.สต. เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อทั้งกับผู้ป่วย บุคลากรและในชุมชน จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ และระบบการบริหารจัดการขยะติดเชื้อให้ได้มาตรฐานต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในรพ.สต.
2. เพื่อพัฒนาระบบการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อในรพ.สต. ให้ได้มาตรฐาน
3. เพื่อการหมุนเวียนอุปกรณ์-เครื่องมือ ในเครือข่าย อย่างมีประสิทธิภาพ และเพียงพอต่อการใช้งาน
4. เพื่อให้การจัดการขยะติดเชื้อในรพ.สต. ได้มาตรฐาน
5. ทิ้งขยะติดเชื้อได้ถูกต้อง |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
โรงพยาบาลหนองกุงศรี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอหนองกุงศรี 9 แห่ง |
|
เครื่องมือ : |
แนวทางการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อใน รพ.สต. |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประชุมชี้แจงนโยบาย และการดำเนินงาน ในคณะกรรมการ Cup broad
2. จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อจัดวางระบบดำเนินการ( รพ. และรพ.สต)
3. สำรวจรายการครุภัณฑ์ อุปกรณ์ที่มี ทั้งหมดใน PCU เครือข่าย พัฒนาบุคลากรในเรื่องระบบการป้องกันการติดเชื้อในรพ.สต. อบรมเชิงปฏิบัติการ ที่หน่วยงานจ่ายกลางและแนวทางการทำให้ปราศจากเชื้อของอุปกรณ์ในรพ.สต. และพัฒนาบุคลากรเรื่องการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย การจัดการขยะติดเชื้อ การจัดระบบงาน IC ในรพสต.บริเวณอ่างล้างมือ ห้อง Treatment ตู้เก็บอุปกรณ์ปราศจากเชื้อให้เป็นระบบ First in First out
เสนองบประมาณในการจัดทำหน่วยจ่ายกลาให้แยกเป็นสัดส่วนให้ได้มาตรฐานมีระบบ One way และที่พักขยะติดเชื้อ สนับสนุนน้ำยาล้างเครื่องมือใช้เอ็นไซด์ และมีระบบหมุนเวียนอุปกรณ์ใช้ร่วมกัน
5. กำหนดระยะเวลาและแนวทางการปฏิบัติในการ รับ-ส่ง เครื่องมือ ประจำสัปดาห์ให้ครบทุกรพ.สต
กำหนดประเภทเครื่องมือที่นำส่งทำให้ปราศจากเชื้อที่โรงพยาบาล เช่นประเภทสายที่รพสต.ทำให้ปราศจากเชื้อไม่ได้
การกำหนดแนวทางการจัดการขยะติดเชื้อโดยให้ทุกรพสต. ทีมโรงพยาบาลที่ผ่านการอบรม ออกให้บริการทุกวันเสาร์ของทุกสัปดาห์ใช้ระบบแลกถังสีแดงเพื่อนำมาชั่งน้ำหนักที่โรงพยาบาล
7. ประเมินผลการชั่งน้ำหนักและคืนข้อมูลทุกเดือน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ตัวชี้วัด เป้าหมาย ปี 58 ปี 59
1.อัตราความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ทางการแพทย์ 100% 77.78 100
2.อัตราการพบอุปกรณ์หมดอายุในหน่วยงาน 5% 1.2 0.3
3.การทิ้งขยะติดเชื้อถูกต้อง 100% 77.78 89.33
4.การนำส่งขยะติดเชื้อถูกต้อง 100% 100 100
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สามารถจัดระบบงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ได้มาตรฐานตามบริบทของพื้นที่ มีการทำงานในลักษณะภาคีเครือข่ายที่ชัดเจนมากขึ้น บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
5.ความพึงพอใจ 80% 88.89 95.3
6.อัตราการร้องเรียน 0 0 0
7.ร้อยละปริมาณขยะติดเชื้อ 0.5% 0.51 0.3
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
- พัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อให้มีความรู้ความเข้าใจในมากขึ้น
- การพัฒนาระบบการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อให้มีระบบ Delivery การรับส่งเครื่องมือทางการแพทย์ให้ได้มาตรฐานIC
- การพัฒนาระบบการจัดการขยะติดเชื้อในรพสต.ลงสู่สุขศาลาให้ได้มาตรฐานและศึกษาปริมาณขยะติดเชื้อที่ลดลง
- ขยายระบบการจัดการขยะติดเชื้อสู่คลินิกแพทย์ สถานพยาบาล และคลินิกรักษาสัตว์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบอำเภอหนองกุงศรี
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|