|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ความพึงพอใจของผู้มารับบริการสถานีอนามัยหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ปุณณดา ภูพันนา |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ในภาวะปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงความก้าวหน้าในการรักษาสุขภาพของประชาชน คนเราทุกคนย่อมต้องการมีสุขภาพอนามัยที่ดีเพื่อดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสุข การที่คนเราจะมีสุขภาพอนามัยที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วยสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพกายดีและสมบูรณ์นั้น จะต้องประกอบไปด้วยอวัยวะส่วนต่างๆ แข็งแรงสมบูรณ์และทำงานเป็นปกติ มีประสิทธิภาพในการทำงาน รวมทั้งปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดีจะมีสภาพอารมณ์จิตแจ่มใส สามารถปรับตัวและควบคุมอารมณ์ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข คนเราทุกคนสามารถที่จะดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองอย่างง่ายๆ เพื่อให้มีสุขภาพอนามัยดีได้โดยการปฏิบัติตนให้เกิดสุขนิสัยเป็นประจำอยู่เสมอ
เมื่อยังมีประชากรส่วนใหญ่มีสุขภาพอนามัยที่ไม่ดีเกิดการเจ็บป่วยขึ้น จำเป็นต้องมารับบริการที่สถานบริการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน สถานบริการต้องมีความพร้อมในการรักษาและสามารถให้คำแนะนำแก่ประชากรผู้มารับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการให้บริการนั้นผู้ให้บริการต้องคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้มารับบริการด้วยทุกครั้ง ความพึงพอใจในการบริการเป็นระดับความรู้สึกที่ดีของผู้ใช้บริการต่อประสบการณ์ที่ได้รับทั้งทางตรง และความคาดหวังเมื่อเข้าไปใช้บริการคุณภาพเป็นความคาดหวังหรือเป็นที่ปรารถนาของผู้ใช้บริการอีกทั้งคุณภาพบริการยังเป็นเป้าหมายของการปฏิบัติหน้าที่ของสถานบริการสุขภาพ เพื่อเป็นเครื่องรับรองว่าการบริการนั้นเป็นไปตามมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ และมีโอกาสเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด1 ความพึงพอใจของผู้รับบริการ หมายถึง ผู้รับบริการประสบความสำเร็จในการทำให้เกิดความสมดุลระหว่างสิ่งที่ผู้รับบริการวาดหวังกับสิ่งที่ได้รับจริงซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ และคุณภาพบริการ (Quality service) หมายถึง ระดับความสามารถของบริการในการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการหลังจากที่ได้รับบริการแล้ว
จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการโดยการเน้นที่ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ส่งผลต่อการบริการในสถานบริการเมื่อมีผู้มารับบริการเพิ่มมากขึ้น ผู้ให้บริการต้องมีความอดทนในการให้บริการและต้องมีการเพิ่มอัตรากำลังในการทำงานอย่างครอบคลุมตัวอย่างเช่นโรงพยาบาลประจำจังหวัดในแต่ละเขตพื้นที่ เมื่อมีผู้มารับบริการเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการส่งผู้ป่วยมารับบริการจากสถานพยาบาลอำเภอต่างๆ ทำให้มีการเพิ่มการนอนในโรงพยาบาลของ แพทย์เวร พยาบาล และเจ้าหน้าที่ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น มีผลต่อความพึงพอใจของผู้มารับบริการ การบริการทางด้านสาธารณสุขไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยจึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงระบบการให้บริการเพื่อรองรับความต้องการของประชาชนที่มารับบริการทางด้านการแพทย์ และสาธารณสุข เพราะจะส่งผลให้ผู้ที่มารับบริการได้รับการบริการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยเน้นที่ปัญหาการให้บริการเริ่มตั้งแต่การซักประวัติ ผู้ให้บริการแสดงท่าที อย่างไร มีอัธยาศัย ต่อผู้มารับบริการไปในทางที่ดีหรือไม่ ผู้ให้บริการต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้มารับบริการควรเห็นความสำคัญต่อผู้มารับบริการทุกคนเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างเรียบง่าย เนื่องจากปัจจุบันได้เกิดการร้องเรียนมากขึ้น มีแนวโน้มการใช้มาตรการทางกฎหมายเพิ่มสูงขึ้นส่งผลจึงส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้มารับบริการเสื่อมถอยลง
สถานีอนามัยหนองบัวนอกตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวทั้งหมด 5 คน แบ่งการให้บริการออกเป็น 4 ด้าน เริ่มจากการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย การให้บริการของเจ้าหน้าที่จะให้บริการรักษาพยาบาลในตอนเช้า และลงพื้นที่ในตอนบ่ายเพื่อเป็นการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นและยังส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพอย่างจริงจังโดยการทำงานเชิงรุกซึ่งส่งผลดีต่อประชาชนได้รับการให้บริการอย่างเต็มที่และทั่วถึงรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ได้มองเห็นถึงปัญหาของประชาชนอย่าแท้จริง ซึ่งในการให้บริการจะต้องมีเจ้าหน้าที่ 1 คนรักษาการที่สถานีอนามัยในการปฏิบัติงานเช่นนี้พบว่าประชาชนส่วนมาก มีสุขภาพที่ดีขึ้นแต่ยังมีบางกลุ่มเกิดปัญหาตามมา คือ ในการรักษาการที่สถานีอนามัย 1 คนนั้น การรักษาอาจจะไม่ทั่วถึงแก่ผู้มารับบริการ เช่น ปัญหาการตั้งครรภ์ในช่วงเดือน เมษายน 2555 ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้มาร้องเรียนในการให้บริการวางแผนครอบครัว และพบว่าประชาชนในพื้นที่ ไปใช้บริการในสถานบริการอื่นแทน จากการตรวจสอบผู้ป่วยนอก สถานีอนามัยอุทัยวรรณพบว่าประชาชนจากเขตพื้นที่สถานีอนามัยหนองบัวนอกมีจำนวน 15คน คิดเป็นร้อยละ 0.34 (ทะเบียนผู้ป่วยนอก ย้อนหลัง 1 เดือน สถานีอนามัยอุทัยวรรณ. 2556) ไปใช้บริการที่สถานีอนามัยอุทัยวรรณ
ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มารับบริการต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งผลจากการศึกษาจะนำไปพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้เป็นไปตามที่ผู้รับบริการคาดหวังโดยให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ และนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในแต่ละด้านและพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้ที่มีอายุ 15 – 60 ปีในเขตตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 3,275 คน (ฐานข้อมูลประชากรแยกตามกลุ่มอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว. 2556) ที่มีภูมิลำเนาในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม พ.ศ. 2556
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้ที่มีอายุ 15-60 ปี ในเขตตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ กำหนดขนาดตัวอย่างในการศึกษาโดยวิธีคำนวณจากการประมาณค่าสัดส่วนในประชากร กรณีที่ทราบจำนวนประชากร (สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. 2553 : 122)
สูตร
n = Z2α/2 NP (1-P)
Z2α/2 P (1-P) + (N-1) d2
n = ขนาดตัวอย่าง
N = จำนวนประชากรผู้ที่มีอายุ 15-60 ปี ในเขตพื้นที่ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งหมด จำนวน 3,275 คน
Z = ค่ามาตรฐานภายใต้โค้งปกติ เท่ากับ 1.96
P = ค่าสัดส่วนของจำนวนผู้ที่มารับบริการ กลุ่มอายุ 15 – 60 ปี ต่อประชากรทั้งหมดในเขตพื้นที่ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เท่ากับ 0.75
d = ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้นในการประมาณสัดส่วน เท่ากับ 0.05
แทนค่าในสูตร
n = (1.96)2(3275)(0.75) (1-0.75)
(1.96)2(0.75) (1-0.75) + (3275-1) (0.05)2
= 2358
8.90
= 264.94
= 265
ดังนั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชากรที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 265 คน จึงทำการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ได้ขนาดตัวอย่างจำแนกตามสัดส่วนรายหมู่บ้าน แล้วเก็บข้อมูลตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic sampling) รายละเอียดดังแสดงในตาราง 1
|
|
เครื่องมือ : |
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามโดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องความพึงพอใจของผู้มารับบริการเป็นกรอบการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์รวมทั้งแนวคิด ทฤษฏี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้พัฒนาเครื่องมือโดยประยุกต์จากการศึกษาของปริญญู จิตอร่าม และวทัญญู ประเสริฐเมือง (ปริญญู จิตอร่าม และวทัญญู ประเสริฐเมือง. 2553) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามด้านข้อมูลทั่วไปของผู้มารับบริการสถานีอนามัยหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สิทธิการรักษาพยาบาล มีคำถามทั้งหมด 7 ข้อ
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของผู้มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีข้อคำถามทั้งหมด 23ข้อ ข้อความมีลักษณะเป็นแบบคำถามเปิด (open-end question) โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ด้านความรู้สึกต่อกระบวนการ/ขั้นตอนบริการด้านความรู้สึกต่อพนักงานและบุคลากรด้านความรู้สึกต่อสถานที่และสิ่งแวดล้อมมีคำตอบให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็น เป็นมาตรส่วน 3 ระดับ คือ ระดับมาก ระดับปานกลาง และระดับน้อยระดับที่ 3หมายถึงระดับบริการที่พึงพอใจมากระดับที่ 2หมายถึงระดับบริการที่พึงพอใจปานกลางระดับที่ 1หมายถึงระดับบริการที่พึงพอใจน้อยและแปรผลระดับความพึงพอใจดังนี้ (สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. 2553 : 99)
คะแนนเฉลี่ย 2.34 – 3.00 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
คะแนนเฉลี่ย1.67 – 2.33 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.66 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การตรวจสอบด้านความตรงของเนื้อหา (Content Validity) โดยนำแบบสอบถามเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 3 ท่าน ตรวจสอบ แก้ไข เพื่อให้ตรงตามเนื้อหาอีกครั้ง หลังจากนั้นผู้ศึกษาได้แก้ไขปรับปรุงข้อความให้มีความเหมาะสมด้านภาษา และครอบคลุมเนื้อหาตามที่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
การทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ดำเนินการทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) โดยนำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้ (Try out) โดยนำไปทดลองใช้กับผู้ที่มีอายุ 15-60 ปี ในเขตพื้นที่ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน30 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาหาคุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Study) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลการศึกษา
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ประชากรที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 265 คน มีลักษณะทางประชากรดังนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.2อายุเฉลี่ยเท่ากับ 38.75 โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปี ร้อยละ 33.6 รองลงมาคือช่วงอายุ 15-30 ปี ร้อยละ 26.0 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 75.1 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 36.6 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 46.4 และส่วนใหญ่ใช้สิทธิประกัสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 71.3รองลงมาคือ สิทธิจ่ายตรง คิดเป็นร้อยละ 15.1 โดยพบว่าสิทธิในการรักษาพยาบาลจำนวนน้อยที่สุดคือสิทธิประกันสังคม คิดเป็นร้อยละ 13.6ราย (ตารางที่ 2)
ส่วนที่ 2ระดับความพึงพอใจของผู้มารับบริการสถานีอนามัยหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
จากการศึกษา ความพึงพอใจของผู้มารับบริการสถานีอนามัยหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ในภาพรวม พบว่าระดับความพึงพอใจของผู้มารับบริการ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47 โดยแบ่งเป็นรายด้านได้แก่ ด้านความรู้สึกต่อกระบวนการ/ขั้นตอนบริการ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย2.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 ด้านความรู้สึกต่อพนักงานและบุคลากร อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย2.67ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 และด้านความรู้สึกต่อสถานที่และสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย2.61ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 (ตารางที่ 3)
อภิปรายผลการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องความพึงพอใจของผู้มารับบริการสถานีอนามัยหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ผู้มารับบริการสถานีอนามัยหนองบัวนอกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อาจเป็นเพราะเพศหญิงเป็นเพศที่มีความสนใจต่อสุขภาพมากกว่าเพศชายซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของปริญญาจิตอร่าม และวทัญญูประเสริฐเมือง (2553) และสอดคล้องกับการศึกษาของภากรณ์น้ำว้า และศิริวิมลวันทอง (2550) ได้ศึกษาโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ยอำเภอด่านมะขามเตี้ยจังหวัดกาญจนบุรีจำแนกตามลักษณะการเจ็บป่วยเพศอายุสถานภาพสมรสระดับการศึกษารายได้สิทธิการรักษาการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกแบบมีวัตถุประสงค์จำเพาะคือเป็นผู้มารับบริการรายใหม่ในเดือนมีนาคมมีอายุ 15 ปีขึ้นไปมารับบริการในช่วงเวลา 08.00 น.-16.00 น. ในวันราชการ และสอดคล้องกับการศึกษาของพิริยาจันทาวุฒิ (2552) ได้ศึกษาเรื่องความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการของสถานีอนามัยวัดพระญาติการามอำเภอพระนครศรีอยุธยาส่วนกลุ่มอายุ 41-50 ปีมีสัดส่วนของการมารับบริการที่ห้องปฏิบัติการมากที่สุดเนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพและเกิดปัญหาเป็นโรคเรื้อรังมารับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลกระทุ่มแบน
ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนบริการความพึงพอใจของผู้มารับบริการสถานีอนามัยหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ในด้านกระบวนการ/ขั้นตอนบริการ อยู่ในระดับมากในรายละเอียดรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมาก คือ ความรวดเร็วของการให้บริการต่อผู้มารับบริการของสถานีอนามัยหนองบัวนอกได้รับบริการที่เป็นประโยชน์ซึ่งมีความพึงพอใจมาก ระยะเวลาในการค้นหาประวัติหรือแฟ้มครอบครัวมีความพึงพอใจมาก การจัดลำดับคิวการให้บริการสถานีอนามัยหนองบัวนอกมีความพึงพอใจมากระระเวลาการรอรับยาของผู้มารับบริการมีความพึงพอใจมากระยะเวลานั่งรอซักประวัติตามลำดับคิวที่หน้าโต๊ะซักประวัติมีความพึงพอใจมากสอดคล้องกับการศึกษาของพิริยาจันทาวุฒิ (2552)ได้ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการของสถานีอนามัยวัดพระญาติการามอำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากการศึกษาพบว่าด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ระดับมากด้านพนักงาน/บุคลากรพบว่าผู้มารับบริการโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ระดับมากและด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อมพบว่าผู้มารับบริการโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ระดับมากไม่สอดคล้องกับ ปริญญาจิตอร่าม และวทัญญูประเสริฐเมือง (2553) ได้ศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลกระทุ่มแบนอำเภอกระทุ่มแบนจังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมพบว่าอยู่ในระดับความพึงพอใจมากและรายด้านพบว่าด้านพนักงานและบุคลากรได้รับความพึงพอใจมากและด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการบริการพบว่าได้รับความพึงพอใจมากและด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อมได้รับความพึงพอใจระดับปานกลาง
ด้านความรู้สึกที่มีต่อพนักงานและบุคลากรในการให้บริการความพึงพอใจของผู้มารับบริการสถานีอนามัยหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ในด้านความรู้สึกที่มีต่อพนักงานและบุคลากรอยู่ในระดับมากในรายละเอียดรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากคือ การแต่งกายของเจ้าหน้าที่ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมผู้มารับบิการมีความพึงพอใจมาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถอธิบายขั้นตอนและเหตุผลในสิ่งที่ได้ปฏิบัติแก่ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมาก ห้องน้ำห้องส้วมบริการอย่างเพียงพอ มีความพึงพอใจมาก ความสว่างของอาคารสถานที่ มีความพึงพอใจมาก สถานีอนามัยตั้งอยู่ในเขตชุมชนสะดวกในการเดินทางมารับบริการมีความพึงพอใจมาก มีห้องน้ำห้องส้วมบริการอย่างเพียงพอ มีความพึงพอใจมาก สถานที่สำหรับการจอดรถมีความสะดวกและเพียงพอต่อผู้มารับบริการมีความพึงพอใจมาก มีน้ำดื่มสะอาดไว้บริการอย่างเพียงพอมีความพึงพอใจมาก และมุมให้ความรู้และความเพลิดเพลินขณะรอรับบริการ เช่น หนังสือ แผนพับสุขภาพ โทรทัศน์ มีความพึงพอใจมาก ไม่สอดคล้องกับสงบปันทวงศ์(2549)ได้ศึกษาความพึงพอใจต่อบริการแผนกผู้ป่วยนอกและเพื่อระบุปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสันป่าตองการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางผลการศึกษาพบว่ามีระดับความพึงพอใจในภาพรวมร้อยละ 83.5มีปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจคือระยะเวลาที่ใช้ในการรับบริการขั้นตอนในการรับบริการและความปลอดภัยในบริการซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ด้านสามารถอธิบายความแปรปรวนของความพึงพอใจได้ร้อยละ 27 สรุปว่าโรงพยาบาลนี้มีระดับความพึงพอใจตามมาตรฐานร้อยละ 80 อย่างไรก็ตามหากโรงพยาบาลจะปรับปรุงและพัฒนาให้มีระดับความพึงพอใจที่เพิ่มมากขึ้นก็ควรปรับปรุงบริการทั้ง 3 ด้านนี้เพื่อให้ผู้ป่วยนอกเกิดความพึงพอใจ
ด้านความรู้สึกที่มีต่อสถานที่และสิ่งแวดล้อม ความพึงพอใจของผู้มารับบริการสถานีอนามัยหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ในด้านความรู้สึกที่มีต่อสถานที่และสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมากในรายละเอียดรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมาก สถานที่ให้บริการมีอากาศถ่ายเทสะดวก มีความเพียงพอของที่นั่งสำหรับนั่งรอการรับบริการมีความพึงพอใจมาก มีห้องน้ำห้องส้วมบริการอย่างเพียงพอ ความสว่างของอาคารสถานที่มีความพึงพอใจมาก สถานีอนามัยตั้งอยู่ในเขตชุมชนสะดวกในการเดินทางมารับบริการมีความพึงพอใจมาก มีห้องน้ำห้องส้วมบริการอย่างเพียงพอ มีความพึงพอใจมาก สถานที่สำหรับการจอดรถมีความสะดวกและเพียงพอต่อผู้มารับบริการมีความพึงพอใจมากมีน้ำดื่มสะอาดไว้บริการอย่างเพียงพอมีความพึงพอใจระดับปานกลาง และมุมให้ความรู้และความเพลิดเพลินขณะรอรับบริการ เช่น หนังสือ แผนพับสุขภาพ โทรทัศน์ มีความพึงพอใจระดับปานกลางมีความสอดคล้องกับรุ่งระวีมีทองคำ (2548)ศึกษาความพึงพอใจต่อการบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสันทรายจังหวัดเชียงใหม่ผลการศึกษาพบว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการอยู่ในระดับพอใช้
สรุปผลการศึกษา
ในการศึกษาความพึงพอใจของผู้มารับบริการพบว่าระดับความพึงพอใจของผู้มารับบริการสถานีอนามัยหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ในภาพรวม มีระดับความพึงพอใจมาก ด้านกระบวนการขั้นตอนบริการอยู่ในระดับมาก ด้านความรู้สึกที่มีต่อพนักงานและบุคลากรอยู่ในระดับมาก ด้านความรู้สึกที่มีต่อสถานที่และสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก
กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาเรื่องความพึงพอใจของผู้มารับบริการสถานีอนามัยหนองบัวนอกตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีเพราะผู้ศึกษาได้รับเกียรติและการสนับสนุนด้วยความอนุเคราะห์จากผู้มีพระคุณหลายท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัติ ปานศิลา อาจารย์ที่ปรึกษาและประธานการสอบอาจารย์ ดร.จตุพร เหลืองอุบล กรรมการสอบ ที่กรุณาเสียสละเวลาอันมีค่าให้คำปรึกษาด้านวิชาการและเสนอข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ตลอดจนตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องในการศึกษาครั้งนี้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นผู้ศึกษาจึงขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ณ ที่นี้ด้วย
ขอขอบพระคุณท่านหัวหน้าสถานีอนามัยหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์และเจ้าหน้าที่ ที่ได้ช่วยเป็นที่ปรึกษาและอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
ขอขอบพระคุณดร.ลำพูน เสนาวังสาธารณสุขอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ นายอนุวัตน์ เพ็งพุฒ นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ และนายมนตรี ภูวิโครต รองผู้อำนวยการโรงเรียนหัวนาคำอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ที่ช่วยเหลือให้คำปรึกษาและช่วยตรวจสอบความตรง ความเที่ยงของเครื่องมือแบบสอบถาม และให้ข้อคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
และขอขอบคุณครอบครัวอันเป็นที่รักยิ่ง รวมทั้งเพื่อนพ้องน้องพี่ทุกคนที่เป็นกำลังใจในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ รวมทั้งขอขอบคุณทุกท่านที่มิได้กล่าวนามในที่นี้ ที่ให้การสนับสนุนและมีส่วนช่วยเหลือให้การศึกษาครั้งนี้ซึ่งทำให้การศึกษาครั้งนี้ประสบความสำเร็จได้ด้วยดีไว้ณที่นี้
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา
1. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในการมารับบริการที่สถานีอนามัยหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลในการศึกษาและพัฒนาในแต่ละด้านได้อย่างเหมาะสม
2. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการกับสถานีอนามัยอื่นเพื่อประเมินคุณภาพการบริการของสถานีอนามัย
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในการมารับบริการที่สถานีอนามัยหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลในการศึกษาและพัฒนาในแต่ละด้านได้อย่างเหมาะสม
2. ควรมีการศึกษาความต้องการของผู้รับบริการที่สถานีอนามัยหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
3. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการกับสถานีอนามัยอื่นเพื่อประเมินคุณภาพการบริการของสถานีอนามัย
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|