ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการแก้ไขปัญหาบุหรี่ในชุมชน
ผู้แต่ง : อาทิตย์ เลิศล้ำ,วุฒิศักดิ์ ภูน้ำเย็น ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจเกี่ยวกับ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรครั้งแรกในปี ๒๕๑๙ สำหรับการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ และได้ดำเนินการสำรวจมาแล้วทั้งสิ้น ๑๖ ครั้ง การสำรวจ ปี ๒๕๕๗ นี้เป็นครั้งที่ ๑๗ เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมิถุนายน โดย สุ่มเลือกผู้ตอบสัมภาษณ์ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป ที่เป็นสมาชิกใน ครัวเรือนตัวอย่างและตอบสัมภาษณ์ ด้วยตนเองครัวเรือนละ ๑ คน โดยมีจำนวนครัวเรือนตัวอย่างทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขต เทศบาลทั่วทั้งประเทศ ๒๕,๗๕๘ ครัวเรือน และมีผลการสำรวจที่ สำคัญสรุปได้ดังนี้ การสูบบุหรี่ พบว่าในจำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไปทั้งสิ้น ๕๔.๘ ล้านคน เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ ๑๑.๔ ล้านคน (ร้อยละ ๒๐.๗) โดยเป็นผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ๑๐ ล้านคน (ร้อยละ ๑๘.๒) และเป็น ผู้ที่สูบบุหรี่นานๆ ครั้ง ๑.๔ ล้านคน (ร้อยละ ๒.๕) เมื่อพิจารณาอัตราการสูบบุหรี่ตามกลุ่มวัย พบว่ากลุ่มวัยทำงาน (๒๕-๕๙ ปี) มี อัตราการสูบบุหรี่สูงสุด (ร้อยละ ๒๓.๕) รองลงมาคือกลุ่ม ผู้สูงอายุ (๖๐ ปีขึ้นไป) และกลุ่มเยาวชน (๑๕-๒๔ ปี) (ร้อยละ ๑๖.๖ และ ๑๔.๗ ตามลำดับ) อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ๑๘.๔ เท่า (ร้อยละ ๔๐.๕ และ ๒.๒ ตามลำดับ) นอกเขตเทศบาลมีอัตราการสูบบุหรี่สูงกว่าในเขตเทศบาล ๑.๓ เท่า (ร้อยละ ๒๓.๐ และ ๑๘.๐ ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป ในภาพรวมพบว่าในช่วงปี ๒๕๔๗-๒๕๕๒ อัตราการ สูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลง (ร้อยละ ๒๓.๐ และ ๒๐.๗ ตามลำดับ) ปี ๒๕๕๔ อัตราสูบเพิ่มขึ้นอีกเป็นร้อยละ ๒๑.๔ และลดลงเหลือ ร้อยละ ๑๙.๙ ในปี ๒๕๕๖ ผลสำรวจครั้งล่าสุดในปี ๒๕๕๗ อัตรา การสูบเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๒๐.๗ เมื่อเปรียบเทียบอัตราการสูบบุหรี่ปี ๒๕๕๗ กับปี ๒๕๕๖ พบว่าทั้งเพศชายและหญิงมีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มสูงขึ้น ผู้ชาย เพิ่มจากร้อยละ ๓๙.๐ เป็น ๔๐.๕ ผู้หญิงเพิ่มเพียงเล็กน้อยจาก ร้อยละ ๒.๑ เป็น ๒.๒ จากผลการสำรวจในปี ๒๕๕๗ พบว่า อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำคือ ๑๗.๘ ปี ขณะที่อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่เป็นปกตินิสัย (สูบประจำ/นานๆ ครั้ง) คือ ๑๙.๕ ปี เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๐ พบว่าทุกกลุ่มวัยมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่น้อยลง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน (๑๕-๒๔ ปี) เริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุน้อยลงค่อนข้างมากกว่ากลุ่มอื่น คือจากปี ๒๕๕๐ เยาวชนเริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุ ๑๖.๘ ปี และในปี ๒๕๕๗ ลดลงเป็น ๑๕.๖ ปี จากผลการสำรวจในปี ๒๕๕๗ ชี้ให้เห็นว่าอายุของนักสูบหน้าใหม่ลดลง ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทบทวนและบังคับใช้มาตรการและกฎหมายต่างๆ ที่มีอยู่อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสกัดกั้นการเกิดนักสูบหน้าใหม่ ประเภทของบุหรี่ที่สูบพบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ ๖๑.๗) ของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำนิยมสูบบุหรี่มวนที่ผลิตจากโรงงาน รองลงมาสูบบุหรี่มวนเอง (ร้อยละ ๕๕.๔) มีผู้ที่สูบซิกการ์หรือไปป์เพียงร้อยละ ๑.๓ และมีสัดส่วนของผู้ที่สูบบุหรี่ที่สูบผ่านน้า เช่น บารากู่/ฮุกก้า/ชิชา และบุหรี่ไฟฟ้าแบบแท่ง ร้อยละ ๐.๘ โดยกลุ่มผู้สูงวัยมีสัดส่วนของการสูบบุหรี่มวนเองสูงกว่ากลุ่มวัยอื่น (ร้อยละ ๘๐.๖) ผู้ที่อยู่นอกเขตเทศบาลสูบบุหรี่มวนเองมากกว่าผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลเกือบสองเท่า (ร้อยละ ๖๘.๔ และ ๓๕.๐ ตามลำดับ) ผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลสูบบุหรี่มวนที่ผลิตจากโรงงานสูงกว่าผู้ที่อยู่นอกเขตเทศบาล (ร้อยละ ๗๕.๙ และ ๕๒.๗ตามลำดับ) เยาวชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครนิยมสูบยาสูบที่สูบผ่านน้า เช่น บารากู่/ฮุกก้า/ชิช ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำมีค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อบุหรี่มาสูบเอง โดยเฉลี่ยประมาณเดือนละ ๔๒๓ บาท กลุ่มวัยทางานมีค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อบุหรี่เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่ากลุ่มเยาวชนและกลุ่มผู้สูงวัย (๔๗๐ บาท, ๔๐๙ บาท และ ๒๐๘ บาท ตามลำดับ) ผลกระทบการได้รับควันบุหรี่มือสอง (Secondhand Smoke) จากการสอบถามถึงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในตัวบ้านของสมาชิกที่อยู่อาศัยในครัวเรือน พบว่า ๓ ใน ๕ (ร้อยละ ๕๙.๔) ของผู้ตอบฯ ตอบว่าไม่มีการสูบบุหรี่ภายในตัวบ้าน ๒ ใน ๕ (ร้อยละ ๓๙.๕) ตอบว่ามีการสูบบุหรี่ภายในตัวบ้าน และที่เหลือร้อยละ ๑.๑ ตอบว่าไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ และเมื่อถามถึงความบ่อยครั้งของการสูบบุหรี่ในตัวบ้าน พบว่าร้อยละ ๒๗.๘ มีการสูบบุหรี่ในตัวบ้านทุกวัน และร้อยละ ๗.๑ มีการสูบบุหรี่ในบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง จากผลการสำรวจนี้ชี้ให้เห็นว่ายังมีผู้สูบบุหรี่อีกจำนวนมากที่นอกจากจะไม่ใส่ใจในสุขภาพของตนเองแล้ว ยังไม่คำนึงถึงสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของสมาชิกคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมบ้านเดียวกัน และจากการสำรวจในปี ๒๕๕๐ จำนวนประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป อัตราการสูบบุหรี่ ปริมาณการสูบบุหรี่ จำแนกราย เพศ และลักษณะการสูบบุหรี่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ จังหวัดกาฬสินธุ์ที่มีประชากร ๗๕๒,๑๔๑ มีผู้สูบบุหรี่ ๑๖๗,๕๕๕ คิดเป็นอัตราการสูบบุหรี่ ๒๒.๒๘ จำนวนการสูบมวนต่อวันต่อคน ๘.๔๔ โดยจำแนกเพศจากการสูบบุหรี่ เพศชายจำนวน ๓๖๐,๗๐๗ คน มีผู้สูบบุหรี่ ๑๖๕,๕๕๖ คน คิดเป็นอัตราการสูบบุหรี่ ๔๕.๙๐ จำนวนการสูบมวนต่อวันต่อคน ๘.๔๖ เพศหญิง จำนวน ๓๙๑,๔๓๔ คน มีผู้สูบบุหรี่ ๑,๙๙๙ คน คิดเป็นอัตราการสูบบุหรี่ ๐.๕๑ จำนวนการสูบมวนต่อวันต่อคน ๖.๔๐ อัตราการสูบบุหรี่เป็นประจำ และปริมาณการสูบบุหรี่ของกลุ่มผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ จำแนกเพศ ปี พ.ศ.๒๕๕๐ จังหวัดกาฬสินธุ์ที่มีประชากร ๗๕๒,๑๔๑ มีประชากรที่สูบสูบบุหรี่เป็นประจำ ๑๔๓,๘๕๔ คิดเป็นอัตราการสูบบุหรี่เป็นประจำ ๑๙.๑๓ จำนวนการสูบมวนต่อวันต่อคน ๙.๒๓ โดยจำแนกเพศจากการสูบบุหรี่ เพศชาย จำนวน ๓๖๐,๗๐๗ คน มีประชากรที่สูบสูบบุหรี่เป็นประจำ ๑๔๒,๐๖๒ คน คิดเป็นอัตราการสูบบุหรี่ ๓๙.๓๘ จำนวนการสูบมวนต่อวันต่อคน ๙.๒๖ เพศหญิง จำนวน ๓๙๑,๔๓๔ คน มีประชากรที่สูบสูบบุหรี่เป็นประจำ ๑,๗๙๒ คน คิดเป็นอัตราการสูบบุหรี่ ๐.๔๖ จำนวนการสูบมวนต่อวันต่อคน ๖.๖๒ ซึ่งในการสำรวจข้อมูลและรายงานผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) ประจำปี ๒๕๕๘ อำเภอหนองกุงศรี พบว่า จากการสำรวจประชากรจำนวน ๔๔,๑๑๘ คน มีประชาการที่สูบบุหรี่จำนวน ๓,๙๖๔ คน คิดเป็นอัตราร้อยละ ๙.๑๙ โดยแบ่งการสำรวจออกเป็นรายตำบลตามจำนวนประชากรที่มีการสูบบุหรี่จากมากไปหาน้อย ๑. ตำบลหนองหิน ประชากรที่สำรวจจำนวน ๕,๕๐๔ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๙๐๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๕๒ ๒. ตำบลหนองบัว ประชากรที่สำรวจจำนวน ๕,๑๒๘ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๘๖๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๘๗ ๓. ตำบลหนองสรวง ประชากรที่สำรวจจำนวน ๓,๗๖๙ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๖๗๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๘๓ ๔. ตำบลเสาเล้าประชากรที่สำรวจจำนวน ๔,๙๑๓ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๖๑๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๔๘ ๕. ตำบลดงมูล ประชากรที่สำรวจจำนวน ๔,๖๖๓ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๔๘๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๔๙ ๖. ตำบลโคกเครือ ประชากรที่สำรวจจำนวน ๖,๙๗๙ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๓๕๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๐๗ ๗. ตำบลหนองกุงศรี ประชากรที่สำรวจจำนวน ๗,๒๓๒ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๖๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๘๖ ๘. ตำบลหนองใหญ่ ประชากรที่สำรวจจำนวน ๔,๘๗๘ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๕๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๑๑  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้เสริมสร้างศักยภาพชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่  
กลุ่มเป้าหมาย : การแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในชุมชน หน่วยงาน สสอ.หนองกุงศรี ชุมชนในเขต รับผิดชอบของรพ.สต.หนองไผ่ ตำบลเสาเล้า จำนวน ๑๑ หมู่บ้าน  
เครื่องมือ : -แบบสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ -แนวทางการเลิกสูบบุหรี่  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑.ทบทวนปัญหาสุขภาพของชุมชน เขตรับผิดชอบ รพ.สต.หนองไผ่ ตำบลเสาเล้า ร่วมกับภาคีเครือข่าย ๒.จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในชุมชน ๓.สำรวจข้อมูลกลุ่มผู้สูบบุหรี่ในชุมชน ๔.จัดทำประชาคม เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ กลวิธีในการจัดกิจกรรมเลิกสูบบุหรี่ ๕.นำผู้สูบบุหรี่เข้าร่วมอบรมการเลิกสูบบุหรี่ ๖.จัดกิจกรรมรณรงค์ เช่น วันงดสูบบุหรี่โรค โดยภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน อสม. เครือข่ายแม่บ้านต้านภัยบุหรี่ ประชาชนทั่วไป ๗.จัดป้ายประชาสัมพันธ์ และขอความร่วมมือ ห้ามขายบุหรี่ให้เด็กอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ติดที่ร้านขายของชำทุกร้าน ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.หนองไผ่ ๘.ร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายติดตามผู้ผ่านการอบรมเลิกสูบบุหรี่ ๙.ยกย่องเชิดชู ผู้เลิกสูบบุหรี่ โดยให้เป็นบุคคลต้นแบบผู้เลิกสูบบุหรี่  
     
ผลการศึกษา : คณะทำงานทำการสำรวจข้อมูลโดยใช้บุคลากรสาธารณสุข ในทุกหลังคาเรือนของตำบลเสาเล้า พบว่ามีผู้สูบบุหรี่จำนวน ๓๕๓ คน จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และคืนข้อมูลให้กับชุมชน จากนั้น ทำการติดตามรับฟังความเห็นของผู้เข้าสูบบุหรี่เพื่อเข้ารับการบำบัด โดยในการบำบัดครั้งแรกดำเนินการที่วัดไตรกุงศรี บ้านหนองไผ่ ตำบลเสาเล้า มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน ๑๒ คน เนื้อหาการอบรมประกอบด้วย การใช้สื่อวีดีทัศน์แสดงให้เห็นโทษภัยของการสูบบุหรี่ การสาธิตจำลองสารพิษเข้าสู่ร่างกาย การเทศนาให้ความรู้โดยเจ้าอาวาสวัดสว่างคงคา ซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวตำบลเสาเล้า ที่มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์ให้ตำบลเสาเล้าปลอดเหล้าในงานบุญได้สำเร็จ จากนั้นเป็นการคืนคนดีสู่สังคมโดยการบายศรีสู่ขวัญตามประเพณีของชาวอีสาน ผลการติดตามพบผู้เข้าร่วมอบรม เลิกบุหรี่ได้ ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๕ ซึ่ง คณะทำงานได้ทำการสรุปวิเคราะห์การอบรมและจะดำเนินการแก้ไขในรุ่นต่อไป  
ข้อเสนอแนะ : ๑.ควรมีการจัดกิจกรรมให้หลากหลายตามความต้องการของผู้ต้องการเลิกบุหรี่ เพื่อให้มีผลสัมฤทธิ์มากขึ้น ๒.ควรให้ครอบครัว ชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานมากขึ้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)