ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การให้บริการแก่ผู้มารับบริการ ถูกตัว ถูกคน ถูกใจ
ผู้แต่ง : งานเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ช่วงปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๘ พบปัญหาเรื่องการส่งตรวจรักษาผิดคนซึ่งแยกปัญหาได้ดังนี้ ๑). ผู้มารับบริการนำสิทธิบัตรของผู้อื่นที่ไม่ใช่ของตนเองมาใช้โดยเจตนาเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ทำให้มีการสวมสิทธิ์เกิดขึ้นพบในแรงงานต่างด้าว ๒). ผู้มารับบริการนำสิทธิบัตรของผู้อื่นที่ไม่ใช่ของตนเองโดยไม่ได้เจตนาเนื่องจากอ่านหนังสือไม่ออกหรือไม่สามารถอ่านข้อความได้ชัดเจนจะพบในผู้สูงอายุ ๓). ผู้มารับบริการเป็นเด็กโดยผู้ปกครองที่พามานั้นไม่ทราบข้อมูลของผู้มารับบริการได้ถูกต้องส่งผลทำให้แจ้งข้อมูลที่คลาดเคลื่อนแก่ผู้ปฏิบัติงาน พบในเด็กเล็กที่ผู้ปกครองฝากเลี้ยงไว้กับผู้สูงอายุ ๔). ผู้มารับบริการไม่สามารถแสดงหลักฐานใดใดที่จะแสดงถึงการระบุตัวตนของผู้มารับบริการได้ พบกรณีที่เอกสารอยู่กับพ่อแม่ แต่พ่อแม่ฝากบุตรหลานไว้กับผู้ที่เลี้ยงดู จากปัญหาดังกล่าวที่ พบอุบัติการณ์ส่งบัตรตรวจผิดคนจากงานเวชระเบียนนั้น ทางงานเวชระเบียนผู้ป่วยและสถิติ (ห้องบัตร) ได้จัดการพัฒนาคุณภาพเพื่อป้องกันการส่งบัตรผิดตัวผิดคนและป้องกันการสวมสิทธิ์ โดยจัดทำตามขั้นตอน P D C A ดังนี้  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ไม่เกิดอุบัติการณ์ส่งบัตรตรวจผิด ไม่เกิน ๑๐ ครั้งต่อเดือน หรือ ไม่เกิน ร้อยละ ๐.๑  
กลุ่มเป้าหมาย : - ผู้ตรวจสอบในแต่ละหน่วยงาน เช่น พนักงานในแผนกเวชระเบียนกับพยาบาล ในแผนกต่างๆ, เภสัชกร พนักงานเก็บเงิน เป็นต้น - คณะกรรมการเวชระเบียน  
เครื่องมือ : แบบบันทึกข้อมูลและการตรวจข้อมูลผู้ป่วย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : -ผู้มารับบริการไม่นำเอกสารที่ทางโรงพยาบาลนามนหรือเอกสารทางราชการมายืนยันสถานะบุคคลเพื่อขอรับบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาลนามน -ผู้มารับบริการนำเอกสารที่ทางโรงพยาบาลนามนหรือเอกสารทางราชการของคนอื่นมาใช้ยืนยันสถานะบุคคลเพื่อขอรับบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาลนามนซึ่งพบว่าเอกสารเหล่านี้จะไม่เป็นเอกสารที่มีรูปปะหรือติดไว้ในเอกสาร เช่นนำ เฉพาะใบสูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรทอง เป็นต้น มายื่นรับบริการอย่างเดียว ๒. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้ทราบตรงกันถึงแนวทางการปฏิบัติ - กำหนดผู้รับผิดชอบร่วม ผู้ตรวจสอบในแต่ละหน่วยงาน เช่น พนักงานในแผนกเวชระเบียนกับพยาบาล ในแผนกต่างๆ, เภสัชกร พนักงานเก็บเงิน เป็นต้น - คณะกรรมการเวชระเบียนมีการประชุม ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานทุก ๓ เดือน และรายงาน ให้ผู้อำนวยการทราบ ๓. จัดทำบันทึกอุบัติการณ์และรวบรวมข้อมูล ๔. กำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด - ไม่เกิน ๑๐ ครั้งต่อเดือน หรือ ไม่เกิน ร้อยละ ๐.๑ ๕. กำหนดแนวทางการบันทึกข้อมูลและการตรวจข้อมูลผู้ป่วยการส่งตรวจให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ - ตรวจสอบเอกสารผู้มารับบริการโดยละเอียดพร้อมกับซักประวัติ กรณีที่ไม่มีเอกสารให้ซักประวัติพร้อมระบุที่อยู่ และ เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดจ่อได้ในขณะนั้น - เจ้าหน้าที่ผู้มารับบริการต้องมีบัตรประชาชน สมาร์ทการ์ดเพื่อให้สามารถตรวจสอบสิทธิ์ ในโปรแกรม Hos XP ได้ทุกคน - ชี้แจงและกำหนดแนวทางการปฏิบัติการให้ชัดเจนเช่น ในเวลาราชการให้ผู้มารับบริการตรวจสอบสถานะสิทธิ์ได้ที่งานประกันสุขภาพฯ กรณีนอกเวลาราชการให้เจ้าหน้าที่งานเวชระเบียนเป็นคนตรวจสอบสถานะสิทธิ์ทุกขั้นตอน - บันทึกและเก็บข้อมูลอุบัติการณ์ทุกครั้ง Do ๑. ตรวจสอบการบัตรเอกสารผู้ที่เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลนามนทุกครั้งโดยการซัก ประวัติโดยบัตรและเอกสารนั้นต้องเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้หรือในกรณีที่เอกสารที่ระบุตัวตนไม่มีรูปให้ซักถามประวัติอย่างละเอียด เช่นที่อยู่ ชื่อบิดา มารดา วันเดือนปีเกิด เกิดที่โรงพยาบาลนามนหรือไม่ ๒. ให้ผู้ให้ข้อมูลผู้มารับบริการเซ็นในใบกรอกประวัติ เพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้องของข้อมูล ๓. ตรวจสอบสิทธิ์โดยละเอียดจากเวบไซด์ สปสช. ๔. ทำการสแกนรูปภาพ กรณี ผู้มารับบริการมีบัตรประชาชน สมาร์ท การ์ด เข้าไปในโปรแกรม HOS XP ๕. กรณีผู้มารับบริการไม่มีบัตรประชาชนสมาร์ท การ์ด ให้ ทางงานเวชระเบียนทำการถ่ายภาพผู้มารับบริการพร้อมชี้แจ้งประโยชน์ให้กับผู้มารับบริการทราบ ในการถ่ายภาพบันทึกไว้ในโปรแกรม HOS XP ทุกครั้ง ๖. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลหลังจาการพิมพ์ OPD CARD ถ้าถูกต้องก็ให้บริการเพื่อทำการให้บริการด้านอื่นต่อไป ๗. เก็บตัวข้อมูลตามตัวชี้วัด  
     
ผลการศึกษา : - วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานโดยแบบสอบถามความพึงพอใจ - ติดตามผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ พบว่า ตัวชี้วัด เป้าหมาย ก่อนโครงการ หลังโครงการ - จำนวนส่งผู้ป่วยผิดคน เฉลี่ย ๑๐ คน/เดือน เฉลี่ย ๑๒ฉบับ เฉลี่ย ๔.๕ ฉบับ (หมายเหตุ : งานเวชระเบียนผู้ป่วยนอก (ห้องบัตร)ได้เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ ๑ตุลาคม๒๕๕๘–๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๙)  
ข้อเสนอแนะ : – จากการปฏิบัติงานตามแนวทางที่วางไว้ปัญหาลดลงไปมากแต่ข้อมูลยังไม่เป็นที่น่าพอใจ มากนักในช่วงเวรบ่ายและดึกผู้มารับบริการไม่ค่อยพบเอกสารมารับบริการกับโรงพยาบาลนามนทำให้ต้องซักประวัติ และใช้เวลานานในการตรวจสอบ อีกทั้งญาติที่เป็นผู้พาผู้มารับบริการที่เป็นเด็กมักจะให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเช่น ให้ข้อมูลผู้มารับบริการเป็นพี่กับผู้มารับบริการเป็นน้องสลับกันทำให้ข้อมูลเกิดการผิดพลาดได้ทำให้ต้องทำจัดข้อมูลใหม่ส่งผลทำให้เสียเวลา เสียทรัพยากรด้วย  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)