ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โรงเรียนต้นแบบไม่กินปลาดิบ พิชิตมะเร็งท่อน้ำดี
ผู้แต่ง : รุ่งฤดี ภูผานิล ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ในประเทศไทย พยาธิใบไม้ตับพบได้ในทุกอายุตั้งแต่ในเด็กเล็กไปจนถึงในผู้สูงอายุ โดยอายุที่พบโรคได้สูงสุดคือ ช่วง 55-64 ปี พบในผู้หญิงและผู้ชายใกล้เคียงกัน ในประเทศไทย พบโรคได้จากพยาธิใบไม้ตับชนิด เดียว คือ Opisthorchis viverrini โดยในช่วงอายุ 0-4 ปีพบได้ 0.64 รายต่อประชากร 1 แสนคน ส่วนช่วงอายุ 55-64 ปีพบได้ 1.81 รายต่อประชากร 1 แสนคน โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงไป คือ ภาคเหนือ และพบได้บ้างในภาคกลาง แต่พบได้น้อยในภาคใต้ จังหวัดที่พบโรคได้สูง 10 จังหวัดเรียงจากที่พบมากที่สุดลงไปตามลำดับ ที่สำรวจในปี พ.ศ. 2550 คือ สกลนคร (22.68 รายต่อประ ชากร 1 แสนคน) น่าน ลำพูน แพร่ ศรีสะเกษ ลำปาง ขอนแก่น บุรีรัมย์ นครราชสีมา และยโสธร (0.93 รายต่อประชากร 1 แสนคน) โรงเรียนซึ่งเป็นแห่งเรียนรู้ด้านวิชาการแต่ยังขาดการเรียนรู้ด้านการป้องกันการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ จึงเป็นแหล่งที่เหมาะสมแก่การให้ความรู้ เพื่อจะได้ป้องกันการติดเชื้อ โดยมีพฤติกรรมที่เหมาะสมตั้งแต่เยาวัย  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับพยาธิชนิดต่างๆโดยเฉพาะพยาธิใบไม้ตับ 2. เป็นการปลูกฝังสร้างสุขนิสัยในการเลือกรับประทานอาหารที่ดี 3.ป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ  
กลุ่มเป้าหมาย : เด็กนักเรียนชั้น ป.4-ป.6 โรงเรียนบ้านคำขาม  
เครื่องมือ : สื่อสุขศึกษาเรื่องโรคพยาธิใบไม่ตับ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. อบรมให้ความรู้ในเรื่องพยาธิและมะเร็งท่อน้ำดี 2. ให้สุขศึกษาในการดูแลและป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งท่อน้ำดี 3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงพิษภัยของโรคมะเร็งท่อน้ำดีในชุมชน  
     
ผลการศึกษา : เด็กนักเรียนป.4-ป.6 ที่ผ่านการอบรม มีความรู้ในการดูแลตนเอง ในการป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ปลูกฝังพฤติกรรมการกินปลาสุก  
ข้อเสนอแนะ : ควรเพิ่มศักยภาพในการสื่อสารให้นักเรียนที่ผ่านการอบรมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กับชุมชน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)