ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงในชุมชน
ผู้แต่ง : ปาริฉัตร อินธิเดช,สมพงพ์ หามวงษ์ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวานถือว่าเป็นโรคที่คนไทยป่วยกันมาก เป็น 1 ใน 10 ของโรคที่คุกคามคนไทยมากที่สุดพบได้ในทุกช่วงวัย และยังมีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งนี้การเป็นโรคเบาหวานเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น อาหาร พฤติกรรมการใช้ชีวิต การออกกำลังกาย กรรมพันธุ์ เป็นต้น คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานในปี พ.ศ. 2552 7,019 คน หรือ ประมาณวันละ 19 คน และในรอบ 10 ปีช่วง พ.ศ. 2542 –2552 พบคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้น 4.02 เท่า และพบความชุกเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 4.4 ในปี พ.ศ.2551 เป็นร้อยละ 6.9 ในปี พ.ศ.2552 จึงคาดว่าคนไทยวัย 15 ปีขึ้นไป 3.46 ล้านคน กำลังเผชิญกับโรคเบาหวาน (สำนักงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค, 2552) เช่นเดียวกับปัญหาโรคอ้วนและอ้วนลงพุง พบว่า มีการระบาดทุกกลุ่มคนทุกช่วงอายุที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และใน ปี พ.ศ. 2551 -2552 พบว่า คนไทยอ้วนอยู่ในระดับที่ 1 มากถึง ร้อยละ 26.63 และ 28.79 ตามลำดับ (กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2553) โรคความดันโลหิตสูงชนิด ไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่า น่าเกิดจากหลายๆปัจจัยร่วมกัน ที่สำคัญ คือ อิทธิพลของเอ็นไซม์ (Enzyme, สารเคมีที่มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆ) ที่เรียกว่า เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิโอเท็นซิน ( Angiotensin) จากไต ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้จะทำงานร่วมกับต่อมหมวกไต และกับต่อมใต้สมองในการควบคุม น้ำ เกลือแร่โซเดียม และการบีบตัวของหลอดเลือด ในร่างกาย ทั้งหมดเพื่อการควบคุมความดันโลหิต ซึ่งเรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin systemนอกจากนั้น กลไกการเกิดความดันโลหิตสูงยังขึ้นกับพันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงขึ้นในคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ เชื้อชาติ เพราะ พบโรคได้สูงในคนอเมริกันผิวดำ เมื่อเปรียบเทียบกับคนอเมริกันผิวขาว และชาวแมกซิกันอเมริกัน การกินอาหารเค็ม เพราะเกลือโซเดียม หรือ เกลือทะเลเป็นตัวอุ้มน้ำในเลือด จึงช่วยเพิ่มปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียน จึงส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น กระบวนการของร่างกายที่ส่งผลต่อสมดุลและการทำงานของเกลือแร่แคลเซียมในร่างกาย ส่วนโรคความดันโลหิตสูงชนิดรู้สาเหตุ มักเกิดจากโรคต่างๆที่ส่งผลต่อหลอดเลือด ต่อหัวใจ และต่อสมดุลของ ฮอร์โมน และ/หรือ เกลือแร่ในร่างกาย ที่พบบ่อย เช่น จากโรคไตเรื้อรัง จากโรคของหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงไต เช่น อักเสบ หรือ ตีบ จากการติดสุรา จากมีฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายผิดปกติ เช่น จากเนื้องอกบางชนิดของต่อมหมวกไต หรือ ของต่อมใต้สมอง ในรอบ 10 ปีช่วง พ.ศ. 2543-2552 พบว่า มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 3.8เท่า และพบว่าคนที่อายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตสูง 11.5 ล้านคน มีความชุกของโรคสูงสุดร้อยละ 55.9 ซึ่งอยู่ในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป และในปี พ.ศ.2552 พบว่าเป็นสาเหตุการตายอยู่ในอันดับ 4 ของคนไทยคิดเป็นร้อยละ 24.66 รองจากโรคมะเร็งเนื้องอกทุกชนิด อุบัติเหตุและการเป็นพิษ และโรคหัวใจตามลำดับ หน้า 2 (กลุ่มภารกิจด้านข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศสุขภาพ, 2552) และพบคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 13,353 คน เฉลี่ยวันละ 36 คน และนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลรัฐ ด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 2.45 เท่า ในรอบ 10 ปี (สำนักงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค, 2552) ภาครัฐต้องสูญเสียรายได้ในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ด้วยต้นทุนเฉลี่ยเท่ากับ 126,665.93 บาทต่อคนต่อปี (วิชัย เอกพลากร, 2553, แนวทางการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยตนเองเพื่อป้องกันโรคอ้วน อ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชนทั่วไปความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพประชาชนของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ช่วงปี พ.ศ.2552-2555)  
วัตถุประสงค์ : เพื่อเสริมสร้างทักษะให้กับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานให้มีพฤติกรรมที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน จำนวน 120 คน  
เครื่องมือ : คู่มือการจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.จัดค่ายปรับเปลี่ยนประกอบด้วย ให้ความรู้ เรื่อง 3 อ 2 ส การเรียนรู้ผ่านตัวแบบที่ดี การสาธิตการออกกำลังกาย การแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพร 2.ออกกำลังกายร่วมกันโดยใช้สมาธิบำบัดในวันคลีนิคเบาหวาน 3.ติดตามเยี่ยมให้คำแนะนำ เสริมแรง แก่ผู้ป่วย โดยทีมบูรณาการระหว่าง เทศบาลตำบลหนองกุงศรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกุงเผือก และโรงพยาบาลหนองกุงศรี 4.สรุปผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา : 1.ผู้ป่วยที่ผ่านการอบรม จำนวน 120 คน มีความรู้เรื่อง 3 อ 2 ส โดยการเชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลหนองกุงศรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกุงเผือก และผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีมาแลกเปลี่ยนความรู้ทักษะและประสบการณ์ 2.ผู้ป่วยได้รับการสาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายให้เหมาะกับโรคเบาหวาน และเหมาะสมสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล เพื่อให้สามารถออกกำลังกายได้ ได้รับคำแนะนำด้านอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น ปรับสภาพอารมณ์ตามสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ ทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เหมาะสม 3.ที่คลีนิคเบาหวานผู้ป่วยได้ออกกำลังกายร่วมกันซึ่งเป็นการเสริมแรงในการออกกำลังกาย และเพิ่มทักษะการออกกำลังกายที่ถูกต้องโดยใช้สมาธิบำบัด 4.ผู้ป่วยที่ผ่านการอบรม จำนวน 120 คน มีระดับน้ำตาลลดลง จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 69.17  
ข้อเสนอแนะ : ควรเพิ่มศักยภาพ อสม. หรือญาติผู้ป่วยให้มีทักษะ เพื่อติดตามเสริมแรงในการดูแล ทำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตนอย่างต่อเนื่อง  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง