ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช แบบบูรณาการ เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเขาวงเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการโรคจิต
ผู้แต่ง : ธัญญลักษณ์ ไชยสุข มอลเลอร์รพ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลเขาวง ได้เปิดบริการคลินิกจิตเวช พบว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย Psychosis และ Schizophrenia (F19, F20, F21, F22, F28, F29) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554–2558 นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 98, 130, 163, 181, 215 ราย ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาการใช้สารเสพติด การติดสุราเป็นสำคัญ และจากการให้บริการพบว่าผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนร้อยละ 26.43 พบมีอาการกำเริบ และมีอาการกำเริบซ้ำบ่อย ทำร้ายคนในครอบครัวและชุมชน มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน จากการขาดยา รับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ขาดความรู้ในการดูแลตนเอง การไม่สามารถเข้าถึงบริการที่ใกล้บ้าน รวมทั้งปัญหาสำคัญคือครอบครัว และชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วย เกิดความรู้สึก Stigma การไม่ยอมรับผู้ป่วย เป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ทำให้มีปัญหาในการดำรงชีวิตในชุมชน เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเขาวง ได้เห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสำคัญของพื้นที่ โดยการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ยั่งยืนและต่อเนื่องแบบบูรณาการ โดยมุ่งเน้นการดูแลแบบองค์รวม การมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืน มีเครือข่ายในการดำเนินงานที่ประกอบด้วยโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แกนนำชุมชน ครอบครัวและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีมาตรฐานอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อพัฒนาเครือข่าย และพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน ครอบคลุม 6 ตำบล 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข ให้มีความรู้ ความสามารถ ในการคัดกรอง ดูแลผู้ป่วยจิตเวชแบบองค์รวม 3. เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีสุขภาพในการพัฒนารูปแบบการดูแลและส่งต่อ ผู้ป่วยจิตเวช 4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช ครอบครัวและชุมชนให้มีความรู้และมีความสามารถใน การดูแลผู้ป่วยจิตเวช และป้องกันปัญหาอาการกำเริบของผู้ป่วยได้  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยจิตเวช (รหัส F20-F29) ในเขตอำเภอเขาวง 6 ตำบล ผู้ดูแล/ อสม./ ผู้นำชุมชน/ อปท. ตำบลละ 30 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต./PCU ละ 2 คน สสอ. 2 คน และ รพ. ( OPD ER IPD เภสัชกร กายภาพบำบัด หลังคลอด) รวม 50 คน  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. แต่งตั้งคณะทำงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช อำเภอเขาวง (บูรณาการ DHS) - สร้างภาคีเครือข่ายในการดูแล ส่งต่อ - ประสานปัญหาการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชโดยสะท้อนผ่านหัวหน้าส่วนราชการ 2. นำฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมมาแยกเป็นรายตำบล พร้อมตรวจสอบข้อมูล/คืนข้อมูลแก่ชุมชน 3. จัดแบ่งระดับความรุนแรงของผู้ป่วย และจัดทำแนวทางการดูแลที่ชัดเจนในแต่ละภาคส่วน . อบรมให้ความรู้แก่บุคลากรสาธารณสุข ผู้ดูแล,อสม. ผู้นำชุมชน และ อปท.ด้วยหลักสูตร การเข้าถึงบริการการดูแลผู้ป่วยโรคจิต สำหรับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข ของกรมสุขภาพจิต 5. คัดกรองรายใหม่และเฝ้าระวังอาการกำเริบซ้ำ การติดตามเยี่ยมบ้าน 6. จัดระบบ/ช่องทาง การสื่อสาร ระหว่างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวช 7. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 8. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย 9. ศึกษาดูงาน  
     
ผลการศึกษา : 1. เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวช อำเภอเขาวง ครอบคลุม 6 ตำบล 2. มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน (แนวทางปฏิบัติ , CPG) 3. เจ้าหน้าที่และภาคีเครือข่ายมีความรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยจิตเวช (แบบประเมินความรู้ก่อน- หลังการอบรม) 4. ตำบลมีรูปแบบการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชและมี Line กลุ่ม 5. อัตราการเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น ก่อนเริ่มโครงการร้อยละ 97 (212) หลังเริ่มโครงการ ร้อยละ 128.8 (282) มีระบบการส่งต่อที่เป็นแนวทางเดียวกัน เกิดการบูรณาการกับงานอื่นๆในชุมชน เช่น กิจกรรม 3 ดี กิจกรรมถนนสายบุญ หลังอาการดีขึ้นผู้ป่วยมีอาชีพ มีรายได้ 3 ราย ผู้ป่วย F20-F29 ได้รับการแบ่งระดับความรุนแรง ออกเป็น 3 ระดับและแบ่งบทบาทหน้าที่ในการดูแล สีแดง สีเหลือง สีเขียว  
ข้อเสนอแนะ : 1.ทีมดำเนินการระดับอำเภอ ควรมีการประชุม และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 2.ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของทีมตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนการดำเนินงานที่ดี เล่าสู่กันฟัง  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ