ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การจัดการขยะต้นทางโดยชุมชนมีส่วนร่วมของชุมชนหมู่ที่ 10 เทศบาลตำบลสมเด็จ ภายใต้โครงการสิ่งแวดล้อมดี สุขภาพดี ชีวีมีสุข
ผู้แต่ง : อภิชาติ ตั้งปรัชญากูล ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องให้ความสำคัญและร่วมมือแก้ไขกันอย่างเต็มความสามารถ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ในชุมชนทุกระดับตั้งแต่ องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการขยะมูลฝอยในอนาคตมีแนวโน้มของปัญหามากยิ่งขึ้นเนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ รูปแบบและองค์ประกอบของขยะมูลฝอยจะมีความยากต่อ การกำจัดมากยิ่งขึ้น การต่อต้านคัดค้านของประชาชนในการก่อสร้างสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การขาดแคลนที่ดินในการก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย การขาดแคลนเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเก็บรวบรวม การเก็บขน การขนส่งและกำจัดขยะมูลฝอย นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานตลอดจน งบประมาณในการดำเนินงาน รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น และสาเหตุปัจจัยที่สำคัญ คือ การที่ประชาชนขาดความรู้ ความตระหนักและเจตคติที่ดีในการให้ความร่วมมือในการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวทำให้การจัดการขยะมูลฝอยตกเป็นภาระของเทศบาลเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเทศบาลที่มีหน้าที่ในการจัดการขยะมูลฝอยไม่สามารถจัดการขยะมูลฝอยได้อย่างทั่วถึงและขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากขยะมูลฝอยไม่ได้รับการคัดแยกและการทิ้งขยะมูลฝอยอย่างเกลื่อนกลาด จึงส่งผลให้การจัดการขยะมูลฝอยยิ่งยากลำบากมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นผลพวงมาจากการที่ประชาชนขาดความรู้ความตระหนักและเจตคติที่ดี ในการให้ความร่วมมือในการจัดการขยะมูลฝอยนั่นเอง ดังนั้นการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธีหรือนำไปบำบัดและกำจัดอย่างถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมแล้ว จะทำให้ช่วยลดผลกระทบของปัญหาที่เกิดต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ พืช สัตว์ ตลอดจนคุณภาพของสิ่งแวดล้อมทั้งหลายได้ จึงต้องให้ความสำคัญกับการจัดการขยะมูลฝอยที่จะต้องมีประสิทธิภาพและสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ จำเป็นต้องปรับแนวคิดและทัศนคติต่อขยะมูลฝอยของประชาชนและชุมชน จากของเหลือทิ้งที่ส่งไปกำจัดที่ปลายทางอย่างเดียว เป็นการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีการคัดแยกขยะมูลฝอยและนำกลับมาใช้ประโยชน์หรือสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะส่งผลให้เหลือขยะมูลฝอยที่จะต้องทิ้งลงสถานที่กำจัดน้อยที่สุด  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อสร้างการมีส่วนในการจัดการขยะมูลฝอยต้นทางของชุมชน หมู่ที่ 10 ในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยก่อนและหลังการจัดการขยะมูลฝอยต้นทางโดยชุมชนมีส่วนร่วมของชุมชนหมู่ที่ 10 ในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ พื้นที่ดำเนินการ  
กลุ่มเป้าหมาย : แกนนำชุมชน และแกนนำครัวเรือนจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนหมู่ที่ 10 ในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ  
เครื่องมือ : การประชาคมและร่วมดำเนินการของแกนนำในชุมชน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. สำรวจสภาพและปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. จัดกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยต้นทางของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ 3.ประเมินปริมาณขยะมูลฝอยที่ลดหลังการจัดการขยะมูลฝอยต้นทางโดยชุมชนมีส่วนร่วมของชุมชนหมู่ที่ 10 ในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์  
     
ผลการศึกษา : จากการดำเนินการกิจกรรมการจัดการขยะมูลฝอยต้นทางโดยชุมชนมีส่วนร่วมของชุมชนหมู่ที่ 10 เทศบาลตำบลสมเด็จ เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันปีงบประมาณ 2559 ชุมชนหมู่ที่ 10 โดยแกนนำ ผู้นำชุมชน ที่ประกอบด้วยหลายกลุ่ม ทั้งผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน ประธานอสม. แกนนำอสม. แกนนำผู้สูงอายุ ร่วมกับประชาชนชาวชุมชนหมู่ที่ 10 โดยเฉพาะแกนนำครัวเรือน และสมาชิกครัวเรือน ซึ่งพนักงานเทศบาลตำบลสมเด็จ ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลสมเด็จ และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งจะเป็นผู้ให้การสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะต้นทาง มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ ระยะเริ่มก่อการ 1. การสร้างจิตสำนึกให้ชุมชน ผ่านการประชาสัมพันธ์ ในหลายรูปแบบ การสะท้อนข้อมูลในส่วนของข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เทศบาลตำบลสมเด็จจะต้องใช้ในการจัดการขยะมูลฝอย ตัวเลขที่เพิ่มมาขึ้น แนวโน้มหากไม่มีการช่วยกันตั้งแต่ต้นทาง (ครัวเรือน) ขยะเกิดที่ไหนจะต้องช่วยกันตั้งแต่การคัดแยกขยะมูลฝอยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และลดปริมาณขยะที่จะต้องนำไปกำจัด โดยการฝังกลบที่บ่อฝังกลบของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ (เดิมเดือนละ 40,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 90,000 บาทต่อเดือนในปัจจุบัน) ยังไม่รวมค่าน้ำมัน ค่าจ้างพนักงานเก็บขน ค่าซ่อมบำรุง อื่นๆ รวมแล้วปีละ 4,000,000 บาท (สี่ล้านบาท) รวมถึงข้อมูลปริมาณและประเภทขยะมูลฝอยในครัวเรือนของแต่ละชุมชน เพื่อให้ทราบว่า มีปริมาณขยะมูลฝอยเฉลี่ยวันละ 2.28 กิโลกรัม/ครัวเรือน และปริมาณขยะมูลฝอยรวมเฉลี่ยวันละ 6.8 ตัน แยกเป็นประเภทได้ ตั้งนี้ ประเภทขยะมูลฝอยมูลฝอย จำนวน ร้อยละ เฉลี่ย/คร.( กิโลกรัม ) 1.ขยะอินทรีย์ 437.2 56.36 1.29 2.ขยะทั่วไป 36.4 4.69 0.11 3.ขยะรีไซเคิล 298.4 38.47 0.88 4.ขยะอันตราย 3.7 0.48 0.01 และร่วมกันวางแผนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วม ตามแนวทางหลัก 5 Rs คือ 1R ; Reduce : การลดปริมาณขยะ(ต้นทาง) , 2R ; Reuse : การใช้ซ้ำ , 3R ; Recycle : การนำกลับมาใช้ใหม่ , 4R ; Repair : การซ่อมแซมนำกลับมาใช้ , 5R ; Reject : การหลีกเลี่ยงการใช้ขยะพิษ ฯ 2. การหาแนวร่วม ผู้ร่วมก่อการดี “แกนนำจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อม” ชุมชนและครัวเรือน เทศบาลตำบลสมเด็จได้นำแนวคิดการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะต้นทาง มาปรับ ประยุกต์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน เริ่มจากการสร้างแกนนำระดับชุมชน นำกลุ่มแกนนำจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน ไปศึกษาดูงานการจัดการขยะของกองทุนจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ที่สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ มาปรับประยุกต์ใช้ในพื้นที่ชุมชนหมู่ที่ 10 ประสบการณ์จากการศึกษาดูงานจากพื้นที่ประสบผลสำเร็จ ศึกษาดูงานการจัดการขยะของกองทุนจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ กลุ่มแกนนำได้รับความรู้ จากประสบการณ์จริง ของการดำเนินงานกองทุนจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ที่ชุมชนและเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดการขยะต้นทาง ที่เริ่มจากการส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนคัดแยกขยะในครัวเรือนของตนเอง และการใช้ประโยชน์จากขยะที่คัดแยกแล้ว และร่วมกันหาแนวทาง วิธีการ และวางแผนในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนหมู่ที่ 10 และชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จทั้ง 6 ชุมชน ร่วมกันกำหนดแนวทาง วางแผนแก้ไขปัญหา และพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนหมู่ที่ 10 และเทศบาล การสร้างแกนนำระดับครอบครัว โดยการจัดการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมครัวเรือนผู้สนใจและสมัครเข้าร่วมโครงการ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ทีมคณะวิทยากรจากเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งชุมชนหมู่ที่ 10 มีแกนนำครัวเรือนเข้าร่วมจำนวน 60 คน และได้ร่วมกันกำหนดบทบาท หน้าที่ในการขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดการขยะที่ต้นทาง โดยเน้นให้แกนนำนำจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมครอบครัวร่วมกับสมาชิกในครัวเรือนคัดแยกขยะในครัวเรือนของตนเอง และการนำขยะที่คัดแยกแล้วมาใช้ประโยชน์ให้ครอบคลุมทั้ง 4 ประเภท และถูกหลักสุขาภิบาล โดยมีเทศบาลตำบลสมเด็จเป็นพี่เลี้ยงและให้การสนับสนุน มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ การฝึกอบรมให้ความรู้แก่แกนนำจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมครัวเรือน ชุมชม หมู่ที่ 10 โดยทีมวิทยากรจาก ทม.กส. 1. ดำเนินการจัดตลาดนัดขยะรีไซเคิลชุมชนทุกชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง สามารถลดปริมาณขยะ และเพิ่มรายได้จากการนำขยะรีไซเคิลมาจำหน่ายให้กองทุนจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนหมู่ที่ 10 ดังนี้ 1.1ลดปริมาณขยะรีไซเคิลกว่า 21 ตัน โดยมียอดปริมาณขยะรีไซเคิลที่แต่ปีงบประมาณ ดังนี้ ตารางแสดงปริมาณขยะรีไซเคิลที่กองทุนรับซื้อฯ แยกรายชุมชนประจำปีงบประมาณ 2557 – 2559 ( ถึง ก.ค.59) ปีงบประมาณ ปริมาณขยะรีไซเคิล (ลดลง) หมายเหตุ 2557 4,541.7 กิโลกรัม 2558 9,453.8 กิโลกรัม 2559 6,865.04 กิโลกรัม รวม 20,860.54 กิโลกรัม 1.2 มีมูลค่าการรับซื้อขยะรีไซเคิล กว่า ยอดนำไปจำหน่าย และผลกำไรสร้างและเพิ่มรายได้ชุมชน ดังนี้ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการในปี 2557 ถึงปัจจุบัน มีมูลค่าเงินหมุนเวียนกว่า 106,155.66 บาท มีกำไรกว่า 50,365.66 บาท ตารางแสดงปริมาณขยะรีไซเคิลที่กองทุนรับซื้อฯ แยกรายชุมชนประจำปีงบประมาณ 2557 – 2559 ( กค.59) ปีงบประมาณ มูลค่าซื้อขยะ (บาท) มูลค่าซื้อขยะ ผลกำไร (บาท) หมายเหตุ 2557 52,777.14 25,522.00 27,255.14 2558 32,741.69 18,296.00 14,445.69 2559 20,636.83 11,972.00 8,664.83 ถึง ก.ค. 2559 รวม 106,155.66 55,790.00 50,365.66 แกนนำจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้ดม ชุมชนหมู่ที่ 10 ร่วมกับสมาชิกในครัวเรือน คัดแยกขยะในครัวเรือน 2.ทุกชุมชนมีการส่งเสริมให้ครัวเรือนคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน และนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การนำไปหมักทำปุ๋ย การคัดแยกขยะรีไซเคิลนำไปขายเพิ่มรายได้ เป็นต้น แกนนำจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมครัวเรือน ชุมชนหมู่ 10 คัดแยกขยะรีไซเคิลนำมาขายให้กองทุนฯ แกนนำจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมครัวเรือน ชุมชนหมู่ 10 คัดแยกขยะอินทรีย์ “หมักทำปุ๋ยท่อวงปูน” 3. ชุมชนหมู่ที่ 10 มีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยโดยจัดตั้งกองทุนจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชม โดยร่วมลงหุ้นในกองทุนฯ หุ้นละ 100 บาท เป็นเงินกว่า 10,400 บาท และมีเงินทุนรวมกว่า 20,400บาท แกนนำจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน หมู่ที่ 10 ร่วมลงหุ้นในกองทุนจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน ชุมชนหมู่ที่ 10 เทศบาลตำบลสมเด็จ 4. มีการจัดตลาดนัดขยะรีไซเคิลชุมชน โดยทีมนักจัดการสุขภาพชุมชนหมู่ที่ 10 ร่วมกับแกนนำจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมครัวเรือนที่คัดแยกขยะในครัวเรือน และนำมาขายให้แก่กองทุนฯ ดำเนินการทุกวันที่ 23 ของเดือน (เดือนละ 1 ครั้ง) ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทีมนักจัดการสุขภาพชุมชนจะคัดแยกเพื่อเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิลก่อนนำไปจำหน่าย เช่น การแยกประเภทของขวดพลาสติก การนำขวดแก้วประเภทขวดเหล้า เบียร์บรรจุกล่องกระดาษ ก่อนนำไปจำหน่ายให้แก่ร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่ที่ให้ราคาสูง 5.เทศบาลตำบลสมเด็จ สนับสนุนรถในการเก็บชนนำไปจำหน่ายต่อให้ร้านรับซื้อของเก่า 6. ทุกปีกองทุนจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน หมู่ที่ 10 ในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จจะมีการปันผลกำไรจากผลการดำเนินการตลาดนัดขยะรีไซเคิลชุมชน ของเทศบาลตำบลสมเด็จ ให้แก่สมาชิกที่นำขยะรีไซเคิลมาจำหน่าย โดยร่วมกันกำหนดแนวทางการปันผล ดังนี้ 1. การปันผลเงินหุ้น แก่สมาชิกผู้ลงหุ้นไว้กับกองทุน ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินกำไร 2. การปันผลเบี้ยขยัน แก่สมาชิกผู้นำขยะรีไซเคิลมาจำหน่ายให้กองทุน ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินกำไร 3. การปันผลแรงจูงใจ แก่สมาชิกผู้ลงหุ้นและนำขยะรีไซเคิลมาจำหน่ายให้กองทุน ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินกำไร 4. การปันผลเงินสวัสดิการแก่สมาชิกและคนในครอบครัวสมาชิกที่เสียชีวิต ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินกำไร 5. การปันผลเงินสำรองของกองทุน ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินกำไร 6. การปันผลเงินค่าเสื่อม ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินกำไร 7. การปันผลเงินบริหารจัดการของกองทุน ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินกำไร  
ข้อเสนอแนะ : ในการขับเคลื่อนงานการจัดการขยะต้นทางโดยชุมชนมีส่วนร่วมของชุมชน หมู่ที่ 10 เทศบาลตำบลสมเด็จ ได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการชุมชน และประชาชนแกนนำครัวเรือนในชุมชนหมู่ที่ 10 ทั้งการนำความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติในครัวเรือน โดยเฉพาะการคัดแยกขยะในครัวเรือน ที่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการคัดแยกเพื่อเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิล เช่น เริ่มต้นจะคัดแยกขวดแก้วในส่วนของขวดเบียร์และขวดเหล้าซึ่งไม่ได้นำกล่องมาใส่ นำมาจำหน่ายก็จะได้แค่เป็นเศษแก้ว ขายได้กิโลกรัมละ 0.5 บาท แต่เมื่อได้รับคำแนะนำและประสบการณ์ในการคัดแยก แกนนำครัวเรือนจะคัดแยกขวดเหล้าและขวดเบียร์แยกต่างหาก นำมากล่องมาใส่ ซึ่งจะสามารถเพิ่มมูลค่าได้ถึงกล่องละ 8 บาท ดังนั้นการจัดการขยะต้นทางจะต้องใช้ประสบการณ์และการติดตาม การให้คำแนะนำจากทีมงานเทศบาลตำบลสมเด็จ ทีมพี่เลี้ยงจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อสร้างทักษะในการจัดการขยะต้นทางโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สู่การปฏิบิตอย่างถูกต้อง จนสามารถถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ สู่การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะต้นทางที่ยั่งยืน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ