ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การใช้สมุนไพรเพื่อลดสารเคมีตกค้างในร่างกายเกษตรกร
ผู้แต่ง : เกดแก้ว ตาสาโรจน์ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : จากการรายงานการสำรวจการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชนตำบลหมูม่น อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าร้อยละ ๖๓.๖๐ ของกลุ่มเกษตรกรที่มีสารเคมีตกค้าง ในเลือดอันจะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนร่างกายอ่อนแอเสื่อมลง ขาดความต้านทานโรค มีผลต่อคุณภาพชีวิตรวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่เป็นผลจากรายได้ที่ต่ำลง ในขณะเดียวกันวิถีความเป็นอยู่ของเกษตรกรได้เปลี่ยนแปลง ไปจาก “เกษตรเพื่อการยังชีพ” เป็น “เกษตรเพื่อธุรกิจ” เกษตรกรจำเป็นต้องพึ่งพาในปัจจัยการผลิตไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพิ่มสูงขึ้น เพื่อเข้าสู่ระบบการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้เกษตรกรขาดความเป็นอิสระ และมีหนี้สินพอกพูนในขณะที่รายได้นั้นไม่ได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งสุขภาพนับวัน ยิ่งเสื่อมโทรมลงต้องรักษาตัวในสถานพยาบาลบ่อยครั้งขึ้น และมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นลงเรื่อย ๆ ในการลดปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด โดยวิธีการใช้พืชสมุนไพรที่มีตามท้องถิ่นเช่น รางจืด ย่านาง เป็นต้น เป็นพืชที่พบในชุมชนปลูกได้ง่ายและนำมาใช้ได้โดยผ่านกระบวนการน้อยและไม่สิ้นเปลือง ซึ่งเป็นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เป็นการดูแลสุขภาพบนพื้นฐานของธรรมชาติและเป็นการพึ่งพิงตนเองและใช้ทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่นเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพืชสมุนไพรเพื่อนำมาลดสารเคมีตกค้างในเลือดที่ได้รับจากการประกอบอาชีพของประชาชนในเขตตำบลหมูม่น อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่นดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนตำบลหมูม่นที่มีสารเคมีตกค้างในเลือด โดยวิธีการใช้สมุนไพรเพื่อลดสารเคมีตกค้างในเลือดตามความสมัครใจในการเลือกพืชสมุนไพรที่ตนต้องการใช้  
วัตถุประสงค์ : ๑ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลหมูม่นใช้สมุนไพรเพื่อลดสารเคมีตกค้างในร่างกาย ๒ เพื่อให้มีการบริการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ๓ เพื่อให้ประชากรที่มีสารเคมีตกค้างที่อยู่ในระดับไม่ปลอดภัยมีจำนวนลดลง  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนในเขตตำบลหมูม่นที่มีผลตรวจสารเคมีในเลือดไม่ปลอดภัย จำนวน ๔๑๖ คน ทุกหมู่บ้านในเขตตำบลหมูม่น อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : การอบรมเชิงปฏิบัติการ และเจาะเลือดเกษตรกร  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑ ประชุมผู้รับผิดชอบ และผู้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้อง ๒ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบงานเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของ รพ.สต. ตัวแทน อสม. ๓ กำหนดรูปแบบการดำเนินงานร่วมกันดังนี้ - จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย แบบฟอร์มเอกสาร วัสดุที่เกี่ยวข้องและจำเป็น - เชิญกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม - ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักการใช้สารเคมีในเกษตรกร - การอบรมเน้นการลดสารเคมีในร่างกายโดยการใช้สมุนไพรใกล้ตัวทำด้วยตนเอง ควบคู่กับการอบสมุนไพรที่ รพ.สต. และการบำบัดรักษาด้วยตนเอง โดยมีวิธีดังนี้ ๑) การทำและดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ฤทธิ์เย็น ๒) การออกกำลังกาย ๓) การอบสมุนไพร สัปดาห์ละ ๓ ครั้ง เป็นเวลา ๑ เดือน - เจาะเลือดในเกษตรกรซ้ำ หลังจากการอบรม ๔ ประเมินผลการดำเนินงาน ๕ รายงานผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้อง ๖ ถอดบทเรียนและสรุปองค์ความรู้  
     
ผลการศึกษา : จากการดำเนินงานพบว่า ประชากรที่มีสารเคมีตกค้างที่อยู่ในระดับไม่ปลอดภัยมีจำนวนลดลงร้อยละ ๒๐ และใช้สมุนไพรเพื่อลดสารเคมีตกค้างในร่างกายอย่างต่อเนื่อง  
ข้อเสนอแนะ : จากการดำเนินงานยังพบปัญหาการใช้สารเคมีของเกษตรกรบางคนที่มุ่งเน้นการผลิตเพื่อขาย จึงควรให้ควมรู้ในการใช้เกษตรอินทรีย์เพื่อทดแทนสารเคมี  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ