|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระบบโรงเรียน อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ธวัชชัย ยุบลเขต |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จังหวัดกาฬสินธุ์มีอัตราการคลอดที่เกิดจากวัยรุ่นหญิงอายุระหว่าง 15-19 ปี เท่ากับ 47.3,49.2,46.2และ 47.4 รายต่อประชากรวัยเดียวกัน 1000 คน ซึ่งใกล้เคียงกับระดับประเทศ (47.9 ต่อ 1000) ถึงแม้ว่าสถานการณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์จะไม่เพิ่มขึ้น แต่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตสังคม แม้ว่าวัยรุ่นบางคนตั้งใจให้ตั้งครรภ์ก็ตาม เนื่องจากมีรายงานผลการศึกษาสอดคล้องกันว่า มีปัญหาที่เชื่อมโยงกับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นเช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ภาวะแทรกซ้อนช่วงตั้งครรภ์ ปัญหาสุขภาพจิต ความสมบูรณ์ของทารกนอกจากนี้หากเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจหรือไม่พึงประสงค์อาจทำให้เกิดปัญหาจากการทำแท้ง ปัญหาจิตสังคมของวัยรุ่นและผู้ปกครอง ปัญหาทารกถูกทอดทิ้ง ทารกไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ และทารกอาจเติบโตมาเป็นปัญหาของสังคม ซึ่งปัญหาทั้งหมดต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ปัจจุบันมีหน่วยงานจำนวนมากที่มีการดำเนินการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา แต่ยังขาดการประสานงานระหว่างกัน หรือต่างหน่วยต่างทำ อำเภอนาคู จึงเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระบบโรงเรียน ภายใต้โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และสร้างข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตลอดจนการกำหนดบทบาทหน้าที่ที่มีความชัดเจนและสอดประสานบูรณาการร่วมกันในการดำเนินงานป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กนักเรียนอายุระหว่าง 15-19 ปี
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
นักเรียนอายุระหว่าง 15-19 ปี ทั้งหมด 395 คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถามนักเรียนก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการ 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,paired samples t-test |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยทำการศึกษาร่วมกับภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ โดยมีกิจกรรมในการศึกษา 3 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์และวางแผน เพื่อเป็นการทบทวนบทบาท ส่วนขาด และข้อบกพร่องในการดำเนินงานที่ผ่านมาจนนำไปสู่การวางแผนที่สามารถดำเนินการได้จริง 2) การดำเนินการตามแผนที่วางไว้ 3) ประเมินผลกระบวนการและเสนอแนวทางปฏิบัติตลอดจนการถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อกำหนดโอกาสในการพัฒนาต่อไป |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากสภาพปัญหาพบว่าความรู้ การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระบบโรงเรียนที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบไม่ได้คือ ความเห็นการใช้ถุงยางอนามัย ความเห็นเรื่องการมีแฟน ความเห็นเรื่องพฤติกรรมทางเพศ เมื่อดำเนินการถอดบทเรียนการดำเนินงานในระดับพื้นที่มีข้อค้นพบคือวัยรุ่นทุกคนคือกลุ่มเสี่ยงเพราะรับรู้ว่าการมีแฟนเป็นเรื่องธรรมดาและการมีเพศสัมพันธ์กับแฟนไม่ใช่เรื่องแปลก ดังนั้นจึงได้จัดให้มีกลุ่มแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญคือ ครูและกลุ่มบริการสุขภาพ ความต้องการพูดคุยเรื่องเพศกับคนที่เข้าใจคือ เพื่อนเพศเดียวกัน จึงจัดกิจกรรมให้มีเพื่อนคู่หู (Buddies) โดยมีเครือข่ายเป็นผู้ให้การสนับสนุน และประยุกต์ใช้โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศของชมรม To be number one ทำให้หลังเข้ากระบวนการเรียนรู้ นักเรียนมีความรู้และความคิดเห็นในการใช้ถุงยางอนามัย ความคิดเห็นเรื่องการมีแฟนขณะเรียน และความคิดเห็นเรื่องพฤติกรรมทางเพศภาพรวมสูงกว่า ก่อนจัดกระบวนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในด้านการกำหนดความสำคัญของปัญหา,การวางแผน,การตัดสินใจ,การดำเนินงานมีเพียง 2 ด้านอยู่ในระดับปานกลางคือ การได้รับประโยชน์และการติดตามประเมินผล |
|
ข้อเสนอแนะ : |
การดำเนินงานแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระบบโรงเรียน ภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่จะต้องมีการวิเคราะห์บริบทชุมชน บริบทโรงเรียน บริบทวัยรุ่น เพื่อจัดกระบวนการเพศศึกษาให้เป็นเวทีสาธารณะ นักเรียนสามารถเรียนรู้เรื่องเพศได้อย่างเปิดเผย ผ่านกิจกรรมหรือสื่อบุคคลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการลดช่องว่างของความแตกต่างระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุด และควรสนับสนุนให้นักเรียนเป็นผู้ออกแบบ ดำเนินกิจกรรมหรือเวทีแสดงออก เพื่อเสริมประสบการณ์และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนมีทักษะชีวิตอันจะต่อสู้กับความเชื่อที่ผิดๆ ในสื่อต่างๆที่ไม่อาจควบคุมได้ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ใบประกาศ ระดับ ระดับเขต |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|