|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ชีวภาพชุมชน สู่ความยั่งยืน |
ผู้แต่ง : |
ดร.เชิญชัย แสงทอง, นางสาวภัทรศรา ภูสง่า และคณะ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ตามที่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ดำเนินโครงการกาฬสินธุ์คนดี สุขภาพดี รายได้ดี เป็นรูปแบบการพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์(Kalasin Happiness Model) ที่จะเกิดผลเป็นรูปธรรม มีความสมดุลในทุกมิติ บนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ร่วมทำงานเชิงบูรณาการที่ยึดประชาชน และพื้นที่เป็นเป้าหมายในการพัฒนาร่วมกัน อันเป็นการพัฒนาคนและชุม เพื่อให้เกิดสังคมสุขภาวะโดยบูรณาการงบประมาณและแผนงานโครงการจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคราชการ เอกชน ประชาชน และกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลทรายทอง ประกอบกับในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ยุทธศาสตร์จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาทางด้านการเกษตร โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ซึ่งแรกเริ่มคือ การทำในเรื่องของหลุมพอเพียง และการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยนำต้นแบบมาจากการศึกษาดูงาน ที่วัดป่านาคำ อำเภอกุฉินารายณ์ ของพระอาจารย์มหาสุภาพซึ่งจากวิเคราะห์ สภาพพื้นที่ตำบลทรายทองประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ เช่น ปลูกอ้อย ยางพารา มันสำปะหลัง ทำนาข้าว ปลูกพืชผักในครัวเรือน และเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ประชาชนพึ่งพาอาศัยกันในเชิงอิงวัฒนธรรมชุมชน การประกอบอาชีพของเกษตรกรมีปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน คือ
• ดินเสื่อมโทรม สภาพดินมีความเป็นด่าง ดินไม่ร่วนซุย เกิดจากการใช้สารเคมีเร่งการเจริญเติบโตของพืช เร่งอาหารในดิน ตรึงไนโตรเจนมากเกินไป และมีการเผาอ้อยก่อนการตัด ทำให้หน้าดินเสียความสมดุลทางธรรมชาติ ผลผลิตตกต่ำ ขาดทุนจากการประกอบอาชีพ เกิดสภาวะรายจ่ายมากกว่ารายได้
• มีการใช้สารเคมีในชุมชนมาก เพื่อความรวดเร็วและกำจัดวัชพืชได้ดี เช่น การหว่านยาฆ่าหญ้าในนาข้าว การทำลายวัชพืชและแมลงศัตรูพืชในไร่อ้อย ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตสูง และเกิดอันตรายต่อสุขภาพ และสภาวะแวดล้อม
• ต้นทุนการผลิตสูง
• ความเข้าใจผิดในหลักธรรมชาติของพืช
จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาวิธีการ แนวทางเพื่อให้เกษตรในชุมชนสามารถทำการเกษตร และพัฒนาดินให้ดีก่อนการเพาะปลูก พร้อมทั้งมีการลดการใช้สารเคมี เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้และให้ประชาชนมีสุขภาวะครบทั้ง ๓ มิติ คือ คนดี สุขภาพดีรายได้ดี พร้อมทั้งให้เกิดภาคีเครือข่ายในชุมชน |
|
วัตถุประสงค์ : |
- ศึกษาวิธีการปรับปรุงดินให้มีสภาพที่ดีขึ้น
- ศึกษาวิธีการลดการใช้สารเคมีในการเกษตร
- ศึกษาแนวทางเพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพดี
- ศึกษาวิธีการลดต้นทุนการผลิต มีรายได้ดี สุขภาพดี มีการทำการเกษตรที่ปลอดสารเคมีอย่าง
ยั่งยืน
- ศึกษาพฤติกรรมการเกิดของพืช เพื่อปรับปรุงสภาพดิน |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
- ประชาชนทุกคนในพื้นที่ตำบลทรายทอง ทั้ง ๖ หมู่บ้าน จำนวน ๒,๕๘๗ คน
- เกษตรกรต้นแบบ จากทั้ง ๖ หมู่บ้าน จำนวน ๑๐๐ คน/ครัวเรือน
โดยมีเป้าหมายการพัฒนาแบบองค์รวมคือมีความอยู่ดีกินดี ลดต้นทุนการผลิตได้ จากปกติที่เคยทำนา ต้นทุนการผลิตต่อไร่ ๕,๐๐๐ บาท/ไร่ ลดให้เหลือเพียงไม่เกิน๒,๒๐๐ บาท/ไร่ และสุขภาวะของคนในชุมชนมีสุขภาพดี อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเกิดภาคีเครือข่ายใน ให้สำนึกรักในสิ่งแวดล้อมร่วมกัน เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมทั้งศูนย์ปราชญ์พอเพียงในชุมชน |
|
เครื่องมือ : |
๑. องค์ความรู้จากการศึกษาดูงานที่วัดป่านาคำ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ของพระอาจารย์มหาสุภาพมาบูรณาต่อยอดการพัฒนา
๒.ปราชญ์ชาวบ้าน (นายสุรชัย อาษาราช และนายบุญรอด หานุสิงห์)
๓. ประสบการณ์จริงของเกษตรกรต้นแบบ
๔. คนในชุมชน และภาคีเครือข่าย
๕. ทฤษฎีตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๑.ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาของคนในชุมชน
๒.วิเคราะห์แนวความคิดร่วมกับภาคีเครือข่าย
๓.ศึกษาแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้
๔.ปฏิบัติในพื้นที่จริง
๕. สรุปผล พร้อมปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิมที่เกิดขึ้น
๖. ขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายและคนในชุมชน เพื่อให้เกิดชีวภาพชุมชนสู่ความยั่งยืนต่อไป |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|