ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยหมอครอบครัวชุมชนประจำปี 2559
ผู้แต่ง : ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลคำใหญ่ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 998 คน คิดเป็นร้อยละ 19.88ของประชากรทั้งหมด :ซึ่งถือว่าเป็น สังคมผู้สูงอายุ(Aging Society) ตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2556) จากสถานการณ์ปัญหาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปของผู้สูงอายุเทศบาลตำบลคำใหญ่พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการถดถอยของสมรรถนะร่างกายภาวะทุพพลภาพและภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง (รายงานNCD รพ.สต.คำใหญ่ ปี2558) โดยโรคที่เป็นมากคือความดันโลหิตสูง(ร้อยละ 52.00)เบาหวาน(ร้อยละ 35.00)ไขมันในเลือดสูง(ร้อยละ 4.00)โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ(ร้อยละ 4.00)อัมพฤกษ์(ร้อยละ 4.00) อัมพาต(ร้อยละ 4.00)โรคมะเร็ง(ร้อยละ 4.00)และโรคข้อเสื่อม (ร้อยละ 12.73) ซึ่งจากการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้สูงอายุที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรัง ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำใหญ่ พบว่าผู้สูงอายุต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เข้ามาจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ การดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุยังขาดความต่อเนื่องและความครอบคลุม ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตเทศบาลตำบลคำใหญ่ จึงร่วมกันการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุและประยุกต์ใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม A-I-C  
วัตถุประสงค์ : การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนเป็นฐานเทศบาลตำบลคำใหญ่ อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : 1.กลุ่มผู้สูงอายุภาวะพึ่งพึงประเภทติดเตียง จำนวน 8 คน ประเภทติดบ้านจำนวน 52 คน ประเภทผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 32 คน 2.หมอครอบครัวชุมชนประกอบด้วยกลุ่มภาคีเครือข่ายสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลคำใหญ่ คัดเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)ประกอบด้วย 2.1 อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลคำใหญ่ 40 คน2.2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำใหญ่ 2 คน 2.3 วัดโพธิ์ชัยคำใหญ่ 2 รูป2.4 คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคำใหญ่ จำนวน 5คน2.5 ตัวแทนนักเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลคำใหญ่ 5 คน 2.6 ผู้นำชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลคำใหญ่ 8 คน จำนวนทั้งหมด 62 คน  
เครื่องมือ : 1.โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพกลุ่มภาคีเครือข่ายสุขภาพ ในการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุประเภทติดเตียง ประเภทติดบ้าน และประเภทผู้ป่วยเรื้อรัง 2.แบบประเมินความสามารถในการดำเนินกิจวัตประจำวันชนิด (ADL)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1ประชุมชี้แจงโครงการผู้ที่เกี่ยวข้อง 2.ทบทวนเวชทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลคำใหญ่/ประเมินความสามารถในการดำเนินกิจวัตประจำวันชนิด (ADL)ในกลุ่มเป้าหมายที่ดูแลก่อนการดำเนินการ3.คัดเลือกหมอครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลคำใหญ่แบบเจาะจง 4.พัฒนาศักยภาพทีหมอครอบครัว 5.หมอครอบครัวร่วมกันวางแผนดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง ติดบ้าน ด้วยกระบวนการ A-I-C 6.ทีมหมอครอบครัวลงมือปฏิบัติตามแผน/กิจกรรม 7.ประเมินผลการดำเนินงานในรอบ3เดือน และนำผลการประเมินมาปรับปรุงกิจกรรมในแผนงานเพื่อดำเนินงานต่อไป 8.ประเมินความสามารถในการดำเนินกิจวัตประจำวันชนิด (ADL)ในกลุ่มเป้าหมายที่ดูแลหลังการดำเนินการ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ