ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : “ลดน้ำตาล ความดันดี ด้วยสมาธิบำบัดแบบ SKT”
ผู้แต่ง : สร้อยศรี วรสาร ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่อำเภอนาคู จากข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อำเภอนาคู เดือน ต.ค. 2557-ก.ย.2558 พบว่า มีผู้ป่วยทั้งหมด 3,387ราย เฉพาะในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 6 หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมดจำนวน 3,254 คน มีผู้ป่วยทั้งหมด 334 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยเบาหวาน 118 ราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 139 ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 77ราย นอกจากนี้พบว่า อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี (มีระดับน้ำตาล น้อยกว่า หรือเท่ากับ 125 mg/dl) คิดเป็นร้อยละ 21.53 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี(มีระดับความดันโลหิต< 140/80mmHg) คิดเป็นร้อยละ 20.83 และพบว่าผู้ป่วยยังมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จากสถานการณ์ข้างต้น ฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลนาคู จึงได้นำวิธี “สมาธิบำบัดแบบ SKT” ซึ่งเป็นการแพทย์ทางเลือกตามหลักวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับหลักพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยในคลินิกโรคเรื้อรัง เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วย โดยยึดหลักการส่งเสริม ป้องกันและรักษาโรคแบบองค์รวม ซึ่ง“สมาธิบำบัดแบบ SKT” อาศัยความสัมพันธ์ของร่างกาย จิตใจและระบบประสาท ในการรักษาสมดุลและกำจัดของเสียภายในร่างกายให้เป็นพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ในกระบวนการทำงานของร่างกายได้  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ระดับสีเขียว (FBS ≤ 125 mg/dl) 2. เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ระดับสีเขียว(BP≤ 139/89 mmHg)  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยระดับสีเขียว เหลือง ส้ม แดง จำแนกตามเกณฑ์ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลนาคู ทั้งหมดจำนวน 304 ราย  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา : รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบติดตามเยี่ยมบ้าน ระยะเวลา : เดือนพฤษภาคม 2559 – เดือนกรกฎาคม 2559 วิธีการประเมินผล : การตรวจวัดระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิต ของผู้ป่วย เดือนละ 1 ครั้ง เกณฑ์การประเมินผล : ผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี(ระดับปิงปองสีเขียว) หมายถึง ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาล น้อยกว่าหรือเท่ากับ 125 mg/dl ติดต่อ 3 กัน ครั้งสุดท้ายในการประเมินผล ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี(ระดับปิงปองสีเขียว) หมายถึง ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีระดับความดันโลหิต น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 139/89 mmHg)ติดต่อ 3 กัน ครั้งสุดท้ายในการประเมินผล  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนการวิเคราะห์สถานการณ์ 1. สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาคู ปี 2558 จำนวน 334 ราย 2.อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี (ระดับน้ำตาล ≤ 125 mg/dl) คิดเป็นร้อยละ 21.53 3. อัตราการควบคุมความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี (BP≤ 139/89 mmHg) คิดเป็นร้อยละ 20.83 4. ระบบการให้คำปรึกษาในคลินิกโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน 5. ระบบการส่งต่อ ติดตาม ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อเนื่องในชุมชนยังไม่เข้มแข็ง ขาดความเชื่อมโยงกับบริการสุขภาพโรคเรื้อรังเชิงรุกในสุขศาลา การดำเนินงานตามรูปแบบการดูแลสุขภาพเพื่อลดระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วย 1. กิจกรรมให้สุขศึกษาในคลินิกโรคเรื้อรัง จัดกลุ่มผู้ป่วยตามปิงปองจราจร 7 สี และให้ความรู้และฝึก“สมาธิบำบัดแบบ SKT” ก่อนรับบริการตรวจรักษาในคลินิกโรคเรื้อรัง และส่งเสริมการนำ “สมาธิบำบัดแบบ SKT”ไปปฏิบัติที่บ้าน 2. กิจกรรมเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมหมอครอบครัวในชุมชน เพื่อติดตามเยี่ยมบ้านโดยใช้แบบติดตามเยี่ยมบ้าน และตรวจวัดระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิต เดือนละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือน มกราคม – เดือน กรกฎาคม 2559 3. กิจกรรมสรุป ถอดบทเรียน ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ  
     
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี(ระดับน้ำตาล ≤ 125 mg/dl) ปี 2558 มีจำนวน 42 คนคิดเป็นร้อยละ 21.53 ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพิ่มขึ้น เป็น 90 คน คิดเป็นร้อยละ 52.63 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี(BP≤ 139/89 mmHg) ปี 2558 จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 20.83 ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีเพิ่มขึ้น เป็น 117 คน คิดเป็นร้อยละ 59.09  
ข้อเสนอแนะ : 1.ควรมีการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันและสามารถนำมาวิเคราะห์และวางแผนการดูแลต่อเนื่องแก่ผู้ป่วย 2. ควรมีการพัฒนาศักยภาพอาสมัครประจำครอบครัว(อสค.) ให้มีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังและคนในครอบครัว  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)