|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ผ้าป่าสมุนไพร |
ผู้แต่ง : |
ทวิช วงค์ไชยชาญ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งทำให้พฤติกรรมและแบบแผนชีวิตของคนเราเปลี่ยนแปลงไป โดยนิยมรับประทานอาหารแบบตะวันตกมากขึ้น รับประทานผักสมุนไพรน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรังต่างๆตามมา ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี และในอนาคตก็มีแนวโน้มที่จะมากขึ้นอีก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ
สถานการณ์โรคเบาหวานในเขตพื้นที่ตำบลดงสมบูรณ์ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ จำนวน ๑๘๕ คน จากการวิเคราะห์ปัญหาชุมชนพบว่าบ้านดงสมบูรณ์ หมู่ที่ ๑ มากที่สุดคือจำนวน ๓๗ คน และประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน หมู่ที่ ๑ จำนวน ๑๑๐ คน ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมด้านสุขภาพยังไม่เหมาะสม เช่น บริโภคอาหารประเภทผักสมุนไพรน้อย แม้การใช้สมุนไพรจะมีมาช้านานแล้วแต่การปลูกสมุนไพรยังไม่นิยมปลูกและไม่นิยมใช้สมุนไพรในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ชุมชนหันมาพึ่งยาแผนปัจจุบันมากขึ้น ทั้งที่สมุนไพรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก็มีจำนวนมากเช่น มะรุม มะระ เตยหอมเป็นต้น และผู้ป่วยเบาหวานบางคนที่รับประทานยาแผนปัจจุบันในการรักษาแต่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ สมุนไพรพื้นบ้านจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะส่งเสริมการปลูกและใช้สมุนไพรอย่างจริงจังในชุมชนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน
ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลดงสมบูรณ์ จึงได้จัดทำโครงการผ้าสมุนไพรในชุมชนขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักในการปลูกและใช้สมุนไพรในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ อันจะส่งผลให้ชุมชนมีสมุนไพรเพียงพอในการใช้ประโยชน์และผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น และผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในระดับปกติ
|
|
วัตถุประสงค์ : |
๑. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงตระหนักและให้ความสำคัญในการปลูกและใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
๒. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้สมุนไพรในการควบคุมระดับน้ำตาลในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน
๓. เพื่อให้ชุมชนมีแปลงสาธิตสมุนไพร
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
๑. ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน ๓๗ คน
๒. กลุ่มเสี่ยง จำนวน ๑๑๐ คน
|
|
เครื่องมือ : |
ต้นกล้าสมุนไพรจำนวน ๗๓๕ ต้น
แปลงสาธิตสมุนไพร ๒ แห่ง ได้แก่ วัด,โรงเรียน |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๑. ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานผ้าป่าสมุนไพร
๒. ประชาสัมพันธ์แก่กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ
๓. รณรงค์ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงเพาะพันธุ์ต้นสมุนไพรคนละ ๕ ต้น (โดยมีมะรุม มะระ เตยหอมอย่างน้อย ๓ ชนิด)
๔. นำกล้าสมุนไพรมาทอดถวายที่วัดและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการใช้สมุนไพร
๕. ร่วมปลูกสมุนไพรในแปลงสาธิตสมุนไพร ๒ แห่ง ได้แก่ วัด,โรงเรียน และนำกล้ามะรุมไปปลูกที่บ้านคนละ ๑ ต้น
๖. คณะกรรมการดำเนินงานออกติดตามตรวจสมุนไพรที่บ้านและให้คำแนะนำการใช้
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
การดำเนินงานผ้าป่าสมุนไพรในชุมชน มีกิจกรรมดังต่อไปนี้
๑. ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานผ้าป่าสมุนไพรทำให้เกิดคณะกรรมการดำเนินงานผ้าป่าสมุนไพร ๑ ชุด ทั้งนี้เนื่องจากมีวิธีการดังต่อไปนี้
๑.๑ ออกหนังสือแจ้งประชุมคณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วย พระภิกษุ ผู้นำชุมชน อสม. ปราชญ์ชาวบ้าน หมอพื้นบ้าน ตัวแทนกลุ่มเสี่ยง ตัวแทนผู้ป่วยเบาหวาน
๑.๒ ประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงาน
๑.๓ มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน
๒. ประชาสัมพันธ์แก่กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมโครงการทำให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบและเข้าร่วมโครงการได้ครอบคลุม โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้
๒.๑ ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว
๒.๒ ประชาสัมพันธ์ผ่านที่ประชุมประจำเดือนในหมู่บ้าน
๓. รณรงค์ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงเพาะพันธุ์ต้นสมุนไพรคนละ ๕ ต้น ทำให้ได้ต้นกล้าสมุนไพรจำนวน ๗๓๕ ต้น ทั้งนี้เนื่องจากมีวิธีการดังนี้
๓.๑ ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวให้กลุ่มเป้าหมายปลูกสมุนไพร คนละ ๕ ต้น
๓.๒ ให้ อสม. ติดตามการเพาะพันธุ์สมุนไพรของกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ
๔. นำต้นกล้าสมุนไพรมาทอดถวายที่วัดและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการใช้สมุนไพร ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน
๔.๑ ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายนำสมุนไพรมารวมกันที่ศาลากลางบ้าน
๔.๒ นำต้นสมุนไพรจากศาลากลางบ้านไปทอดถวายวัดระหว่างเดินทางมีทำการเดินรณรงค์ไปพร้อมกัน
๔.๓ ทำพิธีถวายผ้าป่าสมุนไพร
๔.๔ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนหมอพื้นบ้านและกลุ่มเป้าหมายเล่าประสบการณ์การใช้สมุนไพร
๕. ร่วมปลูกสมุนไพรในแปลงสาธิตสมุนไพร ๒ แห่ง ได้แก่ วัด,โรงเรียน และนำต้นกล้ามะรุมไปปลูกที่บ้านตนเองคนละ ๑ ต้น ทั้งนี้เนื่องจากมีกิจกรรมดังนี้
๕.๑ รวบรวมข้อมูลสมุนไพร
๕.๒ นำข้อมูลสมุนไพรมาจัดทำเอกสารแผ่นพับเพื่อเผยแพร่
๕.๓ จัดทำป้ายบอกชื่อ สรรพคุณ และวิธีใช้ติดไว้ที่ต้นสมุนไพรแต่ละชนิด
๕.๔ เตรียมพื้นที่สำหรับปลูกสมุนไพรให้พร้อม
๕.๕ แบ่งทีมออกเป็น ๒ ทีม ทีมหนึ่งปลูกปลูกที่แปลงสาธิตที่วัดวัดละอีกทีมหนึ่งปลูกที่แปลงสาธิตที่โรงเรียน
๖. คณะกรรมการดำเนินงานออกติดตามตรวจสมุนไพรและประเมินผลการใช้สมุนไพรทำให้ทราบถึงการดูแล บำรุงสมุนไพร และการใช้สมุนไพรของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มเสี่ยง ทั้งนี้เนื่องจากมีกิจกรรมดังนี้
๖.๑ จัดทำแบบประเมิน
๖.๒ ชี้แจงรายละเอียดการประเมิน
๖.๓ แบ่งทีมออกประเมิน
๖.๔ ออกประเมินเดือนละ ๑ ครั้ง
๖.๕ สรุปรวบรวมผลการประเมิน
๖.๗ รายงานผลการประเมิน
การดำเนินงานผ้าป่าสมุนไพรในชุมชนทำให้เกิดเครือข่ายการปลูกสมุนไพรและใช้สมุนไพร ชุมชนมีแปลงสิตสมุนไพร จำนวน ๒ แห่งทำให้มีสมุนไพรเพียงพอต่อการบริโภคในชุมชน ผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงมีองค์ความรู้การใช้สมุนไพรสามารถใช้สมุนไพรได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
๑. ควรมีการเตรียมการประชาสัมพันธ์โครงการก่อนดำเนินงานอย่างน้อย ๓ เดือนเพื่อให้ต้นกล้าสมุนไพรโตและแข็งแรงพร้อมปลูก
๒. ควรมีการแบ่งหน้าที่ผู้ดู บำรุง รักษาต้นสมุนไพรที่แปลงสาธิตสมุนไพรให้ชัดเจนเจน
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|