|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนางานระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long term Care) ภายใต้ระบบสุขภาพเทศบาลตำบลห้วยผึ้ง ประจำปี 2559 |
ผู้แต่ง : |
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์
|
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ประเทศไทย ได้ก้าวสู่สังคมสูงอายุ (Ageing Society) หมายความว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20ของจำนวนประชากรทั้งหมด สถานการณ์ด้านสุขภาพผู้สูงอายุไทยร้อยละ 95 มีความเจ็บป่วยด้วยโรคและปัญหาสุขภาพ ดังต่อไปนี้ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 41 โรคเบาหวานร้อยละ 10 โรคเข่าเสื่อม ร้อยละ 9 เป็นผู้พิการ ร้อยละ 6 และผู้ป่วยนอนติดเตียง ร้อยละ 1
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตเทศบาลตำบลห้วยผึ้ง ในปีงบประมาณ 2559 แยกตามความสามารถในการดูแลตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันพบว่าจากผู้สูงอายุทั้งหมด 1,308 คน ได้รับการประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ (ADL) จำนวน 854 คนคิดเป็นร้อยละ 65.29 เป็นผู้สูงอายุติดสังคมช่วยเหลือตัวเองได้ดี จำนวน 769 คน คิดเป็นร้อยละ 58.80 เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแล จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 3.9 บางรายเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นปัญหาเรื้อรังและพิการตามมา เป็นภาระของครอบครัวและชุมชน
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นโรงพยาบาลห้วยผึ้งและคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลห้วยผึ้งเล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุและเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐ ที่มุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง โดยได้รับงบประมาณการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระยะยาว(Long term Care) ปีงบประมาณ2559 เพื่อให้ผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลห้วยผึ้งมีความสุขและได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
๑. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลจากผู้ดูแลผู้สูงอายุและทีมหมอครอบครัวโดยให้บริการดูแลด้านสุขภาพที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามปัญหาสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น
๒. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต ช่วงปั้นปลายของชีวิต
๓. เพื่อพัฒนางานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบยั่งยืน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลตำบลห้วยผึ้ง จำนวน 50 คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบสำรวจผู้สูงอายุ ,CARE PLAN |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
หลักสำคัญ ของโครงการ 3c และ 4 ขั้นตอน
3 c คือ care manager , care giver , care plan
4 ขั้นตอน คือ
1. อบรม care manager , care giver , ใช้งบประมาณ ของกรมอนามัย
2. Care manager ออกสำรวจ ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิง และทำ care plan ใช้งบที่ สปสช. โอนมาให้ CUP
3. ประชุมอนุกรรมการฯ เสนอ care planเพื่อรับเงิน ค่าดูแลที่ สปสช. โอนมาไว้ที่ท้องถิ่น
4. ดูแลผู้สูงอายุด้วย care giver เป็นแบบอาสาสมัคร
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลการการออกสำรวจผู้สูงอายุในตำบลนิคมห้วยผึ้ง ปีงบประมาณ 2559
จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ประมาณ 1,207คน
ผู้สูงอายุตอนต้น 60-70ปี 787 คน
ผู้สูงอายุตอนกลาง 71-80ปี 308 คน
ผู้สูงอายุตอนปลาย 81 ปีขึ้น 112 คน
กลุ่มติดสังคม 1,144 คน
กลุ่มติดบ้าน 44 คน
กลุ่มติดเตียง 6 คน
สถานการณ์ผู้สูงอายุในตำบลนิคมห้วยผึ้ง
ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว 634 คน เบาหวาน 257 คน ความดันโลหิต 361 คน หลอดเลือดสมอง 16 คน คัดกรองเข่าเสื่อมทั้งหมด 997 คน พบเข่าเสื่อม 73 คน คัดกรองสมองเสื่อม 997 คน พบสมองเสื่อม 11 คน สำหรับผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง เราจะใช้การประเมิน
ความสามารถการทำกิจวัตรประจำวัน(ADL) โดยแบบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ ๑ เคลื่อนไหวได้บ้างและอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง กลุ่มที่ ๒ เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่าย แต่มีภาวะสับสนทางสมอง กลุ่มที่ ๓ เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกินหรือการขับถ่าย หรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงกลุ่มที่ ๔ เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกินหรือการขับถ่าย และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง
เกณฑ์การเยี่ยมบ้าน มีดังนี้
กลุ่มที่ ๑ เยี่ยม 2 ครั้ง/เดือน กลุ่มที่ ๒ เยี่ยม 4 ครั้ง/เดือน กลุ่มที่ ๓ เยี่ยม 4 ครั้ง/เดือน กลุ่มที่ ๔ เยี่ยม8 ครั้ง/เดือน
เป็นข้อตกลง ของคณะอนุกรรมการฯ
ประเมินผลโครงการ ปีงบประมาณ 2559
จำนวนผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ทั้งหมด 50 ราย มี ผู้ดูแล 11 คน ปฏิบัติงานได้จริง 10 คน โดยแบ่งเขตรับผิดชอบของแต่ละคน
รวมออกเยี่ยมทั้งหมด 160 ครั้ง
ผลการประเมิน ติดตามหลังลงเยี่ยมบ้าน 4 เดือน พบว่า ผู้สูงอายุ จากติดบ้าน เป็น ติดสังคม 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.32 %
ติดเตียงเป็นติด บ้าน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ o.18 % เสียชีวิต 6 ราย
งบประมาณที่ใช้ไป 17,000 บาท
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
แนวทาง/แผนการดำเนินงานเพื่อต่อยอดและพัฒนางานในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 การพัฒนาตำบลต้นแบบพัฒนางานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงนั้น ในทุกตำบลควรรับทราบและเข้าร่วมกระบวนการกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งในปีงบประมาณ 2560 นี้จะดำเนินการวางแผนติดตามในส่วนของตำบลที่เข้าร่วมกระบวนการเพื่อจะทำให้ตำบลที่เข้าร่วมกระบวนการมีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างกระแสให้กับตำบลที่ยังไม่ได้เข้าร่วมกระบวนการดังกล่าว ส่วนตำบลที่เข้าร่วมกระบวนการแล้วจะต้องได้รับการถอดบทเรียนและเผยแพร่สิ่งดีๆ แบบยั่งยืน |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|