ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วน ท้องถิ่น, โรงพยาบาลท่าคันโท และเครือข่ายภาคประชาสังคม เทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอ ท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : เลยณภาโคตรแสนเมือง,จันทกร วงเทพา ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันจำนวนและสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มจากร้อยละ 10.7 ในปี 2550 (7.0 ล้านคน) เป็นร้อยละ 11.8 (7.5 ล้านคน) ในปี 2553 และร้อยละ 20.0 (14.5 ล้านคน) ในปี 2568 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2551) และกลุ่มประชากรสูงอายุของอำเภอท่าคันโทก็มีอัตราเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.69 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 11.47 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 15.46 ในปี 2558 นับว่าอัตราการเข้าสู่ “ภาวะประชากรสูงอายุ (Population Ageing)” เร็วมาก ซึ่งหมายความว่าต้องมีการสร้างหลักประกันสุขภาพเพื่อรองรับประชากรผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ผู้สูงอายุต้องการผู้ดูแลในการทำกิจกรรมประจำวัน จากการตรวจสุขภาพโดยการตรวจร่างกายพบว่าผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) ต้องมีคนดูแลบางเวลาร้อยละ 52.2 และต้องมีคนดูแลตลอดเวลา ร้อยละ 10.2 (เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม, 2547) ผู้สูงอายุของอำเภอท่าคันโทมีร้อยละการทำกิจกรรมประจำวันได้หรือการประเมินตาม ADL แบ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมร้อยละ 92 เป็นกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านร้อยละ 7 เป็นกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงร้อยละ 1 โดยในกลุ่มผู้สูงอายุนี้พบว่ามีปัญหาโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิต ไตวาย และกลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นโรคเจ็บป่วยที่มีค่าใช้จ่ายสูงโดยเฉลี่ยค่าต่ำสุดในการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังประมาณ 7,000 บาท ต่อคนต่อปีอำเภอท่าคันโทมีผู้สูงอายุ 4,000 คน เป็นเงิน 28,000,000 บาท และยังต้องการผู้ดูแลทำให้กลุ่มวัยแรงงานต้องสูญเสียรายได้เกิดปัญหาเศรษฐกิจตามมา รองลงมาคือ กลุ่มอาการหลงลืม ปวดขา ข้อเข่าเสื่อมตามมา และหนึ่งในสี่ของผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพจากปัญหาสุขภาพเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำกิจกรรม ที่เคยทำได้ ร้อยละ 18.9 มีปัญหาสุขภาพเหล่านี้นานกว่า 6 เดือน เป็นภาวะทุพพลภาพระยะยาว เป็นเหตุให้มีค่าใช้จ่ายและต้องการคนดูแลตลอดเวลา ปัญหาสุขภาพปากและฟัน ผู้สูงอายุมีปัญหาการสูญเสียฟันทั้งปาก จนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ แม้จะมีโครงการฟันเทียมพระราชทาน ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมได้ทั้งหมดเขตอำเภอท่าคันโทมีผู้มารับบริการฟันเทียม 57 รายจากผู้สูงอายุ 4,294 คนแสดงถึงปัญหาการเข้าถึงบริการ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียฟันจากโรคในช่องปาก จึงมีความต้องการการบริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ เพื่อลดการสูญเสียฟันควบคู่กันไป จากปัญหาผู้สูงอายุดังกล่าว คปสอ.ท่าคันโทร่วมกับเทศบาลท่าคันโทจึงได้ดำเนินงานพัฒนาตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยดำเนินการนำร่องในเขต ตำบลท่าคันโท ซึ่งผลลัพธ์การดำเนินงานตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ส่งผลให้ชุมชนมีความตระหนักในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากเหตุผลดังกล่าว การดำเนินงานตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว จึงเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของอำเภอท่าคันโท เพื่อช่วยผลักดันการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ ให้มีระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ทั้งในสถานบริการสุขภาพและในชุมชน โดยมีผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่นชุมชน และสังคมได้ (ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1 : ติดสังคม) รวมตัวกันเป็นชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็งที่จะส่งเสริมสนับสนุน การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค และดูแลผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองได้บ้าง ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง (ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 2 : ติดบ้าน) และผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งตนเองไม่ได้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการ หรือทุพพลภาพ (ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 3 : ติดเตียง) ให้เป็นผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้สูงอายุ ในระดับชุมชน เพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างเป็นระบบต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อส่งเสริมและป้องกันโรคในกลุ่มวัยผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในชุมชน 2. เพื่อพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ 3. เพื่อเผยแพร่รูปแบบการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมกลุ่มผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่  
กลุ่มเป้าหมาย : คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 1. ผู้สูงอายุ,ผู้พิการ อายุ 60 ปี ในเขตตำบลท่าคันโท 2. เทศบาลตำบลท่าคันโท ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี รองนายกเทศบาลมนตรี ปลัดเทศบาล หัวหน้ากองสาธารณสุขที่ทำหน้าที่ด้านการส่งเสริมสุขภาพ 3. โรงพยาบาลท่าคันโท ผู้อำนวยการโรงพยาบาล 4. ฝ่ายปกครองเขตเทศบาลท่าคันโท กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต นาตาล 5. เครือข่ายภาคประชาสังคม ประธานชมรมผู้สูงอายุ ตัวแทนผู้ดูแลผู้สูงอายุ ประชาชนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ  
เครื่องมือ : แบบประเมินความพึงพอใจ,แบบประเมินการดำเนินกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ แบบประเมินสมองเสื่อม, แบบประเมินเบาหวานความดัน, แบบประเมินภาวะหกล้ม แบบประเมินสุขภาพทันตกรรม ,แบบประเมินพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ทบทวนและจัดโครงสร้างคณะทำงาน/ผู้รับผิดชอบงานที่เป็นภาพรวมระดับอำเภอ/ตำบล 2. วิเคราะห์สังเคราะห์องค์ความรู้และรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ 3. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย ในการดำเนินงาน 4. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมโดยคณะผู้วิจัย เพื่อรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ 5. การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อจัดทำบริบทและสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน รวมทั้งการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในชุมชน 6. การสรุปและอภิปรายผลการวิเคราะห์จากการดำเนินการ SWOT และดำเนินการจัดทำ SWOT MATRIX 7. การสร้างแผนยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจาก SWOT MATRIX โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายทุกขั้นตอน 8. การจัดทำโครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตามแผนยุทธศาสตร์หลักที่วางไว้ 9. การดำเนินการตามโครงการหรือกิจกรรมที่กำหนด โดยการนำโครงการหรือกิจกรรมที่ได้ร่วมกันคิดและสร้างขึ้นมาลงมือปฏิบัติจริงในพื้นที่ 10. การกำกับ ติดตามโครงการการสรุปและประเมินผลโครงการหรือกิจกรรม  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ