ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคี (TOP MODEL) ในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะ Metabolic Syndrome กรณีศึกษา:ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : กฤตเมธ อัตภูมิ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ, ชลันดา ดุลการณ์ นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำม่วง ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ความสำคัญ ภาวะ metabolic syndrome หรือภาวะอ้วนลงพุงเป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญพลังงานต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ปี 2559 อำเภอคำม่วง พบ ความชุกของโรคเบาหวาน 4,993.1 /แสน ปชก. ความดันโลหิตสูง 6,937.5 /แสน ปชก. การดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ผ่านมายังไม่ครอบคลุมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่มีความต่อเนื่องทำให้การดำเนินงานป้องกันโรคไม่ได้ผล ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ซึ่งการมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการที่ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจ ร่วมคิด ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา  
วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคี (TOP MODEL)ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะ Metabolic Syndrome  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย เลือกแบบเจาะจง มี 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 20 คน 2) กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะ Metabolic Syndrome จำนวน 30 คน  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้โรคเมตาบอลิค แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ขนาดเส้นรอบเอว และดัชนีมวลกาย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบ Action Research ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคี (TOP MODEL) ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะ Metabolic Syndrome ซึ่งประกอบด้วย 1. วิธีการถกปัญหา 2. การประชุมเชิงปฏิบัติการ 3. การวางแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ได้เข้าร่วมนำเสนอ ระดับ ระดับภาค  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง