ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาและพัฒนาการรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงสวนพัฒนา ตำบลนาทัน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นายฐาปกรณ์ เทศารินทร์ ตำแหน่งนักวิชากาสาธารณสุข นางสาวมนต์ชยา พรมศรี ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านดงสวนพัฒนา เป็นพื้นที่ชนบท ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลนาทัน มีประชากรทั้งสิ้น 3,244 คน รับผิดชอบทั้งสิ้น 3 หมู่บ้าน มีผู้สูงอายุทั้งสิ้น 329 คน (1 ก.ค 59) ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 44 ราย คิดเป็นร้อยละ10.33 ของประชากรที่สูงอายุทั้งหมด โรคเรื้อรังที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคเบาหวานจำนวน 34 รายคิดอัตราป่วยเป็น 1048.08/100,000ประชากร โรคความดันโลหิตสูง 10ราย คิดอัตราป่วยเป็น 308.26/100,000ประชากร ในจำนวนนี้มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ไตวายระยะที่ 4 และ 5 จำนวน 4 ราย โรคแทรกซ้อนทางตา 7 ราย โรคแทรกซ้อนทางหัวใจ 2 ราย และมีผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดสมองทำให้มีปัญหาอัมพฤกษ์ อัมพาต 1 ราย คิดเป็น 30.82 ต่อแสนประชากร ซึ่งเป็นปัญหาที่สูงมากในชุมชน นอกจากนั้นยังพบว่ามีผู้สูงอายุในชุมชนส่วนหนึ่งถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ขาดผู้ดูแลทั้งทีบางรายมีโรคประจำตัวและช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และยังพบปัญหาซึมเศร้าในผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น  
วัตถุประสงค์ : การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงเพื่อพัฒนาตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวโดยการนำเกณฑ์มาตรฐานที่พัฒนามาใช้ ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงสวนพัฒนา ตำบลนาทัน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : 1.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาหรือผ่านการฝึกอบรมทางด้านผู้สูงอายุ นักวิชาการสาธารณสุข/พยาบาล/บุคลากร PCU จำนวน 5 คน 2.กลุ่มผู้ให้บริการ หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการแห่งนั้น นักวิชาการสาธารณสุข/พยาบาล จำนวน 2 คน ชมรมผู้สูงอายุ 2 คน ผู้แทนกลุ่ม อผส./อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 2 คน 3.กลุ่มผู้รับบริการ หมายถึง ผู้สูงอายุหรือญาติผู้สูงอายุ จำนวน 5 คน 4.กลุ่มผู้มีอำนาจทางด้านนโยบายและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน  
เครื่องมือ : 1. แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) 2. แบบสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus groups) 3. แบบสอบถามความพึงพอใจ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. เอกสารหลักฐานต่างๆ (Documentary sources) โดยเอกสารหลักฐานต่างๆเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เข้าใจบริบทของสถานการณ์เพิ่มมากขึ้นและยังมีส่วนช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลอีกด้วย 2. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interviews) ที่สร้างขึ้นล่วงหน้า ข้อคำถามมีลักษณะเป็นกลางและไม่มีลักษณะการถามนำ (Neutral and non-leading questions) นอกจากนี้ยังมีคำถามปลายเปิดรวมอยู่ด้วย ระยะเวลาของการสัมภาษณ์ประมาณ 45-60 นาที พร้อมทั้งมีการจดบันทึกและบันทึกเสียงขณะสัมภาษณ์ (เมื่อผู้รับการสัมภาษณ์ยินยอม) 3. การสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus groups) โดยใช้ข้อคำถามที่สร้างขึ้นล่วงหน้า ข้อคำถามมีลักษณะเป็นกลางและไม่มีลักษณะการถามนำ นอกจากนี้ยังมีคำถามปลายเปิดรวมอยู่ด้วย มีการใช้กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice-breakers) เพื่อ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกัน รวมทั้งกับผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยก่อนการสัมภาษณ์อีกด้วย อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้บรรยากาศของการสัมภาษณ์เป็นไปด้วยความสนุกสนานและไม่เครียด ระยะเวลาของการสัมภาษณ์ประมาณ 45-60 นาที พร้อมทั้งมีการจดบันทึกและบันทึกเสียงขณะสัมภาษณ์ (เมื่อผู้รับการสัมภาษณ์ยินยอม) และมีอาหารว่าง (Refreshments) บริการตลอดระยะเวลาของการสัมภาษณ์ 4. การตอบแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้สูงอายุต่อการดำเนินงานตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ตามเกณฑ์มาตรฐานที่พัฒนา 5. วิเคราะห์ข้อมูล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ