ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : สภาพและปัญหาการสุขาภิบาลอาหารในร้านอาหารและการแก้ไขปัญหาเขตตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นายอรรคพล ภูผาจิตต์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล :  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการสุขาภิบาลอาหารในร้านอาหารและการแก้ไขปัญหาเขตตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2.เปรียบเทียบสุขลักษณะของร้านอาหารก่อนและหลังการดำเนินกิจกรรม 3.เปรียบเทียบการปนเปื้อนอาหารทางด้านสารเคมี เช่น บอแรกซ์ สารกันรา สารฟอร์มาลีน ทางด้านชีวภาพ เช่น อาหาร ภาชนะ มือผู้ปรุงประกอบอาหาร ร้านอาหาร  
กลุ่มเป้าหมาย : ร้านอาหารในเขตตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วงจังหวัดกาฬสินธุ์ ร้านอาหารทั้ง 16 ร้าน และผู้ประกอบการทั้ง 16 คน  
เครื่องมือ : 1. การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์โคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารพร้อมบริโภค โดยวิธีสวอปภาชนะอุปกรณ์แล้วตรวจหาจุลินทรีย์รวมและสวอปมือผู้สัมผัสอาหารตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย โยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น SI-2 2. การเก็บตัวอย่างเพื่อการตรวจวิเคราะห์สารเคมีเจือปน ได้แก่ สารฆ่าแมลง บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน กรดซาลิซิลิค ระหว่างเวลา 3. การประเมินตามแบบสำรวจสุขลักษณะในร้านอาหาร 5 ด้าน ได้แก่ สุขลักษณะทั่วไป ภาชนะอุปกรณ์ ผู้จำหน่ายอาหาร การกำจัดขยะ และอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยจะเก็บข้อมูลระหว่างเวลา  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ระยะที่ 1 ระยะก่อนดำเนินการ 1. สำรวจข้อมูลร้านอาหาร ทั้ง 13 หมู่บ้านในเขตตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เตรียมอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินร้านอาหาร กรมอนามัยโดยใช้ชุดทดสอบ SI-2 3. ประสานงานกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในการศึกษาแก่กลุ่มผู้จำหน่าย เกี่ยวกับวิธีการดำเนินการ ประโยชน์ของผู้จำหน่ายและผู้บริโภคที่จะได้รับ 4. สำรวจและสัมภาษณ์สุขลักษณะและการปนเปื้อนของอาหารในร้านอาหารด้วยแบบประเมินสุขลักษณะร้านอาหาร เก็บตัวอย่างและตรวจสอบการปนเปื้อนของอาหารด้านชีวภาพ สารเคมี รวบรวมข้อมูล สรุปปัญหาที่จะนำมาปรับปรุง แก้ไข ระยะที่ 2 ดำเนินการ 1. ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มผู้จำหน่าย (ประเมินความรู้ก่อนและหลังการประเมิน) - ให้ความรู้ เรื่อง ความสำคัญของการสุขาภิบาลอาหาร สุขลักษณะของอาหาร สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้จำหน่าย ผู้สัมผัสอาหาร และร้านอาหาร - ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบการปนเปื้อนของอาหาร ภาชนะ/อุปกรณ์ ด้วย SI-2 2. ผู้จำหน่าย เจ้าของกิจการนำความรู้และคำแนะนำจากการตรวจประเมินไปปรับปรุงแก้ไขสุขลักษณะและการปนเปื้อนของอาหารในร้านอาหารของตน 3. นำเสนอแนวทางการจัดทำมาตรฐานร้านอาหาร 4. ออกติดตามให้คำแนะนำในการปรับปรุง จำนวน 1 เดือน ระยะที่ 3 หลังการดำเนินการและประเมินผล 1. สัมภาษณ์สุขลักษณะในร้านอาหาร ตามแบบสัมภาษณ์สุขลักษณะร้านอาหาร เก็บตัวอย่างและตรวจสอบการปนเปื้อนของอาหารด้านชีวภาพ 2. เก็บรวบรวมข้อมูล นำไปตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล 3. สรุปนำเสนอผลการศึกษา  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ