ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลการประเมินไขว้สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายระหว่างหมู่บ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหนองอีบุตร อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2559
ผู้แต่ง : นางสาวนงลักษณ์ โชติมุข ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต.หนองอีบุตร อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2558 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก สะสมรวม 117,013 ราย อัตราป่วย 179.68 ต่อประชากรแสนคน มีการรายงานจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 212.61 (3.13 เท่า) เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2557 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ผู้ป่วยเสียชีวิต 113 ราย อัตราป่วยตาย เท่ากับร้อยละ 0.10 จากข้อมูลข้างต้น โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาโรคระบาดที่สำคัญระดับต้น ๆ ของประเทศไทย ซึ่งจากรายงานพบการระบาดไปทั่วทุกภูมิภาค ทุกจังหวัด จากอัตราการป่วย อัตราป่วยตาย เพิ่มสูงขึ้นทุก ๆ ปี จังหวัดกาฬสินธุ์ก็เช่นเดียวกันพบอัตราป่วย 124.99 ต่อประชากรแสนคน (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558) ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับค่าเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข (ค่าเป้าหมายกระทรวงสาธารณสุขอัตราป่วยไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน) ดังนั้น ทาง รพ.สต. จึงได้จัดทำกิจกรรมประเมินไขว้สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายระหว่างหมู่บ้านขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ อสม. และประชาชนในแต่ละครัวเรือนให้สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านของตนเอง และทุกคนในชุมชนร่วมมือกันดูแลสภาพแวดล้อมให้สะอาด ปัญหาไข้เลือดออกในชุมชนก็จะลดลง  
วัตถุประสงค์ : - เพื่อให้ อสม. และประชาชนมีส่วนร่วม ตระหนัก และเห็นความสำคัญของการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน - เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย - เพื่อแก้ป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนเขตบริการ 8 หมู่บ้าน 5 วัด 3 โรงเรียน 2 ศูนย์เด็กเล็ก ตำบลหนองอีบุตร อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : - แบบสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย - ไฟฉาย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นวางแผน (Plan) 1. จัดประชุมภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องชี้แจงแนวทางในการดำเนินกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกปี 2559 ขั้นดำเนินการ (DO) 2. ผู้นำชุมชนประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว รณรงค์ทำความสะอาดกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยใช้มาตรการ 5 ป 1 ข ทุกวันพฤหัสบดี 3. อสม. สำรวจ HI, CI ทุกวันศุกร์และรายงานผลการสำรวจให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อรวบรวมข้อมูล ขั้นประเมินผล (check) 4. อสม.ออกประเมินไขว้สุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายระหว่างหมู่บ้านเดือนละ 1 ครั้ง รวบรวมข้อมูลส่ง รพ.สต.เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เสี่ยง ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) 5. รพ.สต.วิเคราะห์ข้อมูลและส่งข้อมูลคืนชุมชนทุกเดือนเพื่อให้ชุมชนรับทราบข้อมูล และดำเนินการแก้ไข กรณีที่พบ พื้นที่สีแดง และสีส้ม ให้ อสม. ประจำครัวเรือนดำเนินการแก้ไขรายครัวเรือนร่วมกับครัวเรือนที่พบ โดยการใช้ทรายอะเบท หรือปลาหางนกยูง ร่วมกับ 5 ป 1 ข 6. สรุปผล ถอดบทเรียนเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดในปีถัดไป  
     
ผลการศึกษา : - โดยใช้ค่าเฉลี่ย HI โดยแบ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง (สีแดง ค่า HI≥45) เสี่ยง (สีเหลือง HI >10<45) และปลอดภัย (สีเขียว ค่า HI<10)   9. ผลการวิเคราะห์ - ผลการประเมินไขว้รอบที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2559 (ในชุมชน) ค่า HI = 6.67 (สีเขียว ค่า HI<10) ชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ ตำบล จำนวนหลังคาเรือน ที่ ทั้งหมด สำรวจ % ผลการสำรวจ พบลูกน้ำ ค่า HI ผล 1 หนองอีบุตร 1 หนองอีบุตร 143 97 67.83 7 7.22 ปลอดภัย 2 หนองอีบุตร 2 หนองอีบุตร 96 69 71.88 2 2.90 ปลอดภัย 3 หนองอีบุตร 3 หนองอีบุตร 136 118 86.76 10 8.47 ปลอดภัย 4 หนองอีบุตร 4 หนองอีบุตร 135 107 79.26 8 7.48 ปลอดภัย 5 นิคมหนองบัว 5 หนองอีบุตร 110 85 77.27 4 4.71 ปลอดภัย 6 หัวนาคำ 6 หนองอีบุตร 43 38 88.37 5 13.16 เสี่ยง 7 นาหัวเมย 7 หนองอีบุตร 154 97 62.99 7 7.22 ปลอดภัย 8 หนองขอนแก่น 8 หนองอีบุตร 84 79 94.05 3 3.80 ปลอดภัย รวม 901 690 76.58 46 6.67 ปลอดภัย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2559 รับรายงานผู้ป่วย DF จำนวน 1 ราย - ผลการประเมินไขว้รอบที่ 2 เดือนมีนาคม 2559 (ในชุมชน) ค่า HI = 7.23 (สีเขียว ค่า HI<10) ชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ ตำบล จำนวนหลังคาเรือน ที่ ทั้งหมด สำรวจ % ผลการสำรวจ พบลูกน้ำ ค่า HI ผล 1 หนองอีบุตร 1 หนองอีบุตร 143 109 76.22 7 6.42 ปลอดภัย 2 หนองอีบุตร 2 หนองอีบุตร 96 74 77.08 3 4.05 ปลอดภัย 3 หนองอีบุตร 3 หนองอีบุตร 136 107 78.68 6 5.61 ปลอดภัย 4 หนองอีบุตร 4 หนองอีบุตร 135 112 82.96 2 1.79 ปลอดภัย 5 นิคมหนองบัว 5 หนองอีบุตร 110 62 56.36 7 11.29 เสี่ยง 6 หัวนาคำ 6 หนองอีบุตร 43 38 88.37 5 13.16 เสี่ยง 7 นาหัวเมย 7 หนองอีบุตร 154 107 69.48 2 1.87 ปลอดภัย 8 หนองขอนแก่น 8 หนองอีบุตร 84 69 82.14 17 24.64 เสี่ยง รวม 901 678 75.25 49 7.23 ปลอดภัย ในช่วงเดือนมีนาคม และเมษายน 2559 รับรายงานผู้ป่วย DF จำนวน 1 ราย และ DHF จำนวน 1 ราย - ผลการประเมินไขว้รอบที่ 3 เดือนพฤษภาคม 2559 (ในชุมชน) ค่า HI = 10.02 (สีเหลือง HI >10<45) ชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ ตำบล จำนวนหลังคาเรือน ที่ ทั้งหมด สำรวจ % ผลการสำรวจ พบลูกน้ำ ค่า HI ผล 1 หนองอีบุตร 1 หนองอีบุตร 143 100 69.93 4 4.00 ปลอดภัย 2 หนองอีบุตร 2 หนองอีบุตร 96 67 69.79 6 8.96 ปลอดภัย 3 หนองอีบุตร 3 หนองอีบุตร 136 109 80.15 7 6.42 ปลอดภัย 4 หนองอีบุตร 4 หนองอีบุตร 135 88 65.19 15 17.05 เสี่ยง 5 นิคมหนองบัว 5 หนองอีบุตร 110 78 70.91 7 8.97 ปลอดภัย 6 หัวนาคำ 6 หนองอีบุตร 43 42 97.67 5 11.90 เสี่ยง 7 นาหัวเมย 7 หนองอีบุตร 154 90 58.44 9 10.00 ปลอดภัย 8 หนองขอนแก่น 8 หนองอีบุตร 84 55 65.48 10 18.18 เสี่ยง รวม 901 629 69.81 63 10.02 เสี่ยง ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2559 ไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก อภิปรายผล จากผลการดำเนินงานพบว่า ค่าค่าเฉลี่ยดัชนีลูกน้ำยุงลายจากการประเมินไขว้ของทั้งตำบล รอบที่ 1, 2 และ 3 มีค่า HI เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเนื่องมาจากสภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อม ที่มีฝนตกเพิ่มขึ้น และทักษะของอาสาสมัครสาธารณสุขที่ได้ฝึกปฏิบัติบ่อยครั้งขึ้น แต่สถานการณ์ของผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงปัจจุบัน (เดือนมิถุนายน 2559)  
ข้อเสนอแนะ : 1. ควรให้มีประชาชนกลุ่มอื่นเขามาร่วมประเมินไขว้เพื่อสร้างความร่วมมือในการป้องกันไข้เลือดออกภายในชุมชนที่ยั่งยืนและเข้มแข็งต่อไป 2. พัฒนาระบบการบันทึกข้อมูล การเก็บข้อมูล เพื่อการป้องกันและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่าง ต่อเนื่อง 3.ควรพัฒนาทักษะผู้ประเมิน และคืนข้อมูลให้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตระหนักในการควบคุมป้องกันโรค 4.ควรสร้างขวัญกำลังใจโดยให้รางวัลในการป้องโรคไข้เลือดออก ในการสุ่มประเมินไขว้แต่ละครั้ง  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)