ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ลดช่องว่างการเข้าถึงบริการสุขภาพ และเพิ่มคุณภาพชีวิต
ผู้แต่ง : อมรรัตน์ ยุระชัย ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : มีปัญหาผู้ป่วยโรคจิตเวชมีอาการทางจิตฆ่าตัวตายสำเร็จในปี 2557-2558 จำนวน 2 และ 3 ราย ตามลำดับโดยมีสาเหตุ จากไม่มาตามนัด ขาดการมารักษาต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยขาดยา และผู้ป่วยโรคจิตเวชมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำ ทำให้ต้องส่งต่อโรงพยาบาลจิตเวช ร้อยละ 10.52 และมีประชาชนฆ่าตัวตายสำเร็จ และพยายามฆ่าตัวตายจำนวนสูงกว่าเกณฑ์กำหนด ดัง สถิติปี 2559 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 6 ราย เป็นอัตรา 8.25 ต่อประชากรแสนคน โดยมี สาเหตุจาก พฤติกรรมดื่มสุรา และเสพสารเสพติด จึงมีอาการทางจิตจากสุราและสารเสพติดมากขึ้น ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นและขาดการดูแล เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเมื่อกลับสู่ชุมชน  
วัตถุประสงค์ : เพื่อลดปัญหาการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคจิตเวช ลดอัตราการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวช และการสร้างภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพจิตและจิตเวชอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มเสี่ยง และประชาชนที่ได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า  
เครื่องมือ : การดำเนินงานพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อคัดกรองปัญหาทางสุขภาพจิต การเฝ้าระวัง การเข้าถึงบริการและรับการรักษา พัฒนารูปแบบการป้องกันอาการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยโรคจิต และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตขึ้น โดยการสร้างเครือข่ายประชาชน ให้มีทัศนคติที่ดี ตระหนัก เข้าใจบทบาทหน้าที่และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงระบบการดูแลผู้ป่วยในชุมชน โดยคาดหวังว่าผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านมีความสามารถพึ่งพาตนเองและ อยู่ร่วมในชุมชนได้ โดยมีญาติและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การพัฒนาระบบการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง และการค้นหา คัดกรอง นำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษา โดยใช้สีในการจำแนกกลุ่มผู้ป่วยจิตเวช และกลุ่มเสี่ยง เพื่อที่จะกำหนดรูปแบบกระบวนการติดตามและดูแลอย่างต่อเนื่อง ครบวงจรของภาคีเครือข่ายสุขภาพจิตในชุมชน โดยมีกลวิธีดำเนิน กิจกรรมดังนี้ 1. เก็บรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาสาเหตุและปัจจัยของปัญหา 2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ บุคลากรสาธารณสุข อสม. และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการดูแลด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการ 3. จัดกิจกรรมเสวนาพาแลงในการประชุมทีมงาน และภาคีเครือข่ายสุขภาพจิตในชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์ ร่วมคิด ร่วมทำ กำหนดรูปแบบการดำเนินงานที่ปฏิบัติได้ตามบริบท 4. ประชาสัมพันธ์ งานสุขภาพจิตเชิงรุกในชุมชนทางหอกระจายข่าว วิทยุชุมชน จัดบอร์ดให้ความรู้ด้านสุขภาพจิต ในสุขศาลา 5. สำรวจความต้องการขอรับยาที่รพ .สต.ใกล้บ้าน ทุกครั้งในคลินิก สุขภาพจิต และพิจารณาในรายที่อาการสงบคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการรักษา เข้ารับบริการในคลินิกใกล้บ้าน ใกล้ใจ ในสถานบริการระดับตำบล 6. พัฒนาระบบยาในโรงพยาบาลสมเด็จให้มียาครบตามเกณฑ์ 7. พัฒนารูปแบบติดตามเยี่ยมต่อเนื่องทั้งในสถานบริการและในชุมชน โดยใช้ สี ในการจำแนกกลุ่มผู้ป่วย และกำหนดเกณฑ์การติดตามดูแลของแต่ละกลุ่มในชุมชน โดยทีม เครือข่ายสุขภาพมีส่วนร่วมออกแบบกิจกรรมการเยี่ยมผู้ป่วย 8. การติดตามเยี่ยมบ้านและประเมินผลทุก 1 เดือน 9. การวัดผล และผลของการเปลี่ยนแปลง  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง