|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : มหัศจรรย์ไข่ขาว |
ผู้แต่ง : |
ดรัญพร เชื้อดวงผุย |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จจำนวนมากขึ้น อีกทั้งยังมีผู้ป่วยกลุ่มที่ต้องการโปรตีนมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป เช่น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้อง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยพักฟื้นที่ร่างกายอาจได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ หรือต้องการโปรตีนในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็ง เป็นต้น
ผู้ป่วยที่จะได้รับโปรตีนเพิ่มนั่น แพทย์จะพิจารณาผลตรวจระดับ Albumin ในเลือดจากทางห้องปฏิบัติการซึ่งเป็นดัชนีบ่งบอกถึงภาวะสมดุลของน้ำในร่างกายรวมถึงประสิทธิภาพการขนส่งสารอาหาร ฮอร์โมน และการกำจัดของเสียในร่างกาย โดยคนทั่วไปจะมีระดับ Albumin ในเลือดระหว่าง 3.8-4.4 แต่ในผู้ป่วยที่มีระดับ Albumin ต่ำ จึงจำเป็นต้องได้รับ Albumin ชดเชยที่เสียไปเพื่อรักษาสมดุล โดยผู้ป่วยที่ต้องได้รับอาหารเพิ่มโปรตีน (High protein diet) ควรได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอตามแพทย์สั่ง อาหารที่มีสูง เช่น ปลา นมและไข่ขาว ล้วนเป็นอาหารโปรตีนคุณภาพสูง มีกรดอะมิโนจำเป็น (Essential amino acid) ครบทุกตัว โดยเฉพาะไข่ขาว ประกอบด้วยสารโปรตีนชนิด Albumin ล้วนๆ จึงมีความบริสุทธิ์ในแง่โครงสร้างของสารโปรตีนดีกว่าปลา หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าอาหารที่มีโปรตีนสูงชนิดอื่นๆ
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากไข่ขาวให้เลือกมากมาย ไข่ขาวดิบบรรจุขวด ไข่ขาวพร้อมดื่ม หรือไข่ขาวผ่านการแปรรูป เช่น ไข่ขาวผง และไข่ขาวผงปรุงรส แต่ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่มีไม่มากนักทำให้การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่เหมาะสม ซึ่งก่อนหน้านี้ทางโรงพยาบาลสมเด็จเพิ่มไข่ขาวให้ผู้ป่วยด้วยไข่ต้มโดยแยกไข่ขาว-ไข่แดงพบว่าผู้ป่วยรับประทานไข่ขาวไม่ได้ตามที่กำหนดให้ ฝ่ายโภชนาการจึงได้ทำการทดลองนำไข่ขาวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ตั้งต้น นำไปประกอบอาหารในมื้อนั่นๆ ทำให้รับประทานได้ง่ายและได้รับปริมาณที่เพียงพอตามแพทย์สั่ง
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโปรตีน(ไข่ขาว)ครบถ้วนตามแพทย์สั่ง
2. เพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับและพึงพอใจต่อเมนูไข่ขาวจากผลิตภัณฑ์ตั้งต้น
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยที่แพทย์สั่งเพิ่มโปรตีน(ไข่ขาว) จากอาหารปกติที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จ ช่วงเดือน มีนาคม 2560-พฤษภาคม 2560 |
|
เครื่องมือ : |
-การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Data) จำนวนผู้ป่วยที่แพทย์สั่งเพิ่มโปรตีน (ไข่ขาว) ในแต่ละวัน
-การรวบรวมข้อมูลจากสนาม (Field Data) ได้แก่ การสังเกต (Observation) แบบสอบถาม (Questionnaire) และการสัมภาษณ์ (Interview) การรับประทานไข่ขาวแบบเดิม (ไข้ต้ม แยกไข่ขาว-ไข่แดง) และการรับประทานไข่ขาวจากผลิตภัณฑ์ตั้งต้น
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ประชุมชี้แจงเรื่องการสำรวจปริมาณการรับประทานไข่ขาวให้แม่ครัวที่มีหน้าที่เก็บถาดอาหารทราบ
-ทำการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับอาหารเพิ่มโปรตีน (ไข่ขาว) ตามที่ระบุในระบบ HOSxp
-จัดเมนูที่ทำด้วยไข่ขาวจากผลิตภัณฑ์ตั้งต้นแทนการให้ไข่ขาว (ไข้ต้ม แยกไข่ขาว-ไข่แดง)
-สัมภาษณ์รายบุคคล และทำแบบสอบถามความพึงพอใจต่อเมนูขาขาว
-เก็บรวบรวมข้อมูลตามแบบสอบถาม
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|