ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในกลุ่มเสี่ยงหมู่ที่ 7, 12 และ 14 ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นางพิชญา สีลาพล ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล :  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในกลุ่มเสี่ยงหมู่ที่ 7, 12, และ 14 ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และพฤติกรรมสุขภาพประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในกลุ่มเสี่ยงหมู่ที่ 7, 12, และ 14 ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในกลุ่มเสี่ยงหมู่ที่ 7, 12, และ 14 ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การเก็บรวบรวมข้อมูล 1.ผู้ศึกษาได้เลือกกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการคัดกรองความเสี่ยงของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสรุปผลเสี่ยงในการเกิดโรคทั้ง 4 ดังกล่าวแล้วรวบรวมรายชื่อไว้ 2.ผู้ศึกษาได้ให้อสม.ช่วยแจกแบบสอบถามให้แก่กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา 3.นำข้อมูลจากแบบสอบถามมาตรวจสอบครบถ้วนถูกต้อง 4.สรุปข้อมูลจากแบบสอบถามเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ในการเก็บข้อมูลได้กำหนดวิธีการจัดเก็บข้อมูล 2 วิธีคือ 1.ข้อมูลเอกสาร ใช้วิธีการค้นคว้าจากเอกสาร งานวิจัยและอินเตอร์เนต 2.ข้อมูลภาคสนาม โดยใช้แบบสอบถาม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล ครั้งนี้ผู้ศึกษา ได้ประสานกับผู้ใหญ่บ้านและประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกแห่ง โดยแนะนำแบบสอบถามและวิธีการให้กับผู้ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูล (อสม.ประจำหมู่บ้านๆ ละ 5 คน) และรอรับแบบสอบถามคืน ในระหว่างวันที่ 9-10 เมาายน พ.ศ. 2559 นำมาตรวจสอบความสมบูรณ์จำนวน 255 ชุด ใช้ในการวิเคราะห์ตามประเด็นที่กำหนดในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่รวบรวมได้แล้วนั้น เมื่อตรวจให้คะแนนเรียบร้อยแล้ว จะนำไปวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใข้โปรแกรมสำเร็จรูป ดังนี้ คือ 1.สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics) เพื่ออธิบายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.สถิติเชิงอนุมาน(Inferential Statistics) เพื่อทดสอบสมมุติฐาน โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและความแปรปรวนของข้อมูลสถติติ t-test และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51 ปี มากกว่าครึ่ง มีอายุระหว่าง 35-45 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสแล้ว ระดับการศึกษามากกว่าครึ่ง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งมีอาชีพ ทำไร่/ทำนา/ทำสวน มากกว่าครึ่งมีรายได้ ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกลุ่มตัวอย่าง มากกว่าครึ่ง ไม่มีปัจจัยเสี่ยงและไม่มีโรคประจำตัว แหล่งรับรู้ความรู้ด้านสุขภาพ มากกว่าครึ่งได้รับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากอาสาสมัครสาธารณสุข ( อสม. ) และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วย มากกว่าครึ่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล และส่วนใหญ่ไม่ใช้ภูมิปัญญาในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สรุประดับความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งมีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลการวิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานพบว่า พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.18 ) ส่วนพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง พบว่า อยู่ในระดับ ไม่ดี (ค่าเฉลี่ย 1.97 ) โดยพบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยเพศ อายุ สถานภาพสมรส ปัจจัยเสี่ยง (ดัชนีมวลกาย ) แหล่งข่าวสารด้านสุขภาพ การปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วยและการใช้ภูมิปัญญาในการส่งเสริมสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  
ข้อเสนอแนะ : 1. ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพให้ประชาชนมีความตระหนักใน เรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งด้านการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการจัดการความเครียดที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังตามมาในอนาคต 2. หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ควรสร้างความตระหนักให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรครวมทั้งส่งเสริมการจัดการความรู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ