ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเอง(Self-management) และการประยุกต์ใช้เทคนิคการปฏิบัติสมาธิออกกำลังประสาทสัมผัส (Sensory meditation exercise) ต่อพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นางพิชญา สีลาพล ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล :  
วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์ทั่วไป 1.เพื่อวัดพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ 2.เพื่อศึกษาการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตชนิดไม่ทราบสาเหตุ 3.เพื่อระบุปัญหาและข้อเสนอแนะในการศึกษา วัตถุประสงค์เฉพาะ 1.เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมสุขภาพและค่าความดันโลหิตของผู้งอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเอง และการประยุกต์ใช้เทคนิคการปฏิบัติสมาธิออกกำลังประสาทสัมผัส 2.เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมสุขภาพและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตชนิดไม่ทราบสาเหตุระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตชนิดไม่ทราบสาเหตุ ที่มารรับบริการที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม 2560 ถึง เดือน มีนาคม 2560  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาใช้แนวคิดการจัดการตนเองตามกลวิธีของ Kanfer เป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมที่เชื่อว่าผู้ป่วยต้องได้รับการช่วยเหลือในการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เพื่อให้ผู้ป่วยมีวิธีการดำเนินงานชีวิตที่ดีขึ้น ทีมสหวิชาชีพต้องยอมรับและไว้วางใจในตัวผู้ป่วย โดยปรับเปลี่ยนแนวทางในการรักษา จากที่เคยให้ผู้ป่วยได้รับการกำหนดเกี่ยวการรักษาทุกอย่างจากทีมมาเป็นให้ผู้ป่วยยอมรับในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับมือปัญหาต่างๆในอนาคตได้ ทั้งนี้ขั้นตอนการจัดการตนเอง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การตั้งเป้าหมาย คือ สิ่งที่บุคคลต้องการจะทำให้สำเร็จ ให้ความสนใจ ให้คุณค่า และคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต การตั้งเป้าหมายจะแตกต่างกันไปตามระดับความยากง่ายของเป้าหมาย ซึ่งระดับความยากง่ายนั้นรวมถึงระดับความยากง่ายในมาตรฐานความเป็นจริง หรือระดับความถูกต้องที่ต้องการจากเป้าหมาย ขั้นที่ 2 การติดตามตนเอง เป็นขั้นตอนของการสังเกตติดตามและบันทึกพฤติกรรมของตนเอง พฤติกรรมที่สังเกตและติดตามอาจเป็นพฤติกรรมที่เป็นเหตุหรือพฤติกรรมที่เป็นผล ทั้งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม ขั้นที่ 3 การประเมินตนเอง เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการติดตามตนเองกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขั้นตอนที่ 4 การเสริมแรงตนเอง เป็นการกระทำของบุคคลที่กระทำการเสริมแรงให้กับตนเอง เมื่อกระทำพฤติกรรมได้บรรลุเป้าหมายที่ตนเองเป็นผู้กำหนดไว้และจะทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น (Kanfer and Screfft,1988) ผู้ศึกษาติดตามเยี่ยมบ้านและติดตามทางโทรศัพท์ รวมถึงให้คำปรึกษาเพิ่มเติมในส่วนที่ผู้ป่วยต้องการ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ