|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : เคาะประตูบ้าน พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง |
ผู้แต่ง : |
อรุณี ดวงประทุม |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
สำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิด รองลงมาคือมะเร็งเต้านม พบว่าหากมีการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาผู้ที่มีความผิตปกติของปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เหมาะสม และทันเวลา ทำให้สามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจและสืบค้นได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติ และการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป การตรวจค้นหาความผิดปกติของปากมดลูก โดยการทำ Pap smear นั้นมีประโยชน์ เพราะได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ที่ปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรกก่อนที่จะเป็นโรคมะเร็ง ทำให้สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งในส่วนของอำเภอห้วยเม็ก ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้ให้ความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญมากขึ้น จะเห็นได้จากข้อมูลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเฉพาะในกลุ่มเป้าหมายสะสมปี 2553-2557 คลอบคลุมร้อยละ 122.8 ซึ่งมีร้อยละสะสมความครอบคลุมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 80 และมากที่สุดในจังหวัดกาฬสินธุ์ และในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ในอำเภอห้วยเม็กมีสตรีกลุ่มเป้าหมายที่รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งมีรายใหม่ในกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวน ๒,๐๘๗ คน จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๑๑,๑๘๖ คน ครอบคลุมร้อยละสะสม ๘๓.๘ ( ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙) อนึ่งกลุ่มงานเวชฯ รพ.ห้วยเม็ก ได้ดำเนินการในส่วนของตำบลห้วยเม็ก จากสตรีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๑,๔๓๐ ราย เข้ารับบริการตรวจคัดกรองจำนวน ๒๘๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๐๗ ตรวจพบความผิดปกติ ๕ ราย ผลตรวจพบ Candida spp. ทั้ง ๕ ราย ซึ่งได้รับการส่งต่อเพื่อรักษาแล้วทุกราย
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยการให้บริการเชิงรุก “เคาะประตูบ้าน” อย่างต่อเนื่อง ทำให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงและพึงพอใจในการรับบริการ มีทัศคติที่ดีเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งปากมดลูก และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง เกิดความตระหนักในตนเองมากขึ้น คุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายจึงมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจหามะเร็งปากมดลูกร้อยละสะสมความครอบคลุมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักในเรื่องของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
3. เพื่อสนับสนุนให้ อาสาสมัครสาธารณสุขหญิง และแกนนำสตรีมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีทักษะในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมที่ถูกต้อง และสามารถนำไปเผยแพร่ในชุมชนได้
4. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก
5. เพื่อลดอัตราป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชากรกลุ่มสตรีที่รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๑. วิเคราะห์/สังเคราะห์ ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาโครงการ
๒. สร้างการมีส่วนร่วมเครือข่ายหมอครอบครัว,อสม. และประสานความร่วมมือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง/แกนนำขับเคลื่อน
๓. ประชุมให้ความรู้และสร้างความตระหนักกลุ่มเป้าหมายพร้อมให้บริการเชิงรุกตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ตามหมู่บ้าน ๑๕ หมู่บ้าน
๔. ส่งคืนข้อมูลผลการตรวจ ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติเพื่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่ออย่างต่อเนื่อง
๕. สรุปบทเรียนและประเมินผลโครงการ สร้างความตระหนักกลุ่มเป้าหมาย สร้างเครือข่ายหมอครอบครัวให้มีการเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|