ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่บ้านในผู้ป่วย Palliative
ผู้แต่ง : เพ็ญมณี จะมะรี 3461400027978 ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การดูแลผู้แบบประคับประครองที่เข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิตมีความสำคัญมากกับผู้ป่วยและญาติ และเป็นโอกาสสุดท้ายของชีวิตที่จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรี กลับไปเสียชีวิตที่บ้านอย่างสงบท่ามกลางญาติพี่น้องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงเป็นแบบ Holistic care โดยครอบคลุมองค์ประกอบทั้ง 4 มิติ คือ กาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ เนื่องจากโรงพยาบาลห้วยผึ้ง เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ซึ่งรองรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มารับการรักษาต่อใกล้บ้าน จากการเก็บข้อมูลจำนวนผู้ป่วยระยะสุดท้ายในปี 2559(ตุลาคม48-กรกฎาคม 49) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และพบว่าการใช้เครื่องมือทางการแพทย์เป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มขึ้นและพบปัญหาผู้ป่วยและครอบครัวมีความกังวลต่อการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ขาดทักษะที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพตนเอง การเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยขณะนอนในโรงพยาบาลทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดูแล เช่น แผลกดทับ ข้อติดและบุคลากรไม่สามารถวางแผนแนวทางในการดูแลผู้ป่วยได้ จากปัญหาที่พบงานผู้ป่วยใน จึงได้มีการพัฒนาการดูแลโดยการสร้างแบบประเมินกิจกรรมการดูแลร่วมกับทีมสหวิชาชีพ มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและใช้เครื่องมือทางการแพทย์ได้  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย 2.เพื่อให้ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประครองที่บ้าน . 3.เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติร่วมกับทีมสหวิชาชีพวางแผนการเตรียมความรู้ทักษะที่จำเป็น และใช้เครื่องมือทางการแพทย์ได้เหมาะสม  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และทักษะที่จำเป็น ในการดูแลสุขภาพ ใช้เครื่องมือทางการแพทย์ได้  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ทบทวนกิจกรรม การวางแผนการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน อุปกรณ์ที่จะใช้ให้ตรงกับโรคและอาการที่เป็นโดยการให้ความรู้การสอนฝึกการใช้อุปกรณ์ดังต่อไปนี้ 1.การใช้ออกซิเจน / เครื่องผลิตออกซิเจน 2.การใช้เครื่องดูดเสมหะ 3.การใช้เตียง / ที่นอนลม /การช่วยพลิกตะแคงตัว /การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 4.การใช้เครื่องพ่นยา 5.การดูแลอุปกรณ์อื่นๆเช่น สาย NG tube , Foley’s cath / Colostomy / 6.การทำแผลต่างๆเช่นแผลมะเร็ง /การใช้ยาลดกลิ่นจากแผล 7.การให้ยา 8.การดูแลความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ สระผม อวัยวะสืบพันธุ์ 9.การเปลี่ยนเสื้อผ้าและเครื่องนอน 10.การขับถ่าย 11.การดูแลเรื่องการรับระทานอาหาร ทางปาก สายยาง 12.การสังเกตอาการผิดกติ เช่น มีไข้ การเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยระยะสุดท้าย / ใกล้เสียชีวิต กระบวนการ .1.การประเมิณผู้ป่วยและญาติการรับรู้เกี่ยวกับโรคระดับความรุนแรงของโรค อาการแนวทางการรักษาร่วมวางแผนการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวต่อเนื่อง 2.การเลือกผู้ดูแลผู้ป่วยควรเป็นญาติสายตรงเช่นบุตร สามี ภรรยาและเบอร์โทรติดต่อ 3.สอนฝึกทักษะโดยทีมสหวิชาชีพให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลขึ้นอยู่กับโรค อาการ กิจกรรม อุปกรณ์เช่นการFeed อาหาร การฉีดยา การทำกายภาพ พร้อมทั้งให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสอบถามตามกิจกรรมนั้นๆ 4.ใช้แบบประเมินการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและครอบครัว ในการสอนให้ความรู้และประเมินทักษะผู้ป่วยและญาติตามกิจกรรมที่กำหนดตามโรคที่เป็นและอุปกรณ์ที่ใช้ ลงชื่อผู้สอน/ผู้รับการสอนระบุ วัน/เดือน/ปี เพื่อติดตามและประเมินผลครั้งต่อไป  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง